วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

  1.       “โรคตาแดง” ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากๆ เชื่อได้ว่าเกือบทุกคนอาจจะต้องเคยผ่านประสบการณ์การเป็นโรคตาแดงกันมาบ้าง และที่จะมีการพูดถึงเป็นประจำสมัยตอนเป็นเด็กก็คือ เมื่อเพื่อนเป็นโรคตาแดงแล้วห้ามมองตากัน จะทำให้เกิดอาการติดต่อ รวมไปถึงให้แลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงแล้วจะได้ไม่เป็นตาแดงกับเขา
     เรียกได้ว่าเป็นคำพูดที่ชวนให้เข้าใจผิดกันไปไกล ทั้งที่ “โรคตาแดง” นั้น เกิดจากการที่ดวงตามีการสัมผัสกับเชื้อโรค ซึ่งอาจเกิดจากการเอามือไปสัมผัสกับเชื้อโรคตามโต๊ะ เก้าอี้ หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกันกับคนเป็นตาแดงที่ใช้มือสัมผัสตาแดงของตนแล้วยังไม่ได้ล้างมือ แล้วมาสัมผัสตาตัวเองต่อ ไม่ได้เกิดจากการจ้องมองตากันแล้วเชื้อโรคกระโดดก็ใส่ดวงตาแต่อย่างใดและไม่จำเป็นต้องไปแลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงด้วย
  • โรคตาแดงเกิดได้จากสาเหตุ  เช่น
  •  
  • โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส (ViralConjunctivitis)
  •      เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากการติดเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มอาดิโนไวรัส  (Adenovirus) ที่แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้มากกว่า 50 กลุ่ม และประมาณ  ใน 3 สามารถทำให้เกิดโรคตาแดงได้ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักพบในช่วงฤดูฝน หรือน้ำท่วม หลังจากได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 1-2 วัน  อาการมักจะไม่ค่อยมีขี้ตา แต่มีน้ำตาไหล เคืองตามาก อาจมีต่อมน้ำเลืองที่หน้าหูโต มักเริ่มเป็นที่ตาใดตาหนึ่งก่อน และลามไปเป็นทั้งสองตาอย่างรวดเร็ว มีประวัติติดต่อกันในคนหมู่มากหรือจากที่ทำงาน โรงเรียน หรือในครอบครัว มักจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้การติดเชื้อไวรัสตาแดงมีทั้งหมด 3 ชนิด คือ
  •    1.ชนิดคออักเสบร่วมด้วย
  •    2.ชนิดตาอักเสบไม่มาก
  •    3.ชนิดตาอักเสบรุนแรง ซึ่งชนิดสุดท้ายเป็นชนิดที่มีความรุนแรงมากกว่าทุกชนิด
  •  
  • โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย
  •      เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการติดเชื้อ S.epidermidis, S.aureus ซึ่งก็ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาเช่นเดียวกับเชื้อไวรัส จะมีขี้ตาเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง อาจเป็นตาเดียวหรือสองตาก็ได้ ติดต่อกันได้เช่นกัน แต่จะระบาดน้อยกว่าตาแดงจากเชื้อไวรัส
  •  
  •  โรคตาแดงจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis) 
  •      เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการแพ้ เช่น แพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่น ยา ควันบุหรี่ เป็นต้น มักจะเป็น ๆ หาย ๆ และเป็นร่วมกับโรคภูมิแพ้ของอวัยวะอื่น จะมีอาการคันตามาก น้ำตาไหล อาจมีขี้ตาขาวหรือเหนียว หนังตาบวม มักมีประวัติเป็นๆ หายๆ อาจมีสาเหตุของการแพ้ชัดเจนหรือมีอาการแพ้ของร่างกายส่วนอื่น เช่น หอบหืดร่วมด้วย หากเป็นติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้เป็นต้อลมและต้อเนื้อได้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้แพ้
  •  
  • โรคตาแดงติดต่อกันอย่างไร?
  •     สามารถติดต่อได้ง่าย ๆ โดย
         1.การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการติดต่อ โรคตาแดง จากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง
  •     2.ใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
        3.ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา
  •     4.แมงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา
  •     5.ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า
  •  
  • เมื่อเป็นโรคตาแดงควรปฏิบัติตัวอย่างไร?
  •  ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานอย่างน้อย 3 วัน หรือจนกว่าอาการตาแดงจะหายเป็นปกติ และไม่ควรไปอยู่ในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือลงเล่นน้ำในสระ เพราะอาจนำโรคไปแพร่ติดต่อสู่ผู้อื่นได้
  • >» เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำหรือพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา
  • >» ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถูกตาและหมั่นล้างมือบ่อยๆ เพราะการล้างมือจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดีที่สุด
  • >» ควรพักสายตา ไม่ใช้สายตามากนัก และพยายามรักษาสุขภาพ พักผ่อนมาก ๆ ไม่ควรทำงานดึกควรนอนให้เพียงพอ
  • >» ไม่จำเป็นต้องต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้น มีกระจกตาอักเสบ จึงปิดตาเป็นครั้งคราว
  • >» แยกของใช้ส่วนตัว อย่าให้ผู้อื่นใช้ร่วมด้วย
  • >» ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อลดการระคายเคือง
  • >» งดใส่คอนแทกเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ
  • >» หากใช้กระดาษนุ่มซับน้ำตาหรือขี้ตาแล้ว ควรทิ้งในถังขยะที่มิดชิด
  •  
  • วิธีใช้ยาหยอดตา
  • ในการหยอดตาที่ถูกต้องนั้น สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำก็คือ
  •      1. ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง
  •      2. ดึงหนังตาล่างลง 
  •      3. ตาเหลือกมองเพดาน 
  •      4. หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง
  •      5. ปิดตาและกรอกตาไปมา เพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา 
  •      6. เช็ดยาที่ล้นออกมา 
  •      7. ล้างมือหลังหยอดยาเสร็จ
  •  
  •      ทั้งนี้ สิ่งที่ควรระวังก็คือ ยาหยอดตาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงทั้งต่อดวงตาหรือต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นควรใช้ต่อเมื่อจักษุแพทย์สั่ง และต้องอ่านฉลากกำกับให้ละเอียด หากมีข้อสงสัยหรือพบความผิดปกติใด ๆ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  •  
  • วิธีป้องกันไม่ให้ติดโรคตาแดง
  •      โรคนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่
  • >» หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่อยู่เสมอ  ไม่ใช้มือที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดขยี้ตา
  • >» เมื่อฝุ่นละอองหรือผงเข้าตา  ไม่ควรขยี้ตา  ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว
  • >» ในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันอย่างแออัด ควรจัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอ สำหรับการล้างมือ ล้างหน้า และใช้อาบ
  • >» ไม่ใช้สิ่งของ เช่น เครื่องสำอางค์ แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ ถ้วยล้างตา หรือยาหยอดตา ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีโรคตาแดงระบาดต้องระวังให้มากยิ่งขึ้น
  • >» หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาดอยู่เสมอ

Comment

เรื่องเล่าโพสเมื่อ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Contact Us

ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
Mail : mbkrattanakorn@gmail.com