แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรค แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรค แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

บทนำ

โรคติดเชื้อไมโคพลาสมา หรือ โรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา หรือโรคไมโคพลาสมา หรือ มัยโคพลาสมา (Mycoplasma infections) คือโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียในกลุ่ม Myco plasma ซึ่งจะติดต่อจากคนสู่คน โดยแบ่งโรคติดเชื้อชนิดนี้ออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามตำ แหน่งของการเกิดโรค คือการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ และการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ โรคทั้งสองกลุ่มนี้ มียาปฏิชีวนะสำ หรับรักษา แต่ไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกัน ผู้ที่เคยติดเชื้อเป็นโรคมาแล้ว มีโอกาสติดเชื้อและเป็นโรคซ้ำได้อีก

โรคติดเชื้อไมโคพลาสมามีสาเหตุจากอะไร?

เชื้อในกลุ่มไมโคพลาสมา เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีขนาดเล็กที่สุดในแบคทีเรียกลุ่มที่สามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายคนและสัตว์ได้ และเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีลักษณะพิเศษคือ ไม่มีผนังเซลล์เหมือนแบคทีเรียชนิดอื่นๆอีกหลายชนิด
การแยกเชื้อในกลุ่มนี้จากร่างกายของคน พบมีอยู่ 17 ชนิด (Species) แต่ส่วนใหญ่อา ศัยอยู่ในร่างกายของเราโดยไม่ทำให้เกิดโรค โดยมีอยู่เพียง 5 ชนิดที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ เชื้อชนิด Mycoplasma pneumonia ซึ่งทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งรวมทั้งปอดบวม และ อีก 4 ชนิด คือ เชื้อชนิด Mycoplasma genitalium, Mycoplasma hominis, Ureaplas ma urealyticum และ Ureaplasma parvum ทำให้เกิดโรคของ ระบบทางเดินปัสสาวะ และระ บบสืบพันธุ์ (ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี และระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย)
การติดต่อของเชื้อชนิด Mycoplasma pneumonia เกิดจากการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยที่ไอ จาม ออกมา เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ ส่วนเชื้อชนิดอื่นๆที่เหลือ การติดเชื้อเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อชนิด Mycoplasma pneumonia ส่วนใหญ่เกิดในช่วงอายุ 5-20 ปี เพศหญิงและเพศชายพบได้เท่าๆกัน พบได้ทั่วโลก เกิดขึ้นได้ประปรายตลอดทั้งปี แต่พบมากในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูหนาว การระบาดเป็นกลุ่มๆมักเกิดในที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นและใกล้ชิดกัน เช่น ในโรงเรียน ค่ายทหาร เป็นต้น ส่วนการระบาดเป็นบริเวณกว้าง (Epidemics) มักเกิดขึ้นเป็นรอบ ๆ ทุกๆ 2-3 ปี
สำหรับการติดเชื้อชนิดอื่นๆสามารถพบได้ทุกเชื้อชาติทั่วโลกเช่นกัน ชายและหญิงพบได้เหมือนๆกัน แต่จะเป็นโรคแตกต่างกันตามอวัยวะของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะระบบสืบ พันธุ์สตรี/ อวัยวะระบบสืบพันธุ์ชายที่แตกต่างกัน โดยโรคส่วนใหญ่จะพบในวัยเจริญพันธุ์ ไม่มีฤดูการระบาดที่จำเพาะ

เชื้อไมโคพลาสมาก่อโรคได้อย่างไร?

สำหรับเชื้อชนิด Mycoplasma pneumonia ที่ก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว เชื้อจะอาศัยกลุ่มของโปรตีนที่มีอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ ไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนหรือส่วนล่าง แล้วแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์แบคทีเรียจะผลิตสารก่ออนุมูลอิสระชนิด Hydrogen peroxide ออกมา ซึ่งทำให้เซลล์เยื่อบุตายได้ เมื่อเซลล์ตายเม็ดเลือดขาวก็จะเข้ามาเก็บกิน และปล่อยสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบและทำให้เกิดอาการตามมา นอกจากนี้มีการค้นพบว่าเชื้อชนิดนี้อาจมีการปล่อยสารพิษชนิด Exotoxin ชื่อว่า Com munity-acquired respiratory disease toxin (CARDS) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายสารพิษของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคไอกรน
ส่วนเชื้อชนิดอื่นๆ จะไปเกาะติดกับเยื่อบุท่อปัสสาวะหรือช่องคลอด และผลิตสารเคมีแอม โมเนียออกมา ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เซลล์เยื่อบุตายได้เช่นกัน
ในผู้ป่วยทั่วไปๆ เชื้อแบคทีเรียจะไม่ลุกลามลงไปลึกกว่าชั้นเยื่อบุผิวและไม่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด/กระแสโลหิต ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง หรือ มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในร่างกาย เช่น ใส่สายสวนปัสสาวะอยู่

โรคติดเชื้อไมโคพลาสมามีอาการอย่างไร?

อาการของโรคติดเชื้อไมโคพลาสมาแบ่งออกเป็น
  1. โรคทางระบบทางเดินหายใจ ระยะฟักตัวของโรคคือ ตั้งแต่รับเชื้อจนกระทั่งแสดงอาการ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งค่อนข้างยาวนานกว่าระยะฟักตัวของโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากเชื้อชนิดอื่นๆ และมีประมาณ 20% ที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อและมีอาการนั้น ส่วนใหญ่จะมีอาการจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง (หลอดลม และปอด) คือ หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบ ปอดบวม และมีเพียงส่วนน้อยที่จะเกิดมีอา การของระบบทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก ลำคอ ท่อลม) เช่น คออักเสบ ซึ่งมักจะพบในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
  2. อาการของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างของเชื้อชนิดนี้ คือ มีไข้ โดยไข้มักจะไม่สูงเกิน 38.9 องศาเซลเซียส (Celsius) ปวดศีรษะ และไอ ซึ่งมักไม่มีเสมหะ หากมีเสมหะ ก็จะเป็นสีขาว ไม่ใช่เหลืองหรือเขียว โดยอาการจะค่อยเป็นค่อยไป แต่เป็นอยู่ค่อนข้างนานเมื่อเทียบกับสาเหตุจากเชื้อชนิดอื่นๆ โดยอาจเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์ ส่วนอา การอื่นๆที่อาจพบได้แต่เกิดขึ้นน้อย ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว/ท้องเสีย การตรวจร่างกายโดยการฟังเสียงปอด มักไม่ได้ยินเสียงผิดปกติ ซึ่งแตกต่างจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรียทั่วๆไปที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ ในผู้ป่วยส่วนน้อย อาจมีอาการของระบบอื่นๆ นอกระบบทางเดินหายใจได้ เช่น
    • การเกิดผื่นแดงชนิดที่เรียกว่า Erythema multiforme คือ มีลักษณะเป็นปื้นนูนแดงที่มีรอยบุ๋มตรงกลางจากการตายของผิวหนัง มักพบในผู้ป่วยเพศชาย อายุน้อย โดยหากพบผื่นชนิดนี้ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นปอดบวม ก็จะค่อนข้างจำเพาะว่าเกิดจากการติดเชื้อไมโคพลาสมา ส่วนผื่นชนิดอื่นๆก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ไม่จำเพาะเหมือนผื่นชนิด Erythema multi forme เช่น ผื่นลมพิษ ผื่นชนิดตุ่มน้ำใส เป็นต้น
    • การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    • การเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ
    • มีอาการปวดตามข้อ (Arthralgia) มีส่วนน้อยมากที่อาจเกิดข้ออักเสบ (Arthritis)
    • การเกิดเม็ดเลือดแดงแตกซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง (ภาวะซีด) และอาจมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
    อนึ่ง วิธีการก่อโรคของเชื้อที่ทำให้เกิดอาการในระบบอื่นๆนอกจากระบบทางเดินหายใจนั้นยังไม่ทราบชัดเจน
  3. อาการของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ มีไข้ เจ็บคอ คอ แดง ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดหู มีเพียงส่วนน้อยที่อาจคลำได้ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอโต ส่วนอาการที่ค่อนข้างจำเพาะต่อการติดเชื้อชนิดนี้ คือ อาการปวดหูจากเยื่อแก้วหูอักเสบ (Bullous myringitis) แต่พบได้น้อยมาก

  • โรคของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ในคนปกติบางคนที่ไม่มีอา การ สามารถคัดแยกเพาะเชื้อที่ทำให้เกิดโรคในกลุ่มนี้จากช่องคลอดของผู้หญิงหรือท่อปัสสาวะทั้งหญิงและชายได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว จะมีโอกาสพบเชื้อเหล่านี้ได้มากขึ้น ในเด็กแรกคลอดเองก็สามารถตรวจพบเชื้อได้ โดยรับเชื้อมาจากมารดาขณะที่คลอดผ่านช่องคลอด แต่โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ทำให้ทารกเกิดโรคและเชื้อก็จะหายไปได้เองในที่สุด สำ หรับในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อและมีอาการนั้น ได้แก่อาการเหล่านี้
    1. ท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปวดเวลาปัสสาวะใกล้เสร็จ ปัสสาวะขุ่น อาจมีคราบหนองเปื้อนกางเกงใน
    2. ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) และท่อเก็บอสุจิอักเสบ (Epididymitis) อาการได้แก่ มีไข้ ปัสสาวะบ่อย ปวดแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก ไม่พุ่ง ปวดเอว ปวดท้องน้อย ปวดบริเวณอัณฑะ
    3. การอักเสบในอุ้งเชิงกรานในเพศหญิง (Pelvic inflammatory disease) อา การ คือ มีไข้ ปวดท้องน้อย ตกขาวมาก เลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ
    4. ปัญหาอื่นๆ เช่น การเกิดรกอักเสบในทารกที่อยู่ในครรภ์ และอาจเป็นสาเหตุของการเป็นหมันทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

  • อนึ่ง เชื้อในกลุ่มที่ทำให้เกิดอาการของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์นี้ อาจเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆได้ เช่น ข้ออักเสบ กลุ่มอาการ Reiter’s syndrome (กลุ่มอาการที่เกิดการอักเสบกับหลายๆอวัยวะโดยมีการติดเชื้อเป็นตัวกระตุ้น แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุต่ออวัยวะนั้นๆโดยตรง เช่น มีการอักเสบของ ข้อ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ และตาอัก เสบ เกิดขึ้นพร้อมๆกัน) เป็นต้น

    แพทย์วินิจฉัยโรคติดเชื้อไมโคพลาสมาได้อย่างไร?

    แพทย์วินิจฉัยโรคติดเชื้อไมโคพลาสมาได้โดย
    1. การวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
      1. อาการของระบบหายใจส่วนต้นนั้น ยากที่จะวินิจฉัยว่าเกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา เนื่องจากอาการเหมือนกับการติดเชื้อชนิดอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการของระบบหายใจส่วนต้น แต่หากผู้ป่วยมีอาการปวดหูและตรวจพบตุ่มน้ำใสที่เยื่อแก้วหูก็เป็นอาการแสดงที่บ่งว่าผู้ป่วยอาจกำลังติดเชื้อไมโคพลาสมาอยู่ การพิสูจน์ยืนยันว่า ติดเชื้อไมโคพลาสมาโดยอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก ไม่สะดวกในทางปฏิบัติ และไม่มีความจำเป็น เนื่องจากโรคไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้
      2. อาการของระบบทางเดินทางหายใจส่วนล่าง อาการของหลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบ/ปอดบวมจากเชื้อไมโคพลาสมาจะคล้ายกับสาเหตุจากเชื้ออื่นๆ การจะระบุว่าเกิดจากเชื้อชนิดนี้ หรือเชื้อชนิดอื่นๆก็ตามแทบเป็นไปไม่ได้ หากผู้ป่วยมีอาการเป็นระยะเวลา นาน หรือมีอาการของระบบอื่นๆเกิดร่วมอยู่ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเกิดจากเชื้อไมโคพลาส มา การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นอาจช่วยในการบ่งชี้ว่าผู้ป่วยน่าจะติดเชื้อชนิดนี้ ได้แก่
        • การเจาะเลือดผู้ป่วยในหลอดทดลองที่มีสารกันเลือดแข็งตัวแล้วนำไปแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เมื่อเอียงหลอดทดลอง จะเห็นเม็ดเลือดแดงตกตะกอนเกาะกันเป็นก้อน แต่เมื่ออุ่นเลือดที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เม็ดเลือดแดงก็จะเลิกเกาะตัวกัน เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Cold agglutinin ซึ่งอาจพบในโรคติดเชื้อรวมไปถึงโรคอื่นๆได้ แต่หากผู้ป่วยมีอาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างร่วมกับมีการตรวจพบปรากฏการณ์นี้ ก็บ่งชี้ว่าน่าจะเกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา
        • การเอกซเรย์ปอด พบเงาผิดปกติ ซึ่งมักจะไม่สัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วย คือเงาที่ผิดปกติดูรุนแรง แต่อาการที่ปรากฏกลับไม่รุนแรง และมักพบเงาผิดปกติที่ปอดด้านล่าง
        • การตรวจเสมหะ ในผู้ป่วยที่มีเสมหะ เมื่อนำเสมหะไปตรวจย้อมสีดูเชื้อแบคทีเรีย (Gram stain) จะตรวจไม่เจอเชื้อ เนื่องจากเชื้อชนิดไมโคพลาสมาไม่มีผนังเซลล์ จึงไม่ติดสีใดๆ แต่หากเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆก็จะตรวจเห็นได้
          อนึ่ง สำหรับการตรวจที่จะพิสูจน์ยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่
        • การเพาะเชื้อจากเสมหะ หรือสิ่งคัดหลั่งจากหลอดลมที่ดูดออกมา การเพาะเชื้อใช้เวลาค่อน ข้างนานประมาณ 2-3 สัปดาห์ กว่าเชื้อจะขึ้นและพิสูจน์ได้ว่าเป็นเชื้อไมโคพลาสมา จึงไม่สะ ดวกในทางปฏิบัติและไม่ทันต่อการวินิจฉัย
        • การตรวจหาแอนติบอดี (Antibody/สารภูมิต้านทาน) ต่อเชื้อไมโคพลาสมา เพื่อให้มีความไวและความจำเพาะสูง ต้องเจาะเลือดตรวจ 2 ครั้ง ห่างกันนาน 2-4 สัปดาห์ จึงไม่สะดวกในทางปฏิบัติและไม่ทันต่อการวินิจฉัยเช่นกัน ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคให้มีความไวในการตรวจพบเชื้อมากขึ้นในการตรวจเพียงครั้งเดียว
        • การตรวจหาองค์ประกอบทางโมเลกุลของเชื้อไมโคพลาสมา หรือสารก่อภูมิต้านทาน (Anti gen detection) โดยใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า PCR (Polymerase chain reaction) ซึ่งค่อนข้างแม่นยำและได้ผลรวดเร็ว แต่ราคาแพง
      3. การวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ อาการจากเชื้อชนิดนี้ไม่แตกต่างจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มนี้เฉพาะจากอาการจึงไม่สามารถทำได้ การตรวจทางห้องปฏิบัติการในเบื้องต้น ที่อาจบ่งชี้ว่าอาจจะเป็นเชื้อกลุ่มนี้ ได้แก่ การนำปัสสาวะหรือหนองที่เก็บได้จากท่อปัสสาวะในผู้ที่มีอาการของท่อปัสสาวะอักเสบ หรือต่อมลูกหมากอักเสบ ไปย้อมสีดูเชื้อแบคทีเรีย (Gram stain) ซึ่งถ้าเป็นเชื้อในกลุ่มนี้ก็จะตรวจหาไม่เจอ ส่วนการตรวจที่จะเป็นการพิสูจน์ยืนยันชนิดของเชื้อนั้นต้องอาศัยการเพาะเชื้อ ซึ่งเฉพาะเชื้อชนิด Mycoplasma hominis เท่านั้นที่เพาะขึ้นในอาหารเพาะเชื้อธรรมดาทั่วไป ส่วนเชื้อชนิด Mycoplasma genitalium และUreaplasmaspp. ต้องอาศัยอาหารเพาะเชื้อชนิดพิเศษ ซึ่งปกติไม่มีในห้องปฏิบัติการทั่วๆไป ส่วนการตรวจหาแอนติ เจน (Antigen/สารก่อภูมิต้านทาน)ใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า PCR ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา
        สำหรับการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง มักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดร่วม กัน จึงยากที่จะให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังติดเชื้อกลุ่มไมโคพลาสมาทั้งจากการย้อมสีดูเชื้อแบคทีเรีย หรือเพาะเชื้อ
        ดังนั้นโดยปกติ เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะหรือระบบสืบพันธุ์แล้ว ก็จะให้ยาปฏิชีวนะที่คลอบคลุมเชื้อหลายๆชนิดที่อาจเป็นสาเหตุ หากอาการไม่ดีขึ้น จึงจะอาศํยการตรวจพิเศษเพื่อหาชนิดของเชื้อต่อไป

    โรคติดเชื้อไมโคพลาสมารุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

    ความรุนแรงและผลข้างเคียงจากโรคติดเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่
    1. โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง และสามารถหายเองได้ในที่สุดแม้ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ แม้โรคจะก่ออาการอยู่ค่อนข้างนาน ในผู้ ป่วยที่เป็นปอดอักเสบ ปอดบวม สมรรถภาพการทำงานของปอดก็จะกลับมาเป็นปกติดี การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อจะช่วยทำให้อาการหายเร็วขึ้น โดยจะหายภายใน 7-10 วัน มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่อาการปอดอักเสบอาจรุนแรง และใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าสมรรถภาพการทำงานของปอดจะกลับมาปกติ ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เชื้ออาจลุกลามเข้าสู่กระ แสเลือดและทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) ได้
      ในผู้ป่วยที่มีอาการของระบบอื่นๆนอกระบบทางเดินหายใจ อาการต่างๆ จะกลับ มาหายเป็นปกติได้ในที่สุด เว้นแต่อาการทางระบบประสาทและสมองที่อาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ในการกลับมาทำงานได้เป็นปกติ มีเพียงส่วนน้อยมากที่อาจเกิดการสูญเสียการทำงานถาวร
    2. โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ การศึกษาและรายงานต่างๆในเรื่องความรุนแรงโรคที่เกิดจากเชื้อในกลุ่มนี้ยังมีน้อย อีกทั้งการติดเชื้อของระ บบนี้มักเกิดจากเชื้อหลายชนิดร่วมกัน จึงยากที่จะประเมิน แต่โดยรวมแล้วอาการมักไม่รุนแรง แต่อาจทำให้เกิดปัญหาสำคัญตามมา เช่น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานอาจทำให้มีลูกยากได้ และสำหรับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง อาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและอาการรุนแรงได้

    รักษาโรคติดเชื้อไมโคพลาสมาอย่างไร?

    แนวทางในการรักษาโรคติดเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่
    1. โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่สามารถพิสูจน์ยืน ยันการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังติดเชื้อไมโคพลาสมาอยู่ แพทย์จึงทำการรักษาตามอาการของโรคติดเชื้อทางระบบหายใจทั่วๆไป ในภาพรวม คือ
      หากเป็นอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น จะให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ยาลดไข้/ยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูกเป็นต้น แต่หากตรวจร่างกายพบ Bullous myringitis ซึ่งบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นจากเชื้อไมโครพลาสมา แพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะ
      สำหรับการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง/ปอด หากมีอาการไม่รุนแรง ก็จะให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ยาลดไข้/แก้ปวด แก้ไอ เป็นต้น แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายๆชนิดที่อาจเป็นสาเหตุ โดยพิจารณาตามอายุของผู้ป่วย โรคประจำตัว และการระบาดตามพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้ส่วนใหญ่ก็จะครอบคลุมเชื้อไมโคพลาสมาด้วย หากผู้ป่วยมีอาการบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นการติดเชื้อไมโคพลาสมา เช่น มีอาการอยู่นานหลายวัน ตรวจร่างกายพบผื่นชนิด Erythema multiforme แพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อ
      สำหรับผู้ป่วยที่อาการรุนแรง ก็จะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ให้ยาบรรเทาตามอา การ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดและแพทย์จะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่คลอบคลุมเชื้อหลายๆชนิด ซึ่งก็จะครอบคลุมเชื้อไมโคพลาสมา โดยให้เป็นยาฉีดเข้าหลอดเลือด หากอา การและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นจากเชื้อไมโคพลาสมา แพทย์ก็จะให้ยาที่ตรงกับเชื้อมากขึ้น
    2. โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เมื่อผู้ป่วยมีอาการอักเสบของอวัยวะในกลุ่มนี้ แพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดที่อาจเป็นสาเหตุ ซึ่งก็จะครอบคลุมเชื้อไมโคพลาสมาด้วย ส่วนการรักษาอื่นๆก็เป็นการรัก ษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ ให้ยาแก้ปวด เป็นต้น

    ป้องกันโรคติดเชื้อไมโคพลาสมาได้อย่างไร?

    การป้องกันโรคติดเชื้อไมโคพลาสมา ได้แก่
    1. การป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ใช้หลักการเดียวกันกับการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั่วๆไป เช่น พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น แออัด หรือใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก/หน้ากากอนามัยหากจำเป็น การล้างมือบ่อยๆ ล้างมือทุกครั้งก่อนปรุงอาหารหรือทานอาหาร การใช้ช้อนกลางทานอาหาร เป็นต้น
    2. การป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบอวัยวะสืบพันธุ์ คือ การไม่สำส่อนทางเพศ ส่วนการใช้ถุงยางอนามัยอาจไม่สามารถช่วยป้องกันได้
    3. ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อนี้

    ควรดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?

    การดูแลตนเองและการพบแพทย์ คือ
    1. ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ให้การดูแลตนเองเหมือนโรคติดเชื้อระ บบทางเดินหายใจทั่วๆ ไป เช่น ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถ ทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น การไปทำงาน การไปเรียนหนังสือ แต่ควรใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร ไม่ใช้ของส่วน ตัวร่วมกับผู้อื่น สำหรับเด็กเล็กๆที่ยังดูแลตัวเองได้ไม่ดี ควรหยุดเรียน ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเดียว กัน ไม่จำเป็นต้องแยกห้องอยู่ แต่ควรแยกห้องนอน
    2. ผู้ที่มีอาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจที่มีอาการรุนแรง เช่น ไอมากจนเหนื่อย อ่อนเพลียหรือมีอาการมานานมากกว่า 1 สัปดาห์ ควรพบแพทย์
    3. ผู้ที่มีอาการของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน ตกขาวมาก ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและการรักษาที่เหมาะสม

    ที่มา : haamor.com

    วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

    ที่มา : สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

    ข้อมูลการติดโรคมาลาเรีย

    โรคมาลาเรีย (Malaria) หรือไข้มาลาเรีย อาจรู้จักกันในชื่ออื่นฯ เช่น ไข้ป่า ไข้จับสั่น ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็น หรือไข้ดอกสัก เป็นต้น โรคมาลาเรียมีขอบเขตการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปัจจุบันมีประชากรกว่าสองพันล้านคน จาก 99 ประเทศทั่วโลกอาศัยอยู่ในบริเวณซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย  ประมาณว่าผู้ติดเชื้อทั่วโลก ประมาณ 500 ล้านราย และมีผู้เลียชีวิตกว่า 1 ล้านรายซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กในทวีปแอฟริกา โรคมาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเช่นกัน แม้ว่าโรคนี้จะมีอัตราป่วยและอัตราตายลดลง แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมาข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขใน ปี พ.ศ.2555 พบผู้ติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า 34,000 ราย ในปี พ.ศ. 2556 ตั้งแต่มกราคมถึงเดือนตุลาคม มีผู้ป่วยทั้งประเทศจำนวน 12,000 ราย เสียชีวิต 12 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชายแดน โดยจำนวนผู้ป่วยสูงสุดพบที่จังหวัดตาก ตามด้วยจังหวัดระนอง  แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรีและชุมพร นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงว่าผลการป้องกันควบคุมมาลาเรียของไทยตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมาได้ผลดี สามารถลดจำนวนผู้ป่วยจาก ปี พ.ศ.2541 ลงเกือบ 4 เท่าตัว กล่าวคือจากจำนวน 125,000 ราย ลดลงเหลือ 34,002 รายในปี พ.ศ. 2554 ปัญหาสำคัญขณะนี้คือการดื้อยาของเชื้อมาลาเรียตามแนวชายแดน ที่พบมากที่สุดคือบริเวณชายแดนด้านไทย-พม่า และชายแดนไทย-กัมพูชา

    Map1สาเหตุของการติดโรคมาลาเรียและชนิดของเชื้อมาลาเรียที่ติดต่อสู่คน

    โรคมาลาเรีย เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียวในจีนัส พลาสโมเดียม (Plasmodium ) ซึ่งมีมากกว่า 100 เชื้อชนิดที่ก่อโรคทั้งในคน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และสัตว์เลื้อยคลาน แต่ที่ก่อโรคในคนเพียง 5 ชนิด ได้แก่ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium falciparum) พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (P.vivax) พลาสโมเดียม มาลาริอี่ (P.malariae)  พลาสโมเดียม โอวาเล่ (P.ovale) และพลาสโมเดียม โนวไซ (P. knowlesi) เชื้อที่พบส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นชนิด พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม และ พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ ส่วนน้อยเป็นชนิดพลาสโมเดียม มาลาริอี่ พลาสโมเดียม โอวาเล่ และ พลาสโมเดียม โนวไซ ซึ่งชนิดสุดท้ายเป็นเชื้อมาลาเรียของลิงกัง ลิงแสม และค่างดำ ที่พบว่าติดต่อสู่คนได้

    แหล่งระบาดของเชื้อมาลาเรียชนิดต่างๆ

    • เชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม พบในแถบทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ และเอเชีย แม้จะพบได้ในเขตหนาวแต่จำนวนไม่มากนัก
    • พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ พบได้ทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น ได้แก่บริเวณแถบลาตินอเมริกา ตุรกี จีน และอินเดียตอนกลาง แต่พบได้น้อยในแถบแอฟริกา โดยเฉพาะแถบแอฟริกาตะวันตก
    • พลาสโมเดียม มาลาริอี่ พบได้ทั้งในเขตร้อนและใกล้เขตร้อน โดยเฉพาะในบริเวณทวีปแอฟริกาตะวันออก และประเทศอินเดียทางตะวันตก
    • พลาสโมเดียม โอวาเล่ พบในพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ได้แก่ แถบแอฟริกาตะวันตก ฟิลิปปินส์ แถบตะวันออกของอินโดนีเชีย ปาปัวนิวกินี บังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย ไทย เวียดนาม
    • พลาสโมเดียม โนวไซ พบได้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมาร์ และ อินโดนีเชีย ในปี พ.ศ. 2547 ศ.นพ.ดร. สมชาย จงวุฒิเวศย์ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตรวจพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียชนิดที่ 5 คือ พลาสโมเดียม โนวไซ (Plasmodium knowlesi) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อที่พบในลิงแสม มีลิงกัง ลิงแสมและค่างดำเป็นรังโรค พบมากในพื้นที่จังหวัดตาก จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา และนราธิวาส ดูจากฟิล์มเลือดเชื้อนี้มีรูปร่างความคล้ายคลึงกับพลาสโมเดียม มาลาริอิ จนไม่สามารถแยกจากกันด้วยการดูรูปร่างจากการดูฟิล์มเลือดได้
    • แหล่งระบาดของเชื้อมาลาเรียในประเทศไทย  พบอยู่บริเวณป่าเขาชายแดนของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนไทย-พม่า และไทย-กัมพูชา จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงมาโดยตลอดได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก ตราด กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สระแก้ว และจันทบุรี รวมทั้งตามเกาะแก่งต่างๆ เนื่องจากมียุงก้นปล่องบางชนิดชอบวางไข่ในตามแหล่งน้ำกร่อยที่มีแสงแดดส่องถึงพบทางแถบชายทะเล ส่วนในบริเวณตอนกลางของประเทศ พบผู้ป่วยมาลาเรียได้น้อย และไม่พบการติดเชื้อในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล พบผู้ป่วยกระจายทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 10-35 ปี อัตราส่วนของผู้ป่วยเพศชายจะมากกว่าเพศหญิง ประมาณ 2 เท่า พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน

    ยุงพาหะนำโรคมาลาเรีย

    โรคมาลาเรียติดต่อโดยการถูกยุงกัด ยุงพาหะนำโรคโรคมาลาเรียคือยุงก้นปล่องเพศเมีย (female Anopheles spp.) ที่เรียกอย่างนี้เนืองจากเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกส่วนท้อง (abdomen) ขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา ในประเทศไทยมียุงก้นปล่องประมาณ 100 ชนิด แต่ที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นยุงพาหะนำโรคมาลาเรียในประเทศไทยมีอย่างน้อย 6 ชนิด ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการแพร่เชื้อขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากยุงพาหะมีแหล่งเพาะพันธุ์แตกต่างกัน ยุงก้นปล่องพาหะมี่สำคัญได้แก่
    1. Anopheles dirus พบในป่าทึบชอบออกไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ ลักษณะนิสัยชอบกินเลือดคนมาก ไม่ชอบกินเลือดสัตว์อื่นออกหากินตอนกลางคืนถึงเช้ามืด แต่ถ้าป่าทึบมากๆ ก็หากินช่วงกลางวันด้วย ยุงชนิดนี้เป็นชนิดที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อมาลาเรียมากกว่ายุงพาหะชนิดอื่นในประเทศไทย
    2. An. minimus พบได้มากตามบริเวณชายป่าเชิงเขา ตลอดจนท้องที่ราบที่มีแหล่งน้ำลำธารไหลผ่าน ชอบเพาะพันธุ์ตามลำธารน้ำใสไหลริน มีแสงแดดส่องถึง และอาจพบตามบริเวณบ่อน้ำพุ และน้ำซับน้ำซึมที่ใสสะอาด มีหญ้าขึ้นปกคลุมตามขอบลำธารหรือบ่อน้ำ
    3. An. balabacensis พบได้ในบริเวณเทือกเขา ป่าดงดิบ หรือในภูมิประเทศที่มีสภาพคล้ายป่า เช่น สวนยาง สวนทุเรียน ชอบเพาะพันธุ์ตามบริเวณแหล่งน้ำขังใต้ร่มเงา หรือน้ำขังในรอยเท้าสัตว์ ตามบ่อที่คนขุดทิ้งไว้ ลักษณะน้ำค่อนข้างใสและมีใบไม้แช่ปนทับถมอยู่
    4. An. maculatus พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยตามบริเวณป่าโปร่งและตามเชิงเขา ป่าสวนยาง ชอบเพาะพันธุ์ตามบ่อน้ำพุ น้ำซับน้ำซึม ตามบริเวณป่าเชิงเขา นอกจากนี้ยังพบตามแอ่งหินน้ำขัง ตามลำธารมีต้นไม้ปกคลุมริมฝั่งที่มีแสงแดดส่องถึง
    5. An. sundaicus เป็นพาหะปรากฏอยู่ในแถบชายทะเล โดยเฉพาะตามบริเวณฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย ตลอดจนเกาะแก่งต่าง ๆ ชอบเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำกร่อยใกล้ทะเล มีแสงแดด ส่องถึงและมีสาหร่ายลอยอยู่ในน้ำ
    6. An. aconitus พบกระจายอยู่ทั่วไปในเกือบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในท้องที่ราบ ทุ่งนา และตามบริเวณป่า สวนผลไม้ ชอบเพาะพันธุ์ตามน้ำขังในนาข้าว ร่องสวนหลุมบ่อที่มีน้ำขัง และตามลำธารน้ำไหลสะอาดมีพืชน้ำขึ้นตามริมลำธาร
    ยุงเพศเมียมีปากที่เป็นท่อแหลมสำหรับดูดเลือดจากคนเพื่อเอาโปรตีนไปสร้างไข่ ออกหาเหยื่อเวลากลางคืนโดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อเจาะผิวหนังเพื่อดูดกินเลือด กระบวนการนี้ตามปรกติจะดำเนินไปโดยเหยื่อไม่รู้ตัว เนื่องจากยุงจะปล่อยน้ำลายออกมาเพื่อทำหน้าที่เป็นยาชา ทำให้คนถูกกัดไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งน้ำลายนี่เองที่มีเชื้อมาลาเรีย ซึ่งยุงได้จากการไปกัดคนที่มีเชื้อระยะติดต่อมาก่อน

    วงชีวิตและการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย

    ในวงชีวิตของเชื้อมาลาเรียต้องการโฮสต์ 2 ชนิด คีอ คน และยุงก้นปล่องเพศเมียซึ่งเป็นพาหะนำโรค การติดเชื้อมาลาเรียเริ่มต้นเมื่อยุงที่ติดเชื้อมาลาเรียมากัดคน และปล่อยเชื้อมาลาเรียระยะติดต่อที่เรียกว่า สปอโรซอยต์ (sporozoite) เข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นเชื้อจะเข้าสู่เซลล์ตับ (hepatocyte) เจริญเติบโตเป็นเซลล์แม่เรียกว่าสคิซอนต์ (schizont) ซึ่งจะแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศ (เรียกว่า hepatic schizogony หรือ exo-erythrocytic schizogony) เมื่อสคิซอนต์แบ่งตัวเส็รจสิ้นสมบูรณ์จะได้เซลล์ลูกเล็กๆเรียกว่าเมอโรซอยต์ (merozoite) จำนวนนับพัน หลังจากนั้นเซลล์แม่และเซลล์ตับจะแตกแล้วปล่อยเซลล์ลูกเข้าสู่กระแสเลีอดและเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง (โดยเชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม เข้าสู่เม็ดลือดแดงทุกอายุขัย      
    พลาสโมเดียมไวแว็กซ์ และพลาสโมเดียม โอวาเล่ เลือกเข้าสู่เม็ดลือดแดงที่เพิ่งออกจากไขกระดูก (reticulocyte) ซึ่งมีจำนวนน้อย พลาสโมเดียม มาลาริอี่ เลือกเข้าสู่เม็ดลือดแดงที่จะหมดอายุขัยซึ่งมีจำนวนน้อยเช่นกัน ส่วน พลาสโมเดียม โนวไซ เข้าสู่เข้าสู่เม็ดลือดแดงทุกอายุขัย ความจำเพาะต่อเม็ดลือดแดงนี้มีผลทำให้ความหนาแน่นของเชื้อในเซลล์เม็ดแดงของเชื้อแต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น เชื้อพลาสโมเดียม  ฟัลซิพารัม ร้อยละ 2-60 พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ และพลาสโมเดียม โอวาเล่ ร้อยละน้อยกว่า1 พลาสโมเดียม มาลาริอี่ ร้อยละน้อยกว่า 0.1 พลาสโมเดียม โนวไซ ร้อยละมากกว่า 2) จากนั้นเชื้อจะเจริญเติบโตเป็นเซลล์แม่สคิซอนต์และแบ่งตัวด้วยกระบวนการไม่อาศัยเพศ (เรียกว่า erythrocytic schizogony) โดยผ่านการเจริญเติบโตเป็นระยะต่างๆ (ได้แก่ระยะ ring form, trophozoite และ schizont ตามลำดับ) เซลล์แม่เจริญเติบโตเต็มทีภายในมีเซลล์ลูกนับสิบ เมื่อเซลล์แม่และเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกจะปล่อยเซลล์ลูกและเข้าสู่เซลล์เข้าเม็ดเลือดแดงอื่นๆ เจริญเติบโตแบ่งตัวเพิ่มจำนวนซ้ำเป็นวัฏจักรต่อไป อย่างไรก็ตามเมื่อแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศในเม็ดเลือดแดงไปประมาณ 2-3 รอบแล้ว จะมีเซลล์ลูกจำนวนหนึ่งที่เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และพัฒนาเป็นระยะแกมมีโตไซต์ (gametocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์สืบพันธุ์แกมมีต(gamete)ต่อไป แกมมีโตไซต์มีทั้งเพศผู้ (male gametocyte) และเพศเมีย (female gametocyte) เมื่อยุงก้นปล่องมากัดคนที่ติดเชื้อมาลาเรียก็จะได้รับเม็ดเลือดแดงที่มืเชื้อระยะแกมมีโตไซต์ซึ่งเป็นระยะติดต่อ (infective stage) เข้าไปในทางเดืนอาหารส่วนกลาง (midgut หรือ stomach) แกมมีโตไซต์เพศผู้จะเจริญและแบ่งตัวได้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (male gamete) 8 เซลล์ เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หนึ่งเซลล์จะไชเข้าไปในเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียซึ่งพัฒนามาจากแกมมีโตไซต์เพศเมีย และเกิดการปฏิสนธิได้เป็นไซโกต (zygote) จากนั้นไซโกตจะเจริญและเปลี่ยนรูปร่างจากกลมเป็นยาวรีเรียกว่าระยะโอโอไคนีต (ookinete) ซึ่งจะไชทะลุผนังของกระเพาะยุง และสร้างผนังมาหุ้มเป็นก้อนกลมแล้วเจริญเป็นโอโอซีสต์ (oocyst) เกาะอยู่ที่ผิวด้านนอกของกระเพาะยุง ต่อมาจะเกิดการแบ่งตัวภายได้เชื้อระยะติดต่อเรียกว่าสปอโรซอยต์ (sporozoite) ซึ่งมีจำนวนนับพัน เมี่อโอโอซีสต์เจริญเติบโดเต็มที่จะเกิดรูเปิดแล้วปล่อยสปอโรชอยต์ออกมา สปอโรชอยต์จะเคลี่อนตัวไปด้านหัวของยุงและไชเข้าสู่ต่อมน้ำลายของยุงปะปนอยู่กับน้ำลายยุง  และเมี่อยุงกัดคนใหม่ จะปล่อยระยะสปอโรซอยต์ซึ่งเป็นระยะติดต่อ (infective stage) เข้าสู่คนๆนั้น และเจริญเติบโตในคนตามวัฏจักรต่อไป การเจริญเติบโตตั้งแต่ยุงได้รับเชื้อจากคนจนได้ระยะติดต่อ
    สปอโรชอยต์ในต่อมน้ำลายยุง ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ยุงที่มากัดคนสามารถติดเชื้อได้ตลอดระยะเวลาถ้าคนๆนั้นมีระยะติดต่อแกมีโตไซต์ในกระแสเลือด ผู้ป่วยติดเชื้อพลาสโมเดียม มาลาริอี่ ที่ได้รับการรักษาไม่เพียงพออาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้ถึง 3 ปี หรือ 1-2 ปี แต่ในผู้ป่วยติดเชื้อ พลาสโมเดียมไวแว็กซ์ และพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม จะไม่เกิน 1 ปี
    เชื้อพลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ และ พลาสโมเดียม โอวาเล่ เมื่อเข้าสู่เซลล์ตับแล้ว เชื้อจำนวนหนึ่งอาจจะไม่พัฒนาและแบ่งตัวในทันที แต่จะเข้าสู่ระยะพักที่เรียกว่าฮิบโนซอยต์ (hypnozoite) ซึ่งอาจอยู่ในระยะนี้ได้นานถึง 6-12 เดือน ไปจนถึง 8 ปี หลังจากเวลาดังกล่าวแล้ว เชื้อจึงจะเจริญและแบ่งตัวได้เซลล์ลูกเมอโรซอยต์อีกครั้ง เมอโรซอยต์ชุดใหม่นื้จะเข้าสู่กระแสเลือด และเจริญเติบโตตามขั้นตอนตามปกติต่อไป การมีระยะฮิบโนซอยต์นี้เอง ที่ทำให้โรคมาลาเรียที่เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม ไวแว็กซ์  และ พลาสโมเดียม โอวาเล่ มีระยะฮิบโนซอยต์ที่ฟักตัวนาน สามารถก่อโรคมาลาเรียกลับซ้ำ (relapse malaria) ได้อีกหลังจากรักษาหายขาดจากครั้งแรกแล้ว gonjv’0kdมีระยะฮิบโนซอยต์ที่ฟักตัวนาน โรคมาลาเรียกลับซ้ำได้อาจเกิดอีกหลายครั้งในเวลาหลายปี ถ้าไม่ได้ยาฆ่าฮิบโนซอยต์ให้หมดไปจากตับ สำหรับผู้ป่วย (ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย) ที่มีภาวะบกพร่องเอ็นไซม์จีซิกพีดี (G-6-PD deficiency) อย่างรุนแรง จะไม่สามารถกินยาไพรมาควินซึ่งเป็นยาฆ่าฮิบโนซอยต์ได้ เนื่องจากยานี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงจำนวนมากของผู้ป่วยจะแตกซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ในกรณีเช่นนี้ต้องรอให้เชื้อออกจากตับแล้วเข้าเม็ดเลือดแดงก่อนจึงให้ยาฆ่าเชื้อ ซึ่งอาจต้องทำการรักษาแบบนี้หลายครั้งจนกว่าฮิบโนซอยต์ในตับจะหมดไป
    อาการของโรคมาลาเรียจะปรากฏหลังจากเชื้อเจริญในเม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกในรอบแรก และรอบต่อๆไป เนื่องจากเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อแตก จะปล่อยตัวเชื้อมาลาเรียและสารต่างๆ ออกมารวมทั้งสารที่กระตุ้นร่างกายผู้ติดเชื้อให้เกิดอาการไข้จับสั่น ช่วงระยะตั้งแต่ยุงกัดคนจนเกิดอาการโรคเรียกว่าระยะฟักตัว
    malaria1วงชีวิตของเชื้อมาลาเรียมาลาเรีย (9)

    ระยะฟักตัวก่อนเกิดอาการโรค

    • เชื้อพลาสโมเดียม  ฟัลซิพารัม ระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน
    • พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ และ พลาสโมเดียม โอวาเล่ ระยะฟักตัวประมาณ 8-14 วัน
    • พลาสโมเดียม มาลาริอี่   ระยะฟักตัวประมาณ 18-40 วัน
    • พลาสโมเดียม โนวไซ ระยะฟักตัวประมาณ 12 วัน

    การเกิดไข้ของโรคมาลาเรีย มีสาเหตุจากหลายประการ ได้แก่

    1. การจับไข้ครั้งแรกหลังจากระยะฟักตัว ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อครั้งแรก  (primary attack)
    2. การเกิดอาการไข้กลับซ้ำ(relapse)โดยพบเชื้อมาลาเรียในเลือดอีก หลังจากที่รักษาหายแล้วและไม่ได้รับเชื้อใหม่อีก อาการไข้กลับชนิดนี้พบได้ในผู้ที่ติดเชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียม  ไวแวกซ์ และ พลาสโมเดียม  โอวาเล่ เพราะมาลาเรียทั้งสองชนิดนี้มีเชื้อระยะหลบพักฮิบโนซอยต์ซึ่งสามารถหลบซ่อนอยู่ในเซลล์ตับและเจริญเติบโตขึ้นแล้วเข้าสู่เม็ดเลือดแดงอีก ทำให้เกิดอาการไข้กลับมาอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้วอาการไข้กลับมักรุนแรงน้อยกว่า และระยะเวลาเป็นก็สั้นกว่าการเป็นไข้มาลาเรียในตอนแรก ส่วนเชื้อมาลาเรียชนิด ฟัลซิปารัม  และมาลาเรียชนิดมาลาริอี ไม่มีเชื้อระยะฮิบโนซอยต์ จึงไม่มีอาการไข้กลับ
    3. อาการไข้กลับซ้ำ (recrudescence) ที่เกิดจากเชื้อในเม็ดเลือดแดงดื้อต่อยารักษา เชื้อที่เหลือรอดจากการฆ่ากของยามีจำนวนน้อยมาก ต้องใช้เวลาในเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจนถึงจำนวนหนึ่งจึงก่อให้เกิดอาการไข้มาลาเรียได้อีก การดื้อยาส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเชื้อ พลาสโมเดียม ฟัลซิพาลัม ในปัจจุบันเชื้อนี้ดื้อต่อยาหลายขนาน ทำให้การรักษาต้องระมัดระวัง ถ้าให้ยาไม่ถูกต้องและทันท่วงทีอาจเกิดอาการรุนแรงหรืออาการแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้ ส่วนพลาสโมเดียม มาลาริอี ก็สามารถทำให้เกิดอาการไข้กลับซ้ำ (recrudescence) ได้ แต่ไม่ได้เกิดจากการดื้อยา แต่เป็นเพราะเชื้อจำนวนน้อยมากๆ จะคงอยู่ในกระแสเลือดในปริมาณต่ำๆ ได้เป็นเวลานานหลายสิบปี มีรายงานพบอาการไข้กลับซ้ำเกิดขึ้นได้หลังการติดเชื้อครั้งแรกถึง 50 ปี และเมื่อไม่นานมานี้มีรายงานพบการของเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ดื้อต่อยาคลอดรควิน
    4. การติดเชื้อซ้ำใหม่ (reinfection) คือการเกิดอาการของโรคมาลาเรียโดยได้รับเชื้อใหม่ จากการถูกยุงกัดโหม่ ไม่ใช่เกิดจากการดื้อยา ไม่ใช่เกิดจากการมีเชื้อที่หลงเหลือค้างจากการรับเชื้อครั้งก่อน หรือเกิดจากการที่มีเชื้อหลบอยู่ในตับ

    อาการแสดงของโรคมาลาเรียโดยทั่วไป

    อาการและอาการแสดงของมาลาเรียไม่มีลักษณะพิเศษบ่งเฉพาะ โดยมากจะมีอาการนำคล้ายกับเป็นหวัด คือ มีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ ปวดตามตัวและกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาการนี้จะเป็นเพียงระยะสั้น เป็นวัน หรือหลายวันก็ได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นระยะเวลาการฟักตัวของเชื้อ ชนิดของเชื้อ จำนวนของระยะติดต่อสปอโรซอยต์ที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไป ภาวะภูมิคุ้มกันต่อเชื้อมาลาเรียของผู้ป่วย ภาวะที่ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันมาลาเรียมาก่อน หรือได้รับยารักษามาลาเรียมาก่อนบ้างแล้ว
    อาการจับไข้ ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดของโรคมาลาเรียประกอบด้วย 3 ระยะคือ ระยะสั่น ระยะร้อน และระยะเหงื่อออก ปัจจุบันจะพบลักษณะทั้ง 3 ระยะได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยตลอดเวลา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียครั้งแรก เนื่องจากในระยะแรกๆ ของการติดเชื้อมาลาเรีย เชื้ออาจเจริญถึงระยะแตกตัวไม่พร้อมกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากได้รับเชื้อจากตับในเวลาต่างกัน ทำให้เกิดมีเชื้อหลายระยะ ดังนั้นการแตกของเม็ดเลือดแดงจึงไม่พร้อมกัน ทำให้ผู้ป่วยมาลาเรียในระยะแรกอาจมีไข้สูงลอยตลอดวันได้ แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งแล้วการแตกของเม็ดเลือดแดงพร้อมกัน จึงเห็นผู้ป่วยมีการจับไข้หนาวสั่นเป็นเวลาแยกได้ชัดเจนตามชนิดของเชื้อมาลาเรีย
    • พลาสโมเดียม ฟัสซิพารัม ใช้เวลาในการแบ่งตัว 42-48  ชั่วโมง จึงทำให้เกิดไข้ทุกวันที่ 3
    • เชื้อพลาสโมเดียมไวแวกซ์ และโอวัลเล่ ใช้เวลาในการแบ่งตัว 48 ชั่วโมง จึงทำให้เกิดไข้ทุกวันที่ 3
    • พลาสโมเดียม มาลาริอี ใช้เวลา 72 ชั่วโมง อาการไข้จึงเกิดทุกวันที่ 4
    • พลาสโมเดียม โนวไซ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง อาการไข้จึงเกิดทุกวัน
    ภายหลังที่เป็นมาลาเรียได้ระยะหนึ่ง จะตรวจพบว่าผู้ป่วยซีด บางคนมีตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต บางรายกดเจ็บ ถ้าเม็ดเลือดแดงแตกมากๆ จะพบว่าผู้ป่วยมีปัสสาวะดำ
    malaria2malaria3

    อาการแสดงเฉพาะโรคมาลาเรียที่เกิดจากเชื้อชนิดต่างๆ

    • เชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม เป็นมาลาเรียชนิดที่รุนแรงและเป็นอันตรายมากที่สุด ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้เข้าไปและไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการรุนแรงเกิดเป็นมาลาเรียขึ้นสมองได้ เนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อเกาะติดกับเซลล์บุเลือดฝอยร่วมกับผลการตอบสนองของร่างกายของผู้ป่วยต่อเชื้อ แต่ถ้าได้รับการรักษาและหายจากโรคแล้วมักจะหายเป็นปกติ ไม่มีอาการอื่นหลงเหลืออีกเลย  แต่ผู้ป่วยติดเชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม มักเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้บ่อย เช่น เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดภาวะความเป็นกรดเกิน (metabolic acidosis) และเสียชีวิตจากปอดบวมน้ำ หรือไตวายได้ ผู้ป่วยด้วยเชื้อนี้ในระยะแรกของโรคจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องหรือท้องเดิน บางคนอาจมีไอหรือลักษณะคล้ายไข้หวัดได้ใน 4-5 วันแรกของโรค ไข้จะสูงลอยตลอดเวลา เนื่องจากการแตกของเม็ดเลือดแดงแต่ละชุดไม่พร้อมกัน แต่หลังจากเชื้อมาลาเรียเจริญอยู่ในระยะเดียวกันแล้ว เม็ดเลือดแดงจะแตกพร้อมกันทุก 42-48 ชั่วโมง  ผู้ป่วยอาจซีดและเหลือง ตับม้ามโต
    • พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ เป็นมาลาเรียชนิดที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นไวแวกซ์มาลาเรียมักจะไม่เสียชีวิต แต่ผู้ป่วยจะเป็นโรคซ้ำอีก อาการของผู้ป่วยพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ จะมีลักษณะคล้ายกับพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัมมาลาเรีย แต่จะพบหนาวสั่นได้บ่อยกว่า และขณะเกิดหนาวสั่น มักมีอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อมาก ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอาการไข้จะค่อยๆ ทุเลาและหายได้ แต่จะเป็นซ้ำได้อีก ภายใน 2 ปี นานที่สุด 8 ปี เนื่องจากมีระยะฮิบโนซอยต์ซ่อนอยู่ในเซลล์ตับ
    • พลาสโมเดียม โอวาเล่ อาการทางคลินิกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดโอวัลเล่ จะมีลักษณะคล้ายกับการติดเชื้อ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ แต่จะมีอาการน้อยกว่า และมีเชื้อกลับเป็นซ้ำน้อยกว่า ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการไข้จะทุเลาและหายไปได้เอง แต่เป็นซ้ำได้อีกภายใน 1 ปี นานที่สุดถึง 5-8 ปี เนื่องจากมีระยะฮิบโนซอยต์ซ่อนอยู่ในเซลล์ตับ
    • พลาสโมเดียม มาลาริอี่ จะทำให้เกิดมีไข้หนาวสั่นวันเว้น 3 วัน คือมีไข้วันที่ 1 แล้วสบายอยู่ 3 วัน วันที่ 4 ผู้ป่วยมักไม่มีอาการรุนแรง และกว่าจะเกิดอาการไข้ อาจใช้เวลานานเป็นปี เชื้อพลาสโมเดียม มาลาริอี อยู่ในคนโดยมีจำนวนน้อยมากๆในกระแสเลือดได้เป็นเวลานานหลายปี มีรายงานว่านานถึง 53 ปี เชื้อนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดกลุ่มอาการโรคไต (nephrotic syndrome) ได้
    • พลาสโมเดียม โนวไซ  อาการของโรค ในระยะแรกไม่มีลักษณะจำเพาะคือ มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ท้องเดิน เนื่องจากเชื้อตัวนี้มีรอบของการแบ่งตัวสั้นที่สุดในบรรดาเชื้อมาลาเรียทั้งหมด คือ ใช้เวลาแบ่งตัว 1 รอบ เพียง 24 ชั่วโมง  ทำให้จำนวนเชื้อในเลือดมีจำนวนมาก (hyper-parasitaemia) ซึ่งอาจทำให้ตายหรือมีภาวะแทรกซ้อน โดยอาการทางคลินิกคล้ายกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิปารัม ส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกเชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียม โนวไซ ออกจากเชื้อพลาสโมเดียม มาลาริอีได้ เนื่องจากรูปร่างในระยะต่าง ๆ คล้ายกันมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมาลาเรียชนิดมาลาริอีแต่ทีพบความหนาแน่นของเชื้อสูง ให้นึกถึงการติดเชื้อ พลาสโมเดียม โนวไซ ไว้ด้วย และต้องรีบให้การรักษาก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการแทรกซ้อนที่ยากต่อการรักษาได้ การตรวจด้วยวิธี พีซีอาร์ (PCR) หรือวิธีทางอิมมูโนวิทยาสามารถแยกเชื้ออกจากกันได้แต่จะใช้เวลาและต้องการเครื่องมือที่มีราคาสูง

    การติดเชื้อผสม (mixed infections)

    การติดเชื้อผสมที่พบได้บ่อยที่สุด คือเชื้อพลาสโมเดียม  ฟัลซิพารัม และ พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์  รายงานจากการตรวจเลือดผู้ป่วยทั่วประเทศไทยพบการติดเชื้อผสมของ พลาสโมเดียม ฟัสซิพารัม กับ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ โดยในระยะแรกพบเพียงร้อยละ 0.5 แต่รายงานจากโรงพยาบาลที่มีการติดตามผู้ป่วยติดเชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม ภายหลังการรักษานานถึง 2 เดือน พบว่ามีอัตราการเป็นพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ สูงถึงร้อยละ 33 แสดงได้ว่าในระยะแรกอัตราการได้รับเชื้อผสม 2 ชนิด เกิดได้บ่อย แต่ตรวจไม่พบหรือตรวจแยกชนิดของมาลาเรียได้ยาก ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษามาลาเรียเพียงชนิดเดียว คือ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม แต่ภายหลังจึงพบว่าเป็นมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ตามมาในอัตราที่สูง

    การติดต่อของโรคมาลาเรีย

    1. ติดต่อโดยถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อระยะติดต่อกัด (mosquito biting) และปล่อยสปอโรซอยต์เข้าสู่กระแสเลือดคน เชื้อจะไปที่ตับก่อนเข้าสู่เม็ดเลือดแดง วิธีนี้เป็นวิธีธรรมชาติที่พบได้มากที่สุด
    2. ติดต่อจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์(congenital malaria) เด็กแรกเกิดได้รับเชื้อมาจากมารดาโดยตรงในขณะตั้งครรภ์ เชื่อว่าผ่านทางรกขณะแยกตัวออกจากมดลูก ระหว่างคลอด  เชื้อมาลาเรียที่พบเป็นเชื้อพบคือ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม และ พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ แต่จากรายงานพบว่าส่วนใหญ่เป็นพลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ อาการจะเกิดหลังจากคลอด ประมาณ 1 ถึง 3 สัปดาห์ โดยทารกแรกเกิดจะ มีไข้ ตับ ม้าม โต ซีด ตัวเหลือง ซึม ร้องกวนโยเย ไม่ดูดมม และอาเจียน การติดต่อวิธีนี้มักพบได้ในท้องที่ที่มีมาลาเรียชุกชุม กรณีเช่นนี้เชื้อจากเข้าสู่เม็ดแดงของแม่จะเข้าสู่เม็ดแดงของของลูกโดยไม่ผ่านตับ อาการจะเกิดหลังจากคลอด ประมาณ 1 ถึง 3 สัปดาห์  เชื้อมาลาเรียที่พบในทารกแรกเกิดและมารดาจะเป็นเชื้อชนิดเดียวกัน
    3. ติดต่อจากการถ่ายเลือด (blood transfusion) จะพบในรายที่ผู้บริจาคโลหิตมีความหนาแน่นของเชื้อมาลาเรียในกระแสเลือดต่ำมากและไม่มีอาการ หากไม่ได้ทำการตรวจหาเชื้อมาลาเรียในเลือดของผู้บริจาคก่อนที่ผู้ป่วยที่จะรับการถ่ายเลือด ผู้ที่ได้รับเลือดจะป่วยเป็นมาลาเรียได้ โดยเชื้อจะเข้าสู่เม็ดแดงโดยไม่ผ่านตับ
    4. ติดต่อจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน (sharing syringe) มักพบในกลุ่มคนที่ติดเสพติด โดยใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน โดยเชื้อจะเข้าสู่เม็ดเลือดแดงโดยไม่ผ่านตับ และเป็นเชื้อชนิดเดียวกัน
    5. ติดต่อจากการรับการปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplantation) เช่น การปลูกถ่ายตับ วิธีนี้พบได้น้อยมาก
    เนื่องจากถิ่นกำเนิดของยุงก้นปล่องนั้นอยู่ในป่า จึงพบผู้ป่วยในจังหวัดดังกล่าวข้างต้นมาก รวมทั้งคนที่เดินทางเข้าไปในป่าก็มีโอกาสได้รับเชื้อจากการถูกยุงกัด แต่ไม่ใช่ว่าคนที่ไม่ได้เข้าป่าจะไม่มีโอกาสเป็นโรคมาลาเรีย เพราะมีรายงานผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในเมืองหรือแม้แต่ประเทศในเขตหนาว ทั้งนี้ เชื่อว่า ยุงที่เป็นพาหะ อาจเกาะติดมากับยานพาหนะ ที่เข้าไปในป่า เช่น รถยนต์ รถทัวร์ท่องเที่ยว รวมทั้งเครื่องบินที่ไปแวะจอดในที่ที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรียและยุงติดเชื้อติดไปกับเครื่องบิน (10)

    การป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย

    การป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้ติดเชื้อมาลาเรียเมื่อจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่แหล่งระบาดของมาลาเรีย และลดการแพร่เชื้อมาลาเรียจากผู้ที่ป่วยเป็นไข้มาลาเรียไปยังบุคคลอื่น มีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
    1. สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ
    2. ทายากันยุง  ทุกๆ 4 ชั่วโมง
    3. นอนในมุ้ง (ถ้าใช้มุ้งชุบน้ำยา จะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน)
    4. ถ้านอนในห้องที่มีมุ้งลวด ควรพ่นยากันยุงก่อน

    ควรกินยาป้องก้นเมื่อต้องเดินทางเข้าป่าหรือไม่ ?

    การกินยาก่อนเข้าแหล่งระบาดมาลาเรีย ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคมาลาเรียแต่อย่างใด เนื่องจากเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยดื้อต่อยาหลายขนาน ทำให้ไม่มียาที่มีประสิทธิภาพสูง มีฤทธิ์ข้างเคียงน้อยและเหมาะสมที่จะใช้เป็นยารับประทานป้องกันมาลาเรียสำหรับประชาชนทั่วไป การกินยาเป็นเพียงแต่กดอาการไว้เท่านั้น เมื่อหยุดกินยาเชื้อจะออกมาในกระแสเลือดและเกิดอาการของโรคได้อีก ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้กินยาป้องกันแต่ให้เน้นมาตรการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัดด้วยวิธีต่างๆดังข้างต้น และควรจะรีบเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียเมื่อมีอาการไข้หรืออาการอื่นที่สงสัยว่าอาจเป็นไข้มาลาเรียภายใน7-14วัน หรือภายใน1-2เดือนหลังจากเดินทางออกจากแหล่งระบาด
    ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปอยู่หรือต้องเข้าไปทำงานในบริเวณแหล่งระบาดนั้นๆเป็นเวลานาน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อสูง อาจต้องกินยาป้องกัน แต่ไม่รับรองผลการป้องกัน 100 % โดยเลือกกินยาเพียงชนิดใดเพียงชนิดหนึ่ง ดังนี้
    1. ยาเมโฟลควิน (mefloquine) เม็ดละ 250 มิลลิกรัม กินสัปดาห์ละ 1 เม็ด โดยเริ่มกิน 1 สัปดาห์ก่อนจะเดินทางและกินติดต่อกันไปเรื่อย ๆ ทุกสัปดาห์ จนกระทั่งเดินทางกลับมาอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์
    2. ยาดอกซี่ไซคลิน (doxycycline) เม็ดละ 100 มิลลิกรัม กินวันละ 1 เม็ด เริ่มกิน 3-5 วันก่อนเดินทาง กินติดต่อกันทุกวัน จนกระทั่งเดินทางออกมาอย่างน้อย 2 สัปดาห์

    เหตุผลที่ไม่ควรกินยาป้องกันโรคมาลาเรีย

    1. ความเสี่ยงในการติดเชื้อมาลาเรียจากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยมีน้อยมาก ความชุกของมาลาเรียในประเทศไทยน้อยลงมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยแล้ว โอกาสติดน้อยมาก คือนักท่องเที่ยว 10,000 คน จะติดเพียง 1 คน เท่านั้น
    2. ปัจจุบันในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน พบปัญหาการดื้อยามาลาเรียมาก ทำให้การกินยาป้องกันมาลาเรีย ไม่สามารถป้องกันได้ 100 % และการกินยาอาจทำให้อาการของโรคมาลาเรียไม่ชัดเจน และทำให้เกิดปัญหาดื้อยาอย่างมากในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นคนกินยาเองอาจจะเชื่อมั่นผิดๆว่ากินยาแล้วไม่เป็นมาลาเรียเลยไม่ไปพบหมอ ทำให้การวินิจฉัยและการรักษายุ่งยากมากขึ้น  ซึ่งอาจเสียชีวิตได้
    3. ถ้าจะกินยาป้องกันมาลาเรียจริงๆ ต้องกินยาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นยาเมโฟลควิน (mefloquine) หรือ ด๊อกซี่ไซคลิน (doxycycline) ต้องกินหลังจากออกจากป่าอีกประมาณ 1 เดือน คนที่ไปเที่ยวป่า เช่นเขาใหญ่ก็ประมาณ 3-4 วัน หรือไม่เกินหนึ่งสัปดาห์  แต่ต้องกินยาป้องกันมาลาเรียเป็นเดือน จึงมีน้อยคนที่จะกินยาต่อโดยไม่มีอาการ ซึ่งจะก่อให้เชื้อพัฒนาการดื้อยานั้นๆในอนาคต นอกจากนื้ยังมีโอกาสเแพ้ยาหรือเกิดผลข้างเคียงได้
    4. ปัจจุบันในประเทศไทยมีการบริการด้านสาธารณสุขเป็นอย่างดี มีคลินิกมาลาเรียกระจายอยู่ในแหล่วระบาดทั่วประเทศ มีโรงพยาบาลและสถานีอนามัยอยู่ทั่วไป อีกทั้งการคมนาคมก็ดีขึ้นมาก  เวลามีอาการไข้เกิดขึ้น ก็สามารถไปหาหมอได้ทัน ทำให้วินิจฉัยและรักษาได้ทันการ
    จากเหตุผลหลักๆทั้ง 4 ข้อ ทำให้ ไม่แนะนำให้กินยาป้องกันมาลาเรียในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย  แต่ถ้าต้องเดินทางไปประเทศอื่นที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ประเทศแถบแอฟริกา ปาบัวนิกีนี ฯลฯ ควรต้องมาพบแพทย์เพื่อพิจารณากินยาป้องกันชนิดที่เหมาะสม

    การรักษา  

    การรักษามาลาเรีย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
    1. การรักษาจำเพาะ คือการให้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรียที่เป็นระยะไร้เพศในเม็ดเลือดแดง การเลือกชนิดของยารักษา ควรพิจารณาประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย เนื่องจากการดื้อยาของเชื้อมาลาเรียในพื้นที่ต่างๆมีความแตกต่างกัน
    2. ถ้าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ หรือพลาสโมเดียม โอวาเล่ ต้องได้รับยาฆ่าระยะฮิบโนซอยต์ด้วย เพื่อการรักษาหายขาด
    3. การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อน คือ การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยยังมีเชื้อมาลาเรีย หรือภายหลังที่เชื้อมาลาเรียหมดแล้ว   โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเชื้อพลาสโมเดียม  ฟัลซิพารัม ถ้าได้รับการรักษาช้าไป จะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าชนิดอื่นๆ
    4. การป้องกันการแพร่โรค คือ การใช้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรียระยะติดต่อไปสู่ยุง คือระยะแกมมีโตไซต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่อยู่ในท้องที่ที่มียุงพาหะ
    ข้อพึงจำไว้เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อมาลาเรียเมื่อเข้าไปในเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย
    1. อย่าให้ยุงกัด
    2. ไม่กินยาป้องกัน
    3. กลับออกมาจากแหล่งระบาดหรือในพื้นที่มี่คนเคยติดเชื้อมาลาเรียแล้ว เกิดมีอาการไข้  ปวดศีรษะ ห้ามซื้อยารับประทานเองให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจติดเชื้อมาลาเรีย ควรไปพบแพทย์ เจาะเลือดจากปลายนื้วเพื่อตรวจหาเชื้อและจำแนกชนิดของเชื้อ(เนื่องจากใช้ยาต่างชนิดกัน) เพื่อที่จะได้รับการรักษาด้วยยาที่ถูกต้องเหมาะสมและทันท่วงที  แม้ว่าผลการตรวจครั้งแรกจะให้ผลลบต่อเชื้อมาลาเรีย แต่ถ้ามีอาการดังกล่าวขึ้นภายในเวลา 1-2 เดือน และอาการที่เกิดขึ้นได้รับการวินิจฉัยแล้วไม่ได้มีสาเหตุจากเชื้ออื่นๆ ขอแนะนำให้ไปตรวจหาเชื้อมาลาเรียซ้ำอีกครั้ง
    malaria4รูปเชื้อมาลาเรีย P. faiciparumP. vivaxP. malariae , และ P. ovale  ตามลำดับ
    malaria5รูปเชื้อมาลาเรีย P. knowlesi

    Comment

    เรื่องเล่าโพสเมื่อ

    ขับเคลื่อนโดย Blogger.

    Popular Posts

    Contact Us

    ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
    Mail : mbkrattanakorn@gmail.com