แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มุมมอง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มุมมอง แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

ดีค่ะ วันนี้นั่งอ่านนิยายเพลินๆ ก็ไปเจอประโบคหนี่งที่กล่าวเกี่ยวกับการคุมกำเนิดในเพศชาย นอกจากใส่ถุงยางแล้ว ยังมีวิธีอื่นอีกหรือ?? เลยลองค้นดูในกลูเกิ้ลก็พบวิธีนั้นมีอยู่จริง แต่ก็มีผลค้างเคียงนะคะ ลองอ่านดู




เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวฮือฮาในวงการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการทำยาเม็ดคุมกำเนิด และตื่นเต้นไปทั่วโลก ที่ทราบว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือจีนแดง ประสบความสำเร็จครั้งแรกของโลกในการผลิตยาเม็ดแบบรับประทานได้สำหรับคุมกำเนิดในผู้ชายได้ ยาเม็ดชนิดนี้ไม่เคยมีมาก่อน มีแต่ยาเม็ดคุมกำเนิดในเพศหญิงเท่านั้น และที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้น ยาคุมกำเนิดนี้ได้มาจากสมุนไพร คือ เมล็ดฝ้าย หาได้ง่ายๆ และเป็นวัสดุที่คนไม่ค่อยคิดถึงประโยชน์เท่าใดนัก เพียงแต่นำมาสะกัดเอาน้ำมันมาปรุงอาหารเท่านั้นเอง

ในการค้นคว้ายาคุมกำเนิดกันอย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อประมาณ ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา (ปี ค.ศ. ๑๙๕๐) มีหมอจีนคนหนึ่งค้นพบยาคุมกำเนิดนี้โดยบังเอิญ เนื่องจากหมอจีนคนนี้ได้ทำการรักษาคนป่วยในเจียงสู ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของจีน เขาได้สังเกตปรากฏการณ์อย่างน่าสนใจมาก พบว่าผู้หญิงผู้ชายที่อยู่ในจังหวัดนี้แต่งงานกันจะเป็นหมันหมด ไม่มีลูก และผู้ที่เป็นหมันมักมีนิสัยชอบใช้น้ำมันจากเมล็ดฝ้ายมาปรุงอาหารกินเสมอ หมอจีนผู้นี้จึงตั้งข้อสงสัยว่า อาหารที่มีน้ำมันเมล็ดฝ้ายอาจเป็นสาเหตุของการเป็นหมันก็ได้

ข้อสงสัยของหมอในเจียงสูก็ได้รับการยืนยันจากหมออีกหลายท่านในฮูไปว่า น้ำมันจากเมล็ดฝ้ายนั้นอาจเป็นสาเหตุของการเป็นหมันจริง โดยเขาได้สังเกตเพิ่มเติมว่า หญิงสาวที่มาจากครอบครัวที่ใช้นํ้ามันเมล็ดฝ้ายปรุงอาหารมาตลอด แต่งงานกับชายในจังหวัดอื่นที่ไม่ได้บริโภคนํ้ามันจากเมล็ดฝ้ายสามารถมีลูกได้อัตราปกติ ส่วนหญิงสาวกับชายหนุ่มในหมู่บ้านเดียวกันแต่งงานกันจะเป็นหมันเสมอ พอนักวิทยาศาสตร์จีนได้พบรายงานนี้ก็ทำให้เขาตื่นตัว ร่วมมือกันทำการวิจัยทดลองเมล็ดฝ้ายนี้เป็นการใหญ่ ซึ่งเขาคาดว่าถ้าเป็นจริงอย่างรายงานเขา ก็จะหาหนทางที่จะนำสารสกัดจากเมล็ดฝ้ายมาเป็นยาคุมกำเนิด โดยเขาเริ่มทำการวิจัยเป็นลำดับ ขั้นต้นนี้คือ สะกัดแยกสารออกเป็นส่วนๆ ทำให้บริสุทธิ์ ทดลองในสัตว์ทดลองเช่น หนู คน อาสาสมัคร เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและผลภัยที่อาจเกิดขึ้นได้

ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ เขาก็สามารถแยกสารชนิดหนึ่งออกมาได้ เป็นสารบริสุทธิ์สีเหลือง ไม่มีรส เขาให้ชื่อว่า ก๊อสซี่พอล (gossypol มาจาก Gossypol เป็นชื่อของฝ้าย) สารนี้ได้มาจากน้ำมันดิบจากเมล็ดฝ้าย และอาจได้จากส่วนอื่นๆ เช่น ราก ลำต้นของฝ้าย

ในปีเดียวกันนี้เอง (๑๙๗๑) นักวิทยาศาสตร์ของภาควิชาเภสัชวิทยาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน นำเอากอสสิปอล หรือ กอสสิปอลแอ ซิเตท หรือกอสสิปอลฟอมเมท มาทำเป็นยาเม็ดทดลองในสัตว์ทดลอง เช่น หนู โดยเขาให้หนูตัวผู้กินสารกอสซิปอลขนาด 15-60 mg./วัน เป็นเวลานาน ๒-๔ สัปดาห์ (จะเป็นหมันเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับขนาดของกอสซิปอลที่ให้กิน ) แล้วนำหนูเหล่านีไปใส่ไว้ในกรงเดียวกับตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ เปรียบเทียบกับหนูที่ไม่ได้กินยานี้ แล้วให้อยู่ในสภาวะเดียวกัน หนูที่กินสารกอสซิปอลคู่ของมันจะไม่ตั้งท้องมีลูกเลย ในขณะที่หนูตัวอื่นที่ผสมพันธุ์ กับหนูที่ไม่ได้กินสารนี้มีลูกเป็นครอกๆ ละ ๗- ๘ ตัว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองทั้งหลายต่างดีใจที่ได้ผลการทดลองในหนูเช่นนี้ จึงทำให้นึกถึงในคนก็คงจะได้ผลเช่นเดียวกัน

นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมิหยุดอยู่แค่นี้ เขาพยายามที่จะทราบต่อไปว่าสารกอสซิปอลนี้ มีผลต่ออวัยวะเพศของตัวผู้จนทำให้เป็นหมันโดยไม่ต้องตอน โดยการเอาหนูที่เป็นหมันนั้นมาผ่าดูลักษณะภายในถุงอัณฑะ พบว่าเชื้ออสุจินอนตายเต็มไปหมด เชื้ออสุจิบางตัวยังมีชีวิตอยู่ ก็มีลักษณะพิกลพิการ หางขาดหัวขาดไม่สมประกอบ ทำให้ไม่มีเชื้ออสุจิสามารถว่ายน้ำไปยังรังไข่ได้เลย

เขาทดลองต่อไปว่า ถ้าหยุดยากอสซิปอลจะมีผลอย่างไรบ้าง โดยเขาให้หนูตัวผู้ ดังกล่าวหยุดกินยาประมาณ ๓-๕ สัปดาห์ แล้วนำมาผสมพันธุ์ใหม่ ปรากฏว่าหนูตัวเมียที่ถูกผสมมีลูกออกมาได้อย่างปกติ แสดงว่าความเป็นหมันในหนูตัวผู้นี้เป็นแบบชั่วคราว เมื่อหยุดยาแล้วร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวคืนสู่สภาพเดิมของร่างกายได้ เมื่อตรวจดูเชื้ออสุจิพบว่าเชื้ออสุจิที่เกิดใหม่ก็ยังมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เป็นปกติเหมือนเชื้ออสุจิทั่วๆ ไป และลูกหนูก็ได้นำมาผสมพันธุ์ ก็ได้ลูกหนูครอกต่อๆ มาในสภาพที่ปกติทุกประการ ไม่มีการผิดปกติทางกรรมพันธุ์ใดๆ ทั้งสิ้น และไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ ในหนูที่กินยากอสซิปอล แม้จะกินยาวันละ 75 mg. นานถึงหนึ่งปีก็ตาม จะไม่มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นเลย ฉะนั้น จึงเป็นที่ยอมรับว่าสารก๊อสซิปอลนี้สามารถทำลายเชื้ออสุจิได้ และฤทธิ์ของยานี้มีชั่วคราว และเชื้ออสุจิที่เกิดใหม่ ก็ไม่รับผลกระทบกระเทือนจากการทานยานเลย

การทดลองของเขามิได้หยุดอยู่แต่การสรุปผลในสัตว์ทดลองเท่านั้น เขาได้นำมาทดลองในผู้ชายอาสาสมัคร โดยเริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นี้เอง ชายอาสาสมัครต้องมีสุขภาพ แข็งแรง สมบูรณ์ อายุ ๓๐-๔๙ ปี เคยมีลูกมาแล้วอย่างน้อย ๑ คน และจะเอามาจากอาชีพต่างกัน เช่น ชาวนา คนงาน กรรมกร ทหาร นักวิชาการ และแพทย์ ในจำนวนชายอาสาสมัครมากกว่าหมื่นกว่าคนจากจังหวัดต่างๆ ให้อาสาสมัครทุกคนรับยาก๊อสซิปอลนี้ วันละ 20 mg. จากการดูผลมาเปนเวลากว่า ๔ ปี พอสรุปได้วาอาสาสมัครจะเริ่มเป็นหมันเมื่อกินยาติดต่อกัน ๒ เดือน จากการตรวจดูเชื้ออสุจิก็พบว่าเชื้อส่วนมากตายหรือก็ลดจำนวนลงทำให้มีเชื้ออสุจิไม่เกิน ๔ ล้านตัว ในชายอาสาสมัครบางคนต้องการระยะเวลาในการกินยาก๊อสซิปอลนานกว่า จึงจะเกิดภาวะการเป็นหมันได้ จากการทดลองได้ผล ๙๙.๘๙% หลังจากเป็นหมันแล้ว ถ้าต้องการภาวะการเป็นหมันไปเรื่อย ให้กินยาก๊อสซิปอลนี้ประมาณ 5 – 7mg. /วัน (150 – 220 mg. /เดือน) ถ้าต้องการให้มีลูกได้อีกก็หยุดกินยาเป็นเวลา ๓ เดือน ร่างกายจึงจะปรับตัวกลับเข้าสู่สภาพการผลิตเชื้ออสุจิได้อีกตามปกติมีลูกได้อีก ชายอาสาสมัครที่ทดลองยาก๊อสซิปอล จะมีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์เป็นชายชาติอาชาไนยเหมือนเดิม

หมายเหตุ มีชายอาสาสมัคร ๒-๓ คน ที่หยุดยาแล้วยังไม่ยอมสร้างเชื้ออสุจิจนกว่าจะครบ ๑ ปี

อาจจะเป็นเพราะความคงตัวของยาก๊อสซิปอลนี้ค่อนข้างสูง มีการสลายตัวน้อยมาก ในทางเดินอาหาร ดูดซึมค่อนข้างช้า การขับออกจากร่างกายก็ช้าด้วย ใช้เวลา ๑๙ วัน จึงจะขับออกจากร่างกาย ๙๗.๒๔% ของทั้งหมด เป็นยาที่อยู่ในร่างกายนาน ถ้ากินยานี้ติดต่อกันนานๆ ยานี้จะสะสมอยู่ในร่างกายมาก กระจายไปอยู่ในอวัยวะต่างๆ คือ สะสมที่ตับมากที่สุด ที่ปอด หัวใจ ไต เลือด และในไขมัน แต่ไม่พบยานี้ในสมองเลย ส่วนในถุงอัณฑะจะมี การสะสมยานี้น้อยใน ๒ วันแรก และเพิ่มจนถึงขีดสูงสุดในวันที่ ๙ ของการกินยานี้ ยานี้สามารถขับออกได้ทางอุจจาระมากที่สุด และขับออกบ้างทางปัสสาวะ และปอด

ปฏิกริยาข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนของยานี้ จะเกิดขึ้นในวันแรกๆ ของการกินยานี้ คือ

มีอาการอ่อนเพลียชั่วคราว              ๑๒.๘% ของผู้ทดลอง

มีอาการเบื่ออาหาร                          ๒.๐% ของผู้ทดลอง

มีอาการอยากอาหารเพิ่มขึ้น            ๓.๐% ของผู้ทดลอง

มีอาการคลื่นไส้                               ๑.๐% ของผู้ทดลอง

มีความรู้สึกทางเพศลดลง               ๖.๐% ของผู้ทดลอง

มีปริมาณของโปตัสเซี่ยมในเลือดลดลง ๑.๐% ของผู้ทดลอง จึงทำให้มีอาการอ่อนเพลียนานกว่าเดิมมาก ฉะนั้นหมอจึง

แนะนำให้กิน KCI ควบคู่ ไปกับยานี้เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน

ถึงแม้จะทำการทดลองยาเม็ดคุมกำเนิดจากเมล็ดฝ้าย สำหรับเพศชายมาถึงขั้นนี้แล้วก็ตาม การทดลองวิจัยยังคงมีต่อไปอีกจนกว่าเราจะมีความมั่นใจว่าปลอดภัยและเชื่อถือได้

มีข่าวว่ายาก๊อสซิปอลนี้ผู้หญิงกินได้

ผลการวิจยยาเม็ดคุมกำเนิดจากเมล็ดฝ้ายนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่มนุษย์รู้จักเอาพืชสมุนไพรมาทำให้เป็นประโยชน์อย่างถูกต้องในทางการแพทย์ได้สำเร็จ

พืชสมุนไพรยังมีอีกมากมายในบ้านเราที่ยังรอความหวังจากนักวิจัยที่จะเอามาทดลองดูว่ามีคุณค่าหรือประโยชน์ทางยาเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังให้มากที่สุดต่อไป

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สวัสดีค่ะ

     ช่วงนี้ใกล้ปีใหม่แล้ว ใครรู้บ้างว่าปีหน้านักษัตรอะไร

   


        ปีนักษัตร หรือ นักขัต เป็นปีตามปฏิทินสุริยคติไทยและชาติอื่นในเอเชีย เป็นต้นว่า จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น แบ่งเป็นรอบปี รอบละสิบสองปี แต่ละปีกำหนดสัตว์เรียกเป็นชื่อเรียงกันไปดังนี้
        ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ และ กุน

ปีนักษัตรจะมีสัตว์ประจำปี (อันเป็นความหมายของชื่อปีนั้น ๆ นั่นเอง) สัตว์ประจำปีนักษัตรที่นิยมใช้ในหมู่ชาวไทย มีดังนี้


สำหรับปีกุนนั้น บางชาติใช้ช้างแทนสุกร เช่น ภาคเหนือของไทย
สำหรับปีเถาะนั้น บางชาติใช้แมวแทนกระต่าย เช่น เวียดนาม
สำหรับปีฉลูนั้น บางชาติใช้กระบือแทนวัว เช่น เวียดนาม
สำหรับปีมะโรง บางชาติใช้มังกรหรือพญานาคแทนงูใหญ่ เช่น ไทย
สำหรับปีมะแมนั้น บางชาติใช้แกะแทนแพะ เช่น ญี่ปุ่น

ปีนักษัตรในภาษาต่าง ๆ


ที่มา : Wikipedia
สีสันนำโชคตาม 12 ปีนักษัตร
ปีเกิดทั้ง 12 ปีนักษัตร มีพื้นฐานดวงชะตาที่ต่างกัน ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยเสริมดวงชะตาก็ย่อมต่างกันออกไปด้วย โดยเฉพาะสีสัน ถือเป็นสิ่งที่สามารถหยิบจับมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนำสีสันมาใช้ในเรื่องของการแต่งกาย เลือกเลือกเสื้อผ้า สีรถ ของใช้ส่วนตัวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และนอกจากนี้ผู้ชาย ผู้หญิง ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปอีก




ปีชวด :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีฟ้า
หญิง สีนำโชค สีเขียวและสีม่วง
ปีฉลู :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีขาว
หญิง สีนำโชค สีชมพูและสีแดง
ปีขาล :
ชาย สีนำโชค สีขาวและสีเหลือง
หญิง สีนำโชค สีม่วงและสีน้ำตาล
ปีเถาะ :
ชาย สีนำโชค สีเขียวอ่อนและสีฟ้าอ่อน
หญิง สีนำโชค สีเหลืองและสีม่วง
ปีมะโรง :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีเทา
หญิง สีนำโชค สีส้มและสีแดง
ปีมะเส็ง :
ชาย สีนำโชค สีขาวและสีครีม
หญิง สีนำโชค สีเทาและสีฟ้า
ปีมะเมีย :
ชาย สีนำโชค สีขาวและสีครีม
หญิง สีนำโชค สีเขียวและสีฟ้า
ปีมะแม :
ชาย สีนำโชค สีฟ้าและสีเขียวอ่อน
หญิง สีนำโชค สีเหลืองและสีส้ม
ปีวอก :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีเหลืองอ่อน
หญิง สีนำโชค สีแดงและสีชมพู
ปีระกา :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีขาว
หญิง สีนำโชค สีเหลืองและสีน้ำตาล
ปีจอ :
ชาย สีนำโชค สีเหลืองอ่อนและสีเทา
หญิง สีนำโชค สีน้ำตาลกับสีส้ม
ปีกุน :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีเหลืองอ่อน
หญิง สีนำโชค สีชมพูกับสีส้ม

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558


คติเตือนใจวันนี้


在生之时不敬重,死后空劳拜孤坟。

(Zài shēng zhī shí bù jìngzhòng, sǐ hòu kōng láo bài gū fén.)

เมื่อพ่อมียังมีชีวิตอยู่ ไม่รักเคารพพวกท่าน
เมื่อพวกท่านตาย ไหว้สุสานก็เปล่าประโยชน์



วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)                                                         




โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกมีเนื้อกระดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซี่ยมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุนทำให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย

ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกสันหลังให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1

ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน

กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการ

  • ความหนาแน่ของมาลกระดูกผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง
  • เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว

กระดูกพรุนคืออะไร

โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย และสามารถป้องกันได้

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน
หมายถึง ภาวะที่ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเร็วกว่าปกติ บางคนมีหลายปัจจัยเสี่ยง แต่บางคนก็ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
 
1.ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง

  • เพศหญิงจะมีการเกิดกระดูกพรุนมากและเร็วกว่าผู้ชายเพราะผู้หญิงวัยทองขาด estrogen ทำให้เกิดการละลายของกระดูกมากกว่าปกติ การรับประทานแคลเซี่ยมเป็นประจำช่วยลดอุบัติการณ์ของกระดูกหัก
  • อายุมากเกิดกระดูกพรุนได้มากกว่าอายุน้อย
  • ขนาดของร่างกาย ผู้ที่ผอมและตัวเล็กจะมีกระดูกพรุนได้ง่าย
  • เชื้อชาติ
  • ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเรื่องกระดูกพรุนจะเกิดโรคได้ง่าย

2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้

  • ฮอร์โมนเพศไม่ว่าหญิงหรือชายหากมีฮอร์โมนต่ำก็เกิดกระดูกจางได้
  • เบื่ออาหาร
  • อาหารที่รับประทานมีแคลเซียมต่ำ
  • ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น steroid หรือยากันชัก
  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรา

การประเมินความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคกระดูกโปร่งบาง กระดูกพรุนหรือไม่

การประเมินความเสี่ยงคะแนน
สุขภาพเป็นเช่นใด
  • ดี
  • ปานกลางลงมา
0
1
ผิวดำ-1
ประวัติแม่ พี่หรือน้องสาวกระดูกสะโพกหัก1
น้ำหนักลดลงเมื่อเทียบกับตอนอายุ 25 ปี1
สูงกว่า 165 ซม1
เป็นโรคสมองเสื่อม1
ได้รับยา steroid1
ได้รับยากันชัก1
ได้รับยากลุ่ม benzodiazepam เช่น valium1
ไม่ได้ออกกำลังกาย1
ต้องใช้แขนช่วยเวลาลุกจากเก้าอี้1
มีกระดูกหักเมื่ออายุมากกว่า 50ปี1
อายุมากกว่า 80 ปี1
วัยทองและไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน1
ยืนน้อยกว่าวันละ 4 ชั่วโมง1
หัวใจเต้นเกิน 80 ครั้งเวลานั่งเฉยๆ1
รวมคะแนน 
  คะแนน 0-2   ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนต่ำ
คะแนน 3-4  ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนปานกลาง
คะแนนมากกว่า 5  ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนสูง


การรักษาโรคกระดูกพรุน

ปัจจุบันแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนก่อนที่จะเกิดอาการ โดยการตรวจความเข็ม หรือความหนาแน่นของกระดูก Bone mineral density หรือ BMD การตรวจนี้ใช้แสงเอกซ์เรย์ปริมาณน้อยมากส่องตามจุดที่ต้องการ แล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหาความหนาแน่นของกระดูก เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐาน โดยการเปรียบเทียบกับมวลกระดูกของผู้หญิงอายุ 25 ปี หากมวลกระดูกคุณน้อยกว่า 2.5 เท่า standard deviation ของผู้หญิงอายุ 25 ปี แสดงว่าคุณเป็นโรคกระดูกพรุน osteoporosis หากเนื้อกระดูกคุณน้อยกว่าปกติแต่ไม่ถึง 2.5 เท่า standard deviation คุณเป็นคนที่เนื้อกระดูกน้อยกว่าปกติ Osteopenia ต้องมีการออกกำลังเพื่อสร้างมวลกระดูก และมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะเพศหญิงวัยทอง

  • Estrogen ต้องให้ร่วมกับยา Progestin ซึ่งจะพิจารณาให้ในรายที่ตัดรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี หรือผู้ที่หมดประจำเดือนอายุน้อย หรือประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือผู้ที่มีมวลกระดูกต่ำกว่าเกณฑ์
  • Raloxifene เป็นยาในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถเพิ่มระดับความแข็งของกระดูกได้ครึ่งหนึ่งของการใช้ฮอร์โมนทดแทน
  • Alendronate ยานี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสลายของกระดูก ควรรับประทานยานี้ขณะท้องว่าง และดื่มน้ำตาม และให้อยู่ในท่ายืน 30 นาที ยานี้อาจจะทำให้เกิออาการจุกเสียดท้องและหน้าอก ผู้ที่มีโรคไตควรปรึกษาแพทย์
  • Calcitonin เป็นฮอร์โมนใต้สมอง ได้จากการสกัดต่อมใต้สมองจากปลาทูน่า ใช้พ่นจมูก ยาตัวนี้ผลข้างเคียงต่ำ
  • Tamoxifen ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่ estrogen receptor กับบางอวัยวะเท่านั้น คือยากลุ่มนี้มีความจำเพาะสูงกว่าเอสโตรเจน ยากลุ่มนี้สามารถเพิ่มมวลกระดูก และลดอาการร้อนตามตัว
การป้องกันโรคกระดูกพรุน

การป้องกันที่ดีที่สุดต้องสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุน้อยกว่า 30 ปี หลายวิธีที่ป้องกันโรคกระดูกพรุน เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง โดยเฉพาะในวัยเด็ก หญิงมีครรภ์ หญิงที่กำลังให้นมบุตร ชายและหญิงวัยทอง อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซี่ยมได้แก่ นม นมพร่องมันเนย ผักใบเขียว ปลา กระดุด ถั่ว น้ำส้ม วัยทองควรจะได้รับแคลเซี่ยมอย่างน้อยวันละ 1500 มก ต่อวัน สำหรับวัยทองที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนควรจะได้รับแคลเซี่ยมวันละ 1000 มก ต่อวัน หากรับประทานวันละ 600 มก ต่อวันจะดูดซึมได้ดี เมื่อรับประทานแคลเซี่ยมจะต้องดื่มน้ำมากๆเพราะแคลเซี่ยมจะทำให้ท้องผูก ในวัยทองควรจะได้รับวิตามิน ดีเสริมวันละ 400 ยูนิตต่อวันเพื่อเพิ่มการดูดซึมของแคลเซี่ยม
แหล่งอาหารที่มีแคลเซี่ยม

ปริมาณแคลเซี่ยมในอาหาร
    ชนิดของอาหารปริมาณที่บริโภคแคลเซียม(มก.)
    นมสด รสจืด200 (1 กล่อง)230-292
    ปลาช้อนทะเลแห้งทอดครึ่งถ้วยตวง329
    กุ้งแห้งตัวเล็ก 1ช้อนโต๊ะ138
    เต้าหู้เขาอ่อน 1 ก้อน290
    คะน้าผัดครึ่งถ้วยตวง105
    ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวัน (mg/day)
    แรกคลอด-6 เดือน400
    6 เดือน-1 ปี600
    1-10 ปี800-1200
    11-241200-1500
    25-501000
    51-641000-1500
    มากกว่า65มากกว่า 1500
    คนท้อง1200-1500

  1. วิตามินดี ปกติคนเราสามารถสังเคราะห์วิตามิน ดีได้จากแสงอาทิตย์ แต่คนสูงอายุ หรือผู้ที่อยู่แต่ในบ้านจะขาดวิตามิน ดี วิตามิน ดี จะช่วยให้ลำไส้มีการดูดซึมแคลเซียม วันหนึ่งควรได้วิตามิน ดี 400-800 IU ให้ถูกแสงบริเวณมือ แขน ใบหน้าครั้งละ 10-15 นาทีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี การทาครีมกันแดดจะลดการสร้างวิตามินดี
  2. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้กระดูกแข็งแรง เช่น การเดิน การเดินขึ้นบันได กระโดดเชือก ยกน้ำหนัก การเต้นรำ ลองเริ่มต้นการออกกำลังกายวันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วันซึ่งนอกจากจะทำให้กระดูกแข็งแรงยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและป้องกันการหกล้ม การออกกำลังที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงคือ การออกกำลังชนิด weight bearing คือใช้น้ำหนักตัวเองช่วยในการออกกำลังกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นบันได การเต้นรำ การว่ายน้ำและการขี่จักรยานไม่จัดในการออกกำลังกายกลุ่มนี้ อีกชนิดหนึ่งคือการยกน้ำหนักเพื่อทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง
  3. การสูบบุหรี่จะทำให้ฮอร์โมน estrogen ต่ำเป็นผลทำให้กระดูกจาง
  4. การดื่มสุรา วันละ 120-180 มิลิเมตรจะทำให้กระดูกจางและหักง่าย
  5. หลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะจะทำให้เกิดกระดูกพรุน
  6. ยาบางชนิดหากรับประทานต่อเนื่องจะทำให้กระดูกจาง เช่น steroid phenyltoin [dilantin} barbiturate ,antacid ,thyroid HORMONE
  7. ยาป้องกันกระดูกจาง
  8. ไม่ควรดื่มชาหรือกาแฟมากกว่า 2 แก้วเพราะสาร caffeein จะเร่งการขับแคลเซียม
  9. การวัดความหนาแน่นของกระดูก
ข้อแนะนำเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ รักษาอย่างไร



ไฮโปไทรอยด์ คือ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) หรือบางคนเรียกว่า ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน คือภาวะที่เกิดจากร่างกายพร่องหรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง หรือไม่สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนได้ ซึ่งเมื่อเกิดจากตัวโรคของตัวต่อมไทรอยด์เองเรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ (Primary hypothyroidism) และเมื่อเกิดจากโรคของต่อมใต้สมอง หรือโรคของสมองไฮโปธาลามัสแล้วส่งผลกระทบมายังการทำงานของต่อมไทรอยด์  (Thyroid-stimulating hormone -TSH) เรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ (Secondary hypothyroidism) หรืออาจเกิดจากสมองส่วนไฮโปทาลามัสซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมใต้สมองอีกชั้นหนึ่งหลั่งฮอร์โมนกระตุ้น ( thyrotropin-releasing hormone-TRH) ไม่พอ ซึ่งเรียกไฮโปไทรอยด์ชนิดนี้ว่าเป็น Tertiary hypothyroidism
ในกรณีที่ต่อมใต้สมองต้องผลิตฮอร์โมนกระตุ้น ( TSH) มากกว่าผิดปกติแต่ยังจะพอทำให้ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มีจำนวนปกติอยู่ได้ เรียกภาวะนี้ว่าเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ที่ยังไม่มีอาการ (Subclinical hypothyroidism)
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อ ตั้งอยู่ด้านหน้าของลำคอ ในส่วนหน้าต่อลูกกระเดือก หรือกระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid cartilage) มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประกอบด้วย 2 กลีบใหญ่ คือ กลีบด้านซ้าย และกลีบด้านขวา ซึ่งทั้งสองกลีบเชื่อมต่อถึงกันด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus) ซึ่งต่อมไทรอยด์ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถคลำพบได้
ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือ ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyroxine, T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) และ แคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญน้อยกว่า ฮอร์โมน ที4 และ ที3 เป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง ไทรอยด์ฮอร์โมน จึงมักหมายความถึงเฉพาะฮอร์โมน ที4 และ ที3 เท่านั้น ฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 มีหน้าที่สำคัญมาก คือ ควบคุมดูแลการใช้พลังงานทั้งจากอาหาร และจากออกซิเจน หรือ ที่เรียกว่า เมตาโบลิซึม (Metabolism) ของเซลล์ต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต เพื่อการทำงาน และเพื่อการซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บสึกหรอ และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วย ส่วนฮอร์โมนแคลซิโทนิน มีหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่ทำงานโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) และของสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus เป็นสมองส่วนหนึ่งของสมองใหญ่/Cerebrumโดยอยู่ในส่วนลึกกลางสมองใหญ่) ซึ่งทั้งต่อมใต้สมอง และสมองไฮโปธาลามัส ยังควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆด้วย เช่น ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ และยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ และจิตใจ ดังนั้น การทำงานของต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรค หรือ ภาวะผิดปกติต่างๆของต่อมไทรอยด์ จึงสัมพันธ์กับการทำงาน และโรคต่างๆของอวัยวะเหล่านั้น รวมถึงความสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นภาวะพบได้บ่อยภาวะหนึ่ง พบได้ประมาณ 2-5% ของประชากรทั่วไป โดยพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิด (พบได้ประมาณ 1 คนในเด็กเกิดใหม่ทุก 3,000-4,000 คน) ไปจนถึงผู้สูงอายุ (ประมาณ 15% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป) พบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าในผู้ชายถึงประมาณ 2-8 เท่า

สาเหตุการเกิดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
สาเหตุของ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ มีได้หลากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย คือ

  • โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิต้านตนเองของต่อมไทรอยด์
  • โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ ฮาชิโมโต (Hashimoto’s thyroiditis)
  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์
  • การกินแร่ น้ำแร่รังสีไอโอดีนในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือการรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • การฉายรังสีรักษาในการรักษาโรคมะเร็งในบริเวณลำคอซึ่งจะโดนต่อมไทรอยด์ไปด้วย
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ส่งผลกดการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ เช่น ยา/สีที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำในการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ยาบางชนิดในการรักษาโรคทางด้านจิตเวช โรคลมชัก โรคเบาหวาน และโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (เช่น โปแตสเซียมเปอร์คลอเรท/Potassium perchlorate ที่เป็นยาลดการจับกินธาตุไอโอดีนของเซลล์ต่อมไทรอยด์)
  • ไม่มีเซลล์ต่อมไทรอยด์แต่กำเนิด หรือเซลล์ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้น้อยแต่กำเนิด (Congenital hypothyroid)
  • โรคบางชนิดที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroder ma)

สาเหตุของ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ ซึ่งมีได้หลากหลายสาเหตุเช่นกัน ที่พบบ่อย คือ

  • โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • การผ่าตัดต่อมใต้สมอง เช่น ในการรักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • การฉายรังสีรักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • มีเลือดออกในต่อมใต้สมองจากต่อมใต้สมองได้รับอุบัติเหตุ (อุบัติเหตุในส่วนของศีรษะ)
  • โรค หรืออุบัติเหตุต่างๆของสมองที่ส่งผลถึงการทำงานของสมองส่วนไฮโปธาลามัส เช่น โรคเนื้องอกและมะเร็งสมอง

อาการของภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
อาการจากภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ค่อยๆเกิดอาการ ไม่ใช่อาการที่เกิดเฉียบพลัน นอกจากนั้นยังมีได้หลายๆอาการร่วมกัน ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการขึ้นกับว่าขาดฮอร์โมนในปริมาณเล็กน้อย หรือในปริมาณมาก ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ
อ้วน ฉุ บวม ที่ใบหน้า รอบดวงตา ลำตัว แขน มือ ขาและเท้า
หัวใจเต้นช้า เหนื่อยง่าย
ช้า เซื่องซึม
ง่วงนอนตลอดเวลา
เมื่อเกิดในเด็ก เด็กจะเจริญเติบโตช้า เตี้ยกว่าเกณฑ์มาก
ท้องผูก
เหงื่อออกน้อย
ทนหนาวไม่ได้ ตัวเย็นกว่าคนทั่วไป
ผมร่วง ผิวหนังหยาบ แห้ง คัน
เล็บด้าน เปราะ ฉีก แตก ง่าย
ขนคิ้วบางโดยเฉพาะในส่วนปลายๆของคิ้ว
กล้ามเนื้อเป็นตะคริวบ่อย กล้ามเนื้อลีบ
ปวดข้อต่างๆ
พูดเสียงแหบ
มีภาวะซีด
ไม่มีสมาธิ เมื่อเกิดในเด็ก สติปัญญาจะต่ำกว่าเกณฑ์
มีไขมันในเลือดสูง (โรคไขมันในเลือดสูง)
ในผู้หญิง ประจำเดือนจะผิดปกติ เช่น มาแต่ละครั้งในปริมาณมากและนาน ในผู้ชายอาจมีนมตั้งเต้า (Gynecomastia)
ความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นหมัน ซึมเศร้า
บางคนอาจมีลิ้นใหญ่ และ/หรือหูได้ยินเสียงลดลง
อาจมีต่อมไทรอยด์โต หรือโรคคอพอก (โรคของต่อมไทรอยด์)

การรักษา
ไฮโปไทรอยด์รักษาได้ผลดีด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน โดย T4 ทดแทนด้วย levothyroxine -LT4 (Synthroid) ยานี้ไม่ควรกินพร้อมกับวิตามิน ที่มีเหล็กและแคลเซียม ขนาดที่ให้คือกิน 1.6 mcg/kg ต่อวัน ในคนสูงอายุหรือเป็นโรคหัวใจควรเริ่มขนาด ¼ ของปกติแล้วค่อยๆเพิ่มทุก 4-6 สปด. จนได้ขนาด maintenance คือ 50-200 mcg ต่อวัน ในกรณีใช้รักษา myxedema coma ให้ครั้งเดียว 200-250 mcg ฉีดเข้า IV
เนื่องจากผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีปัญหาในการเปลี่ยน T4 เป็น T3 วิธีป้องกันปัญหานี้จึงอาจเลี่ยงไปใช้ยา Armour thyroid ซึ่งมีทั้ง T3 และ T4 แทน โดยใช้ขนาด 90 มก. แบ่งให้ครึ่งเม็ดหลังอาหารเช้า อีกครึ่งเม็ดหลังอาหารเย็น เพราะ T3 มี half life สั้น หากให้วันละครั้งจะไม่พอรักษาระดับฮอร์โมนในเลือด
อีกวิธีหนึ่งคือให้ triiodothyroxin หรือ T3 (Cytomel) ควบกับ T4 ซึ่งในกรณีนี้ T3 ต้องแบ่งให้วันละ 2 ครั้งเช่นกัน
ระบบความคุมการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ( hypothalamic-pituitary axis) ต้องปรับตัวนานหลายเดือนกว่าจะเห็นว่าฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ( TSH) ลดลงมาสู่ระดับปกติ คือ 0.40-4.2 mIU/L ซึ่งเป็นเป้าหมายของการรักษา
ผู้ได้รับยาควรติดตามอาการหัวใจเต้นเร็ว ตาพร่า ใจสั่น ประสาทเสีย ตื่นตกใจง่าย เหนื่อย ปวดหัว นอนไม่หลับ มือสั่น อาการเจ็บหน้าอกถ้าเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว และอาจทำให้เกิดไฮเปอร์ไทรอยด์แบบไม่มีอาการ ( Subclinical hyperthyroidism) ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกพรุน
ในกรณีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Subclinical hypothyroidism (คือ TSH สูง แต่ T3-4 ปกติ) จะให้การรักษาเฉพาะเมื่อคาดหมายว่าจะเกิดไฮโปไทรอยด์รุนแรงเท่านั้น โดยดูจากการมี
( 1 ) TSH สูงกว่า 10 mIU/L หรือ
( 2 ) มีภูมิคุ้มกัน ( antibody) ที่ไปจับทำลายเอ็นไซม์ thyroid peroxidase ( P Ab )
( 3 ) มีอาการแบบไฮโปไทรอยด์

การป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
เมื่อดูจากสาเหตุแล้ว การป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นเรื่องยาก เพราะมักเกิดจากการรักษาโรคต่างๆ และสาเหตุแต่กำเนิด ดังนั้นที่ดีที่สุด คือ การสังเกตอาการตนเองเสมอ เมื่อพบมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ อีกประการดังกล่าวแล้วว่าสาเหตุของภาวะนี้ อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดได้ ดังนั้นในการใช้ยาต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อซื้อยาใช้เอง จึงควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ รวมทั้งอ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจ และควรรู้ว่ายาชนิดนั้นๆ อาจมีผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง

อาหารควรทานหรือหลีกเลี่ยง

แหล่งข้อมูล : ไฮโปไทรอยด์ ( Hypothyroidism)
- นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- นพ.ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557





ในโลกนี้ไม่มีใครที่ไหนหรอก ที่จะรบชนะตลอด

คนที่ไม่ถอดใจเท่านั้น ถึงจะแข็งแกร่งขึ้น
และได้พบกับชัยชนะที่แท้จริง!! 
วาทะจากโจโฉ 

Comment

เรื่องเล่าโพสเมื่อ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Contact Us

ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
Mail : mbkrattanakorn@gmail.com