โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรงเกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา(Ebola virus) ประกอบด้วย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ไอวอรีโคสต์ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี สายพันธุ์เรสตัน (Reston) และสายพันธุ์ Bundibugyo โดยสายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์ Bundibugyo ทำให้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาและทำให้มีอัตราป่วยตายประมาณร้อยละ60-90ในขณะที่สายพันธ์ไอวอรีโคสต์และสายพันธุ์เรสตัน (Reston) มักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงและยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากสายพันธุ์เรสตัน
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ติดต่อได้อย่างไร?
การติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสตรงกับ เลือดที่ติดเชื้อสารคัดหลั่ง เช่น นํ้ามูก นํ้าลาย ปัสสาวะ อุจจาระ อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ นอกจากนี้ การติดเชื้อในโรงพยาบาล ก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังพบการแพร่กระจายเชื้ออีโบลา ในพิธีศพได้บ่อย เนื่องจากผู้มาร่วมพิธีศพอาจมีการสัมผัส โดยตรงกับร่างกายของผู้เสียชีวิต
สำหรับการติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาสู่คนเกิดจาก การสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของสัตว์ป่าที่ติดเชื้อ หรือเกิดขณะจัดการหรือชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตาย โดยยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทาง ละอองฝอยที่ลอยในอากาศ
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีอาการอย่างไร?
โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัส โดยมากมักจะแสดงออกเป็นไข้เฉียบพลัน อ่อนเพลียมาก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย ผื่นผิวหนัง ไตและตับทำงานบกพร่อง และในบางรายจะพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอก และเสียชีวิตจะยังอยู่ในระยะติดต่อ คือ ยังสามารถแพร่เชื้อได้ตราบเท่าที่เลือดและสิ่งคัดหลั่งของตนยังมีเชื้อไวรัส ระยะฟักตัวของโรค ซึ่งหมายถึงระยะเวลานับจากการเริ่มติดเชื้อไวรัส จนถึงเมื่อเริ่มแสดงอาการ ได้แก่ 2 ถึง 21 วัน
“ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ แต่ เนื่องจากการคมนาคมขนส่งระหว่างทวีปที่สะดวกสบายมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตราการเฝ้าระวังและป้องกันที่เข้มงวด”
- วัคซีนและยารักษา
- ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษาจำเพาะ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด ผู้ป่วยมักจะมีอาการขาดนํ้าบ่อยๆ จึงจำเป็นต้องได้สารละลายเกลือแร่เพื่อแก้ไขอาการขาดนํ้าโดยอาจให้ทางปาก หรือทางเส้นเลือด
คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข
• ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังบริเวณด่านชายแดนหรือ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศที่อาจมีผู้เดินทางมาจากประเทศที่เกิดการระบาด และมีอาการสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้แก่ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว
• ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชาชน ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าหลีกเลี่ยงการการรับประทานสัตว์ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่น เลือด จากผู้ป่วยหรือศพ
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป- 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรคทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
- 2. หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร
- 3. หมั่นล้างมือ ด้วยนํ้าและสบู่ให้สะอาด
- 4. ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้รู้สถานการณ์ และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
- 1. หลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาด 5ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ร่าเลโอน ไนจีเรีย และเซเนกัล
- 2. ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุข
- 3. หากจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ต้อง
- • หมั่นล้างมือ ด้วยนํ้าและสบู่ให้สะอาด
- • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย หรือสัมผัสผู้ป่วยรวมเสื้อผ้า เครื่องใช้ของผู้ป่วย
- • หากมีอาการป่วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินทาง
- คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางไปประเทศที่มีการระบาด
- 1. ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ป่าทุกชนิด
- 2. ไม่สัมผัสสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะสัตว์จำพวก ลิง หรือค้างคาว
- 3. ไม่ล้วงแคะแกะเกาจมูก และขยี้ตา ด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้างให้สะอาด
- 4. ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนหรือคู่รัก
- 5. ไม่ซื้อยากินเอง เวลาเจ็บป่วยด้วยอาการไข้
ที่มา : โรงพยาบาลนนทเวช