โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกมีเนื้อกระดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซี่ยมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุนทำให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย
ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกสันหลังให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1
ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน
กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการ
กระดูกพรุนคืออะไร
โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย และสามารถป้องกันได้
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน
หมายถึง ภาวะที่ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเร็วกว่าปกติ บางคนมีหลายปัจจัยเสี่ยง แต่บางคนก็ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
1.ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้
การประเมินความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคกระดูกโปร่งบาง กระดูกพรุนหรือไม่
โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกมีเนื้อกระดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซี่ยมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุนทำให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย
ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกสันหลังให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1
ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน
กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการ
- ความหนาแน่ของมาลกระดูกผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง
- เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว
กระดูกพรุนคืออะไร
โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย และสามารถป้องกันได้
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน
หมายถึง ภาวะที่ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเร็วกว่าปกติ บางคนมีหลายปัจจัยเสี่ยง แต่บางคนก็ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
1.ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
- เพศหญิงจะมีการเกิดกระดูกพรุนมากและเร็วกว่าผู้ชายเพราะผู้หญิงวัยทองขาด estrogen ทำให้เกิดการละลายของกระดูกมากกว่าปกติ การรับประทานแคลเซี่ยมเป็นประจำช่วยลดอุบัติการณ์ของกระดูกหัก
- อายุมากเกิดกระดูกพรุนได้มากกว่าอายุน้อย
- ขนาดของร่างกาย ผู้ที่ผอมและตัวเล็กจะมีกระดูกพรุนได้ง่าย
- เชื้อชาติ
- ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเรื่องกระดูกพรุนจะเกิดโรคได้ง่าย
2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้
- ฮอร์โมนเพศไม่ว่าหญิงหรือชายหากมีฮอร์โมนต่ำก็เกิดกระดูกจางได้
- เบื่ออาหาร
- อาหารที่รับประทานมีแคลเซียมต่ำ
- ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น steroid หรือยากันชัก
- ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
- สูบบุหรี่
- ดื่มสุรา
การประเมินความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคกระดูกโปร่งบาง กระดูกพรุนหรือไม่
การประเมินความเสี่ยง | คะแนน |
สุขภาพเป็นเช่นใด
|
0
1
|
ผิวดำ | -1 |
ประวัติแม่ พี่หรือน้องสาวกระดูกสะโพกหัก | 1 |
น้ำหนักลดลงเมื่อเทียบกับตอนอายุ 25 ปี | 1 |
สูงกว่า 165 ซม | 1 |
เป็นโรคสมองเสื่อม | 1 |
ได้รับยา steroid | 1 |
ได้รับยากันชัก | 1 |
ได้รับยากลุ่ม benzodiazepam เช่น valium | 1 |
ไม่ได้ออกกำลังกาย | 1 |
ต้องใช้แขนช่วยเวลาลุกจากเก้าอี้ | 1 |
มีกระดูกหักเมื่ออายุมากกว่า 50ปี | 1 |
อายุมากกว่า 80 ปี | 1 |
วัยทองและไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน | 1 |
ยืนน้อยกว่าวันละ 4 ชั่วโมง | 1 |
หัวใจเต้นเกิน 80 ครั้งเวลานั่งเฉยๆ | 1 |
รวมคะแนน | |
คะแนน 0-2 ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนต่ำ
คะแนน 3-4 ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนปานกลาง
คะแนนมากกว่า 5 ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนสูง
|
การรักษาโรคกระดูกพรุน
ปัจจุบันแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนก่อนที่จะเกิดอาการ โดยการตรวจความเข็ม หรือความหนาแน่นของกระดูก Bone mineral density หรือ BMD การตรวจนี้ใช้แสงเอกซ์เรย์ปริมาณน้อยมากส่องตามจุดที่ต้องการ แล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหาความหนาแน่นของกระดูก เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐาน โดยการเปรียบเทียบกับมวลกระดูกของผู้หญิงอายุ 25 ปี หากมวลกระดูกคุณน้อยกว่า 2.5 เท่า standard deviation ของผู้หญิงอายุ 25 ปี แสดงว่าคุณเป็นโรคกระดูกพรุน osteoporosis หากเนื้อกระดูกคุณน้อยกว่าปกติแต่ไม่ถึง 2.5 เท่า standard deviation คุณเป็นคนที่เนื้อกระดูกน้อยกว่าปกติ Osteopenia ต้องมีการออกกำลังเพื่อสร้างมวลกระดูก และมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะเพศหญิงวัยทอง
- Estrogen ต้องให้ร่วมกับยา Progestin ซึ่งจะพิจารณาให้ในรายที่ตัดรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี หรือผู้ที่หมดประจำเดือนอายุน้อย หรือประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือผู้ที่มีมวลกระดูกต่ำกว่าเกณฑ์
- Raloxifene เป็นยาในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถเพิ่มระดับความแข็งของกระดูกได้ครึ่งหนึ่งของการใช้ฮอร์โมนทดแทน
- Alendronate ยานี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสลายของกระดูก ควรรับประทานยานี้ขณะท้องว่าง และดื่มน้ำตาม และให้อยู่ในท่ายืน 30 นาที ยานี้อาจจะทำให้เกิออาการจุกเสียดท้องและหน้าอก ผู้ที่มีโรคไตควรปรึกษาแพทย์
- Calcitonin เป็นฮอร์โมนใต้สมอง ได้จากการสกัดต่อมใต้สมองจากปลาทูน่า ใช้พ่นจมูก ยาตัวนี้ผลข้างเคียงต่ำ
- Tamoxifen ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่ estrogen receptor กับบางอวัยวะเท่านั้น คือยากลุ่มนี้มีความจำเพาะสูงกว่าเอสโตรเจน ยากลุ่มนี้สามารถเพิ่มมวลกระดูก และลดอาการร้อนตามตัว
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
การป้องกันที่ดีที่สุดต้องสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุน้อยกว่า 30 ปี หลายวิธีที่ป้องกันโรคกระดูกพรุน เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง โดยเฉพาะในวัยเด็ก หญิงมีครรภ์ หญิงที่กำลังให้นมบุตร ชายและหญิงวัยทอง อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซี่ยมได้แก่ นม นมพร่องมันเนย ผักใบเขียว ปลา กระดุด ถั่ว น้ำส้ม วัยทองควรจะได้รับแคลเซี่ยมอย่างน้อยวันละ 1500 มก ต่อวัน สำหรับวัยทองที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนควรจะได้รับแคลเซี่ยมวันละ 1000 มก ต่อวัน หากรับประทานวันละ 600 มก ต่อวันจะดูดซึมได้ดี เมื่อรับประทานแคลเซี่ยมจะต้องดื่มน้ำมากๆเพราะแคลเซี่ยมจะทำให้ท้องผูก ในวัยทองควรจะได้รับวิตามิน ดีเสริมวันละ 400 ยูนิตต่อวันเพื่อเพิ่มการดูดซึมของแคลเซี่ยม
แหล่งอาหารที่มีแคลเซี่ยม
ปริมาณแคลเซี่ยมในอาหาร
ชนิดของอาหาร | ปริมาณที่บริโภค | แคลเซียม(มก.) |
นมสด รสจืด | 200 (1 กล่อง) | 230-292 |
ปลาช้อนทะเลแห้งทอด | ครึ่งถ้วยตวง | 329 |
กุ้งแห้งตัวเล็ก | 1ช้อนโต๊ะ | 138 |
เต้าหู้เขาอ่อน | 1 ก้อน | 290 |
คะน้าผัด | ครึ่งถ้วยตวง | 105 |
แรกคลอด-6 เดือน | 400 |
6 เดือน-1 ปี | 600 |
1-10 ปี | 800-1200 |
11-24 | 1200-1500 |
25-50 | 1000 |
51-64 | 1000-1500 |
มากกว่า65 | มากกว่า 1500 |
คนท้อง | 1200-1500 |
- วิตามินดี ปกติคนเราสามารถสังเคราะห์วิตามิน ดีได้จากแสงอาทิตย์ แต่คนสูงอายุ หรือผู้ที่อยู่แต่ในบ้านจะขาดวิตามิน ดี วิตามิน ดี จะช่วยให้ลำไส้มีการดูดซึมแคลเซียม วันหนึ่งควรได้วิตามิน ดี 400-800 IU ให้ถูกแสงบริเวณมือ แขน ใบหน้าครั้งละ 10-15 นาทีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี การทาครีมกันแดดจะลดการสร้างวิตามินดี
- การออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้กระดูกแข็งแรง เช่น การเดิน การเดินขึ้นบันได กระโดดเชือก ยกน้ำหนัก การเต้นรำ ลองเริ่มต้นการออกกำลังกายวันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วันซึ่งนอกจากจะทำให้กระดูกแข็งแรงยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและป้องกันการหกล้ม การออกกำลังที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงคือ การออกกำลังชนิด weight bearing คือใช้น้ำหนักตัวเองช่วยในการออกกำลังกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นบันได การเต้นรำ การว่ายน้ำและการขี่จักรยานไม่จัดในการออกกำลังกายกลุ่มนี้ อีกชนิดหนึ่งคือการยกน้ำหนักเพื่อทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง
- การสูบบุหรี่จะทำให้ฮอร์โมน estrogen ต่ำเป็นผลทำให้กระดูกจาง
- การดื่มสุรา วันละ 120-180 มิลิเมตรจะทำให้กระดูกจางและหักง่าย
- หลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะจะทำให้เกิดกระดูกพรุน
- ยาบางชนิดหากรับประทานต่อเนื่องจะทำให้กระดูกจาง เช่น steroid phenyltoin [dilantin} barbiturate ,antacid ,thyroid HORMONE
- ยาป้องกันกระดูกจาง
- ไม่ควรดื่มชาหรือกาแฟมากกว่า 2 แก้วเพราะสาร caffeein จะเร่งการขับแคลเซียม
- การวัดความหนาแน่นของกระดูก
ข้อแนะนำเพิ่มเติม