แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ในหลวง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ในหลวง แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559




ผู้แต่ง   -
หน่วยงาน   สนับสนุนข้อมูลโดย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
หมวดหมู่   โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
หัวเรื่อง
ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา -- พระราชกรณียกิจ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

คำสำคัญ
การพัฒนาแหล่งน้ำ  การพัฒนาดิน  การพัฒนาพันธุ์พืช  การพัฒนาป่าไม้  การพัฒนาสังคม  การพัฒนาเศรษฐกิจ  ฝนหลวง  ฝนเทียม  โรงงานหลวง  โครงการแก้มลิง  เกษตรทฤษฎีใหม่  เขื่อน  การบำบัดน้ำเสีย  อ่างเก็บน้ำ  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เศรษฐกิจพอเพียง


รายละเอียดเอกสาร
หนังสือรวบรวมผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 4,350 โครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานแก่ประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านส่งเสริมอาชีพ ด้านคมนาคมสื่อสาร ด้านสวัสดิการสังคม ด้านสาธารณสุข และด้านอื่นๆ ที่ได้สร้างประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นกับประชาชนในภูมิภาคต่างๆ และนำเสนอแนวพระราชดำริ และหลักการทรงงาน ซึ่งสามารถน้อมนำไปปฏิบัติและเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทอันจะเป็นรากฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

สำนักพิมพ์   สุขุมวิทมีเดีย มาร์เก็ตติ้ง
สถานที่พิมพ์   กรุงเทพมหานคร
ปีที่พิมพ์   2556
เดือนที่พิมพ์   -
ประเภทสื่อ   ebook
ภาษาที่ใช้เรียบเรียง   ไทย
จำนวนหน้า   188
ISBN   978-616-7671-15-4

เลขทะเบียน   120
ปรับปรุงล่าสุด   2014-04-25 16:17:32
ขนาดไฟล์   23824129 bytes

ที่มา ห้องสมุดมั่นพัฒนา

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


DSC_2734





วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 ถือเป็นวันอันเป็นศิริมงคลยิ่งสำหรับปวงชนชาวไทย ที่มีโอกาสได้เห็นและได้ร่วมชื่นชมในพระราชพิธี “ราชาภิเษกสมรส” ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร (พระยศในขณะนั้น) แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในครั้งนั้น เป็นพระราชพิธีที่เรียบง่ายและแทบจะเรียกได้ว่า “สิ้นเปลืองน้อยที่สุดในโลก”

พระธำมรงค์องค์เก่า
ย้อนกลับไปขณะที่ทั้งสองพระองค์ พักอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ท่านผู้หญิงเกนหลงเล่าไว้ใน ‘บันทึก เป็น อยู่ คือฯ’ ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล และครอบครัวมาเฝ้าฯ และทรงมอบหมายให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริเป็นผู้ทูลทาบทามเรื่องที่จะทรงขอหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์
เมื่อสมเด็จพระราชชนนีได้รับสั่งขอหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ต่อหม่อมเจ้านักขัตรมงคลแล้ว พระราชพิธีทรงหมั้น จัดขึ้นเป็นการภายในอย่างเรียบง่าย ที่โรงแรมวินด์เซอร์ เมืองโลซานน์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสวมพระธำมรงค์เป็นของหมั้นแด่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ โดยพระธำมรงค์ซึ่งทรงใช้หมั้น เป็นพระธำมรงค์องค์เก่า องค์เดียวกับที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงใช้หมั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีมาก่อน

ไม่โปรดงานเอิกเกริก
หลังจากทรงหมั้น และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์กลับมาอยู่ที่พระตำหนักหม่อมเจ้านักขัตรมงคลพร้อมครอบครัว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็ไม่โปรดให้พระคู่หมั้นไปงานเป็นการเอิกเกริก ท่านผู้หญิงเกนหลงเล่าว่า “โปรดที่จะเสด็จฯมาในตอนเย็น เพื่อร่วมเสวยพระสุธารสกับพระคู่หมั้น ณ กลางสนามพระตำหนักเทเวศน์ ท่ามกลางความสงบสุขร่มเย็นของสายลมจากแม่น้ำเจ้าพระยา”



พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
การพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จัดขึ้น ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปรุม สถานที่ซึ่งเคยจัดการอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมาก่อน
พระราชพิธีเรียบง่าย เริ่มขึ้นจากตอนเช้าหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ทรงพาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยใน ‘สมุดทะเบียนราชาภิเษกสมรส’ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและหม่อมหลวงบัว ลงพระนามและลงนามตามลำดับ





แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำเสด็จฯหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเฝ้าถวายดอกไม้ธูปเทียนแพ แด่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่เฉลียงพระตำหนักชั้นบน สมเด็จพระพันวัสสาฯ ถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์ และทรงเจิมแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และทรงเจิมแก่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์







หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรม
หาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์


 ตอนค่ำวันนั้นมีพระราชทานเลี้ยงบนพระตำหนักเป็นการภายในระหว่างพระญาติสนิท และข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดไม่เกิน 20 คน ทรงเป็นแบบอย่างการเริ่มต้นสร้างครอบครัวอย่าง “สิ้นเปลืองน้อย” มาตั้งแต่วันแรกที่ทรงเริ่มต้นใช้ “ชีวิตคู่”




























 หาก “การแต่งงาน” ของสามัญชนทั่วไป เป็นเสมือนการประกาศเจตนารมณ์ของคนสองคนที่มั่นใจในความรักระหว่างกัน ว่าจะร่วมสร้างครอบครัว และอยู่เคียงข้าง ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันตลอดไป พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของ “ในหลวง” และ “พระราชินี” ก็เป็นเช่นนั้น เพียงแต่ “ครอบครัว” ของทั้งสองพระองค์มีความหมายกว้างไกลครอบคลุมไปถึงพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ สมดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”





เรียบเรียง:dichan.mthai
Source: กองบรรณาธิการนิตยสาร “ดิฉัน” ฉบับ 722 ประจำวันที่ 30 เมษายน 2552

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559






ขอเชิญอ่านหนังสือ คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในรูปแบบ e-book และดาวน์โหลดในรูปแบบ PDF
หรือ

เป็นเอกสารที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมเผยแพร่ให้อ่านฟรี ห้ามขายนะ!!


เสียงสะอื้นกลืนเศร้าเคร้าลมโศก
พาพัดโบกนทีลั่นเกลียวปั่นป่วน
ทั่วหล้าน้ำตาหลั่งดั่งหยาดโลหิต
อาลัยจิตองค์พ่อหลวงสู่คาลัย

ขอน้อมส่งเสร็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร
สยามินทราธิรา บรมนาถบพิตร
เสด็จสู่สวรรคาลัย

ข้าบาทจะขอเป้นข้ารองบาททุกชาติไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า Secrets of Life Game

Comment

เรื่องเล่าโพสเมื่อ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Contact Us

ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
Mail : mbkrattanakorn@gmail.com