แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรุกิจเสริม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรุกิจเสริม แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)                                                         




โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกมีเนื้อกระดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซี่ยมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุนทำให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย

ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกสันหลังให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1

ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน

กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการ

  • ความหนาแน่ของมาลกระดูกผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง
  • เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว

กระดูกพรุนคืออะไร

โรคกระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย และสามารถป้องกันได้

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน
หมายถึง ภาวะที่ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเร็วกว่าปกติ บางคนมีหลายปัจจัยเสี่ยง แต่บางคนก็ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
 
1.ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง

  • เพศหญิงจะมีการเกิดกระดูกพรุนมากและเร็วกว่าผู้ชายเพราะผู้หญิงวัยทองขาด estrogen ทำให้เกิดการละลายของกระดูกมากกว่าปกติ การรับประทานแคลเซี่ยมเป็นประจำช่วยลดอุบัติการณ์ของกระดูกหัก
  • อายุมากเกิดกระดูกพรุนได้มากกว่าอายุน้อย
  • ขนาดของร่างกาย ผู้ที่ผอมและตัวเล็กจะมีกระดูกพรุนได้ง่าย
  • เชื้อชาติ
  • ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเรื่องกระดูกพรุนจะเกิดโรคได้ง่าย

2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้

  • ฮอร์โมนเพศไม่ว่าหญิงหรือชายหากมีฮอร์โมนต่ำก็เกิดกระดูกจางได้
  • เบื่ออาหาร
  • อาหารที่รับประทานมีแคลเซียมต่ำ
  • ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น steroid หรือยากันชัก
  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรา

การประเมินความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคกระดูกโปร่งบาง กระดูกพรุนหรือไม่

การประเมินความเสี่ยงคะแนน
สุขภาพเป็นเช่นใด
  • ดี
  • ปานกลางลงมา
0
1
ผิวดำ-1
ประวัติแม่ พี่หรือน้องสาวกระดูกสะโพกหัก1
น้ำหนักลดลงเมื่อเทียบกับตอนอายุ 25 ปี1
สูงกว่า 165 ซม1
เป็นโรคสมองเสื่อม1
ได้รับยา steroid1
ได้รับยากันชัก1
ได้รับยากลุ่ม benzodiazepam เช่น valium1
ไม่ได้ออกกำลังกาย1
ต้องใช้แขนช่วยเวลาลุกจากเก้าอี้1
มีกระดูกหักเมื่ออายุมากกว่า 50ปี1
อายุมากกว่า 80 ปี1
วัยทองและไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน1
ยืนน้อยกว่าวันละ 4 ชั่วโมง1
หัวใจเต้นเกิน 80 ครั้งเวลานั่งเฉยๆ1
รวมคะแนน 
  คะแนน 0-2   ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนต่ำ
คะแนน 3-4  ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนปานกลาง
คะแนนมากกว่า 5  ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนสูง


การรักษาโรคกระดูกพรุน

ปัจจุบันแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนก่อนที่จะเกิดอาการ โดยการตรวจความเข็ม หรือความหนาแน่นของกระดูก Bone mineral density หรือ BMD การตรวจนี้ใช้แสงเอกซ์เรย์ปริมาณน้อยมากส่องตามจุดที่ต้องการ แล้วใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหาความหนาแน่นของกระดูก เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐาน โดยการเปรียบเทียบกับมวลกระดูกของผู้หญิงอายุ 25 ปี หากมวลกระดูกคุณน้อยกว่า 2.5 เท่า standard deviation ของผู้หญิงอายุ 25 ปี แสดงว่าคุณเป็นโรคกระดูกพรุน osteoporosis หากเนื้อกระดูกคุณน้อยกว่าปกติแต่ไม่ถึง 2.5 เท่า standard deviation คุณเป็นคนที่เนื้อกระดูกน้อยกว่าปกติ Osteopenia ต้องมีการออกกำลังเพื่อสร้างมวลกระดูก และมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะเพศหญิงวัยทอง

  • Estrogen ต้องให้ร่วมกับยา Progestin ซึ่งจะพิจารณาให้ในรายที่ตัดรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี หรือผู้ที่หมดประจำเดือนอายุน้อย หรือประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือผู้ที่มีมวลกระดูกต่ำกว่าเกณฑ์
  • Raloxifene เป็นยาในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถเพิ่มระดับความแข็งของกระดูกได้ครึ่งหนึ่งของการใช้ฮอร์โมนทดแทน
  • Alendronate ยานี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสลายของกระดูก ควรรับประทานยานี้ขณะท้องว่าง และดื่มน้ำตาม และให้อยู่ในท่ายืน 30 นาที ยานี้อาจจะทำให้เกิออาการจุกเสียดท้องและหน้าอก ผู้ที่มีโรคไตควรปรึกษาแพทย์
  • Calcitonin เป็นฮอร์โมนใต้สมอง ได้จากการสกัดต่อมใต้สมองจากปลาทูน่า ใช้พ่นจมูก ยาตัวนี้ผลข้างเคียงต่ำ
  • Tamoxifen ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่ estrogen receptor กับบางอวัยวะเท่านั้น คือยากลุ่มนี้มีความจำเพาะสูงกว่าเอสโตรเจน ยากลุ่มนี้สามารถเพิ่มมวลกระดูก และลดอาการร้อนตามตัว
การป้องกันโรคกระดูกพรุน

การป้องกันที่ดีที่สุดต้องสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุน้อยกว่า 30 ปี หลายวิธีที่ป้องกันโรคกระดูกพรุน เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง โดยเฉพาะในวัยเด็ก หญิงมีครรภ์ หญิงที่กำลังให้นมบุตร ชายและหญิงวัยทอง อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซี่ยมได้แก่ นม นมพร่องมันเนย ผักใบเขียว ปลา กระดุด ถั่ว น้ำส้ม วัยทองควรจะได้รับแคลเซี่ยมอย่างน้อยวันละ 1500 มก ต่อวัน สำหรับวัยทองที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนควรจะได้รับแคลเซี่ยมวันละ 1000 มก ต่อวัน หากรับประทานวันละ 600 มก ต่อวันจะดูดซึมได้ดี เมื่อรับประทานแคลเซี่ยมจะต้องดื่มน้ำมากๆเพราะแคลเซี่ยมจะทำให้ท้องผูก ในวัยทองควรจะได้รับวิตามิน ดีเสริมวันละ 400 ยูนิตต่อวันเพื่อเพิ่มการดูดซึมของแคลเซี่ยม
แหล่งอาหารที่มีแคลเซี่ยม

ปริมาณแคลเซี่ยมในอาหาร
    ชนิดของอาหารปริมาณที่บริโภคแคลเซียม(มก.)
    นมสด รสจืด200 (1 กล่อง)230-292
    ปลาช้อนทะเลแห้งทอดครึ่งถ้วยตวง329
    กุ้งแห้งตัวเล็ก 1ช้อนโต๊ะ138
    เต้าหู้เขาอ่อน 1 ก้อน290
    คะน้าผัดครึ่งถ้วยตวง105
    ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวัน (mg/day)
    แรกคลอด-6 เดือน400
    6 เดือน-1 ปี600
    1-10 ปี800-1200
    11-241200-1500
    25-501000
    51-641000-1500
    มากกว่า65มากกว่า 1500
    คนท้อง1200-1500

  1. วิตามินดี ปกติคนเราสามารถสังเคราะห์วิตามิน ดีได้จากแสงอาทิตย์ แต่คนสูงอายุ หรือผู้ที่อยู่แต่ในบ้านจะขาดวิตามิน ดี วิตามิน ดี จะช่วยให้ลำไส้มีการดูดซึมแคลเซียม วันหนึ่งควรได้วิตามิน ดี 400-800 IU ให้ถูกแสงบริเวณมือ แขน ใบหน้าครั้งละ 10-15 นาทีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี การทาครีมกันแดดจะลดการสร้างวิตามินดี
  2. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้กระดูกแข็งแรง เช่น การเดิน การเดินขึ้นบันได กระโดดเชือก ยกน้ำหนัก การเต้นรำ ลองเริ่มต้นการออกกำลังกายวันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วันซึ่งนอกจากจะทำให้กระดูกแข็งแรงยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและป้องกันการหกล้ม การออกกำลังที่จะทำให้กระดูกแข็งแรงคือ การออกกำลังชนิด weight bearing คือใช้น้ำหนักตัวเองช่วยในการออกกำลังกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นบันได การเต้นรำ การว่ายน้ำและการขี่จักรยานไม่จัดในการออกกำลังกายกลุ่มนี้ อีกชนิดหนึ่งคือการยกน้ำหนักเพื่อทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง
  3. การสูบบุหรี่จะทำให้ฮอร์โมน estrogen ต่ำเป็นผลทำให้กระดูกจาง
  4. การดื่มสุรา วันละ 120-180 มิลิเมตรจะทำให้กระดูกจางและหักง่าย
  5. หลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะจะทำให้เกิดกระดูกพรุน
  6. ยาบางชนิดหากรับประทานต่อเนื่องจะทำให้กระดูกจาง เช่น steroid phenyltoin [dilantin} barbiturate ,antacid ,thyroid HORMONE
  7. ยาป้องกันกระดูกจาง
  8. ไม่ควรดื่มชาหรือกาแฟมากกว่า 2 แก้วเพราะสาร caffeein จะเร่งการขับแคลเซียม
  9. การวัดความหนาแน่นของกระดูก
ข้อแนะนำเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ใช้ถุงยางเถอะ!!
ที่มาของรูป จาก คุณหมอเกาลัด

โรคหนองในคืออะไร 
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชอบอยู่ในที่อุ่นและชื้นของร่างกายเช่นช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และช่องคอ
มี 2 แบบ คือ
โรคนี้ติดต่ออย่างไร

การร่วมรักไม่ว่าจะทางช่องคลอด ทางทวาร หรือทางปาก โดยไมใส่ใส่ถุงยางอนามัยล้วนแต่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งนั้น การใช้เซ็กส์ทอยหรือของเล่นต่างๆร่วมกันโดยไม่ล้างให้สะอาดหรือไม่ใส่ถุงยางอนามัยไว้ก็เกิดความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน

อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร

ผู้ชาย
ผู้หญิง
- มีหนองสีขาว เขียว หรือเหลืองออกจากอวัยวะเพศ สังเกตุได้ว่าจะทำให้กางเกงในคุณเปื้อน
- แสบเวลาปัสสาวะ
- ติดเชื้ออักเสบในทวารหนักหรือตา
- ติดเชื้ออักเสบในช่องคอ
- ปวดบริเวณอัณฑะ
- การอักเสบของหนังหุ้มอวัยวะเพศ
- มีหนองสีขาว เขียว หรือเหลืองออกจากอวัยวะเพศ
- แสบเวลาปัสสาวะ
- ติดเชื้ออักเสบในทวารหนักหรือตา
- ติดเชื้ออักเสบในช่องคอ
- ปวดท้องช่วงล่าง
- เลือดออกผิดปกติขณะมีประจำเดือน

การวินิจฉัย
เราสามารถรู้ว่าเป็นโรคหนองในแท้หรือไม่โดยการตรวจ
  • นำหนองหรือปัสสาวะมาตรวจ PCR
  • นำหนองมาย้อมหาเชื้อ
  • นำหนองไปเพาะเชื้อ
  • ข้อสำคัญคือท่านอาจจะต้องตรวจหาโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นร่วมด้วย

การรักษา
เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคหนองในแท้มักจะมีหนองในเทียมร่วมด้วยเสมอดังนั้นจึงต้องรักษาพร้อมกันทั้งสองโรค
  • ยาในกลุ่ม Cephalosporin ได้แก่ Cefixime 400 มิลิกรัมรับประทานครั้งเดียว หรือ Ceftriaxone 250 มิลิกรัมฉีดครั้งเดียว
  • ยาในกลุ่ม Quinolone ได้แก่ยา Ciprofloxacin 500 mg รับประทานครั้งเดียว หรือ Ofloxacin 400 mg รับประทานครั้งเดียว หรือ Levofloxacin รับประทานครั้งเดียว

หากแพ้ยาดังกล่าวอาจจะให้ spectinomycin
การรักษาหนองในแท้มักจะรักษาหนองในเทียมร่วมด้วยโดยการให้ doxycycline 1 เม็ดเช้าเย็นเป็นเวลา 7 วัน
คนท้องต้องปรึกษาแพทย์
เนื่องจากเชื้อมีการดื้อยามากขึ้นท่านต้องรับประทานยาให้ครบ และตรวจซ้ำตามที่แพทย์แนะนำและต้องพาคู่ของท่านไปตรวจรักษาด้วย

การป้องกันติดโรคนี้
  • การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การงดมีเพศสัมพันธ์
  • มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
  • สวมถุงยางอนามัยหากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แน่ใจว่าจะมีโรคติดต่อหรือไม่
แหล่งข้อมูล : โรคหนองในแท้ Gonorrheaโรคหนองในเทียม Non Gonococcal Urethritis (NSU),

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ รักษาอย่างไร



ไฮโปไทรอยด์ คือ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) หรือบางคนเรียกว่า ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน คือภาวะที่เกิดจากร่างกายพร่องหรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง หรือไม่สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนได้ ซึ่งเมื่อเกิดจากตัวโรคของตัวต่อมไทรอยด์เองเรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ (Primary hypothyroidism) และเมื่อเกิดจากโรคของต่อมใต้สมอง หรือโรคของสมองไฮโปธาลามัสแล้วส่งผลกระทบมายังการทำงานของต่อมไทรอยด์  (Thyroid-stimulating hormone -TSH) เรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ (Secondary hypothyroidism) หรืออาจเกิดจากสมองส่วนไฮโปทาลามัสซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมใต้สมองอีกชั้นหนึ่งหลั่งฮอร์โมนกระตุ้น ( thyrotropin-releasing hormone-TRH) ไม่พอ ซึ่งเรียกไฮโปไทรอยด์ชนิดนี้ว่าเป็น Tertiary hypothyroidism
ในกรณีที่ต่อมใต้สมองต้องผลิตฮอร์โมนกระตุ้น ( TSH) มากกว่าผิดปกติแต่ยังจะพอทำให้ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มีจำนวนปกติอยู่ได้ เรียกภาวะนี้ว่าเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ที่ยังไม่มีอาการ (Subclinical hypothyroidism)
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อ ตั้งอยู่ด้านหน้าของลำคอ ในส่วนหน้าต่อลูกกระเดือก หรือกระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid cartilage) มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประกอบด้วย 2 กลีบใหญ่ คือ กลีบด้านซ้าย และกลีบด้านขวา ซึ่งทั้งสองกลีบเชื่อมต่อถึงกันด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus) ซึ่งต่อมไทรอยด์ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถคลำพบได้
ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือ ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyroxine, T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) และ แคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญน้อยกว่า ฮอร์โมน ที4 และ ที3 เป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง ไทรอยด์ฮอร์โมน จึงมักหมายความถึงเฉพาะฮอร์โมน ที4 และ ที3 เท่านั้น ฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 มีหน้าที่สำคัญมาก คือ ควบคุมดูแลการใช้พลังงานทั้งจากอาหาร และจากออกซิเจน หรือ ที่เรียกว่า เมตาโบลิซึม (Metabolism) ของเซลล์ต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต เพื่อการทำงาน และเพื่อการซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บสึกหรอ และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วย ส่วนฮอร์โมนแคลซิโทนิน มีหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่ทำงานโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) และของสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus เป็นสมองส่วนหนึ่งของสมองใหญ่/Cerebrumโดยอยู่ในส่วนลึกกลางสมองใหญ่) ซึ่งทั้งต่อมใต้สมอง และสมองไฮโปธาลามัส ยังควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆด้วย เช่น ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ และยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ และจิตใจ ดังนั้น การทำงานของต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรค หรือ ภาวะผิดปกติต่างๆของต่อมไทรอยด์ จึงสัมพันธ์กับการทำงาน และโรคต่างๆของอวัยวะเหล่านั้น รวมถึงความสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นภาวะพบได้บ่อยภาวะหนึ่ง พบได้ประมาณ 2-5% ของประชากรทั่วไป โดยพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิด (พบได้ประมาณ 1 คนในเด็กเกิดใหม่ทุก 3,000-4,000 คน) ไปจนถึงผู้สูงอายุ (ประมาณ 15% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป) พบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าในผู้ชายถึงประมาณ 2-8 เท่า

สาเหตุการเกิดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
สาเหตุของ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ มีได้หลากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย คือ

  • โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิต้านตนเองของต่อมไทรอยด์
  • โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ ฮาชิโมโต (Hashimoto’s thyroiditis)
  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์
  • การกินแร่ น้ำแร่รังสีไอโอดีนในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือการรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • การฉายรังสีรักษาในการรักษาโรคมะเร็งในบริเวณลำคอซึ่งจะโดนต่อมไทรอยด์ไปด้วย
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ส่งผลกดการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ เช่น ยา/สีที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำในการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ยาบางชนิดในการรักษาโรคทางด้านจิตเวช โรคลมชัก โรคเบาหวาน และโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (เช่น โปแตสเซียมเปอร์คลอเรท/Potassium perchlorate ที่เป็นยาลดการจับกินธาตุไอโอดีนของเซลล์ต่อมไทรอยด์)
  • ไม่มีเซลล์ต่อมไทรอยด์แต่กำเนิด หรือเซลล์ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้น้อยแต่กำเนิด (Congenital hypothyroid)
  • โรคบางชนิดที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroder ma)

สาเหตุของ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ ซึ่งมีได้หลากหลายสาเหตุเช่นกัน ที่พบบ่อย คือ

  • โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • การผ่าตัดต่อมใต้สมอง เช่น ในการรักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • การฉายรังสีรักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • มีเลือดออกในต่อมใต้สมองจากต่อมใต้สมองได้รับอุบัติเหตุ (อุบัติเหตุในส่วนของศีรษะ)
  • โรค หรืออุบัติเหตุต่างๆของสมองที่ส่งผลถึงการทำงานของสมองส่วนไฮโปธาลามัส เช่น โรคเนื้องอกและมะเร็งสมอง

อาการของภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
อาการจากภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ค่อยๆเกิดอาการ ไม่ใช่อาการที่เกิดเฉียบพลัน นอกจากนั้นยังมีได้หลายๆอาการร่วมกัน ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการขึ้นกับว่าขาดฮอร์โมนในปริมาณเล็กน้อย หรือในปริมาณมาก ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ
อ้วน ฉุ บวม ที่ใบหน้า รอบดวงตา ลำตัว แขน มือ ขาและเท้า
หัวใจเต้นช้า เหนื่อยง่าย
ช้า เซื่องซึม
ง่วงนอนตลอดเวลา
เมื่อเกิดในเด็ก เด็กจะเจริญเติบโตช้า เตี้ยกว่าเกณฑ์มาก
ท้องผูก
เหงื่อออกน้อย
ทนหนาวไม่ได้ ตัวเย็นกว่าคนทั่วไป
ผมร่วง ผิวหนังหยาบ แห้ง คัน
เล็บด้าน เปราะ ฉีก แตก ง่าย
ขนคิ้วบางโดยเฉพาะในส่วนปลายๆของคิ้ว
กล้ามเนื้อเป็นตะคริวบ่อย กล้ามเนื้อลีบ
ปวดข้อต่างๆ
พูดเสียงแหบ
มีภาวะซีด
ไม่มีสมาธิ เมื่อเกิดในเด็ก สติปัญญาจะต่ำกว่าเกณฑ์
มีไขมันในเลือดสูง (โรคไขมันในเลือดสูง)
ในผู้หญิง ประจำเดือนจะผิดปกติ เช่น มาแต่ละครั้งในปริมาณมากและนาน ในผู้ชายอาจมีนมตั้งเต้า (Gynecomastia)
ความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นหมัน ซึมเศร้า
บางคนอาจมีลิ้นใหญ่ และ/หรือหูได้ยินเสียงลดลง
อาจมีต่อมไทรอยด์โต หรือโรคคอพอก (โรคของต่อมไทรอยด์)

การรักษา
ไฮโปไทรอยด์รักษาได้ผลดีด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน โดย T4 ทดแทนด้วย levothyroxine -LT4 (Synthroid) ยานี้ไม่ควรกินพร้อมกับวิตามิน ที่มีเหล็กและแคลเซียม ขนาดที่ให้คือกิน 1.6 mcg/kg ต่อวัน ในคนสูงอายุหรือเป็นโรคหัวใจควรเริ่มขนาด ¼ ของปกติแล้วค่อยๆเพิ่มทุก 4-6 สปด. จนได้ขนาด maintenance คือ 50-200 mcg ต่อวัน ในกรณีใช้รักษา myxedema coma ให้ครั้งเดียว 200-250 mcg ฉีดเข้า IV
เนื่องจากผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีปัญหาในการเปลี่ยน T4 เป็น T3 วิธีป้องกันปัญหานี้จึงอาจเลี่ยงไปใช้ยา Armour thyroid ซึ่งมีทั้ง T3 และ T4 แทน โดยใช้ขนาด 90 มก. แบ่งให้ครึ่งเม็ดหลังอาหารเช้า อีกครึ่งเม็ดหลังอาหารเย็น เพราะ T3 มี half life สั้น หากให้วันละครั้งจะไม่พอรักษาระดับฮอร์โมนในเลือด
อีกวิธีหนึ่งคือให้ triiodothyroxin หรือ T3 (Cytomel) ควบกับ T4 ซึ่งในกรณีนี้ T3 ต้องแบ่งให้วันละ 2 ครั้งเช่นกัน
ระบบความคุมการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ( hypothalamic-pituitary axis) ต้องปรับตัวนานหลายเดือนกว่าจะเห็นว่าฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ( TSH) ลดลงมาสู่ระดับปกติ คือ 0.40-4.2 mIU/L ซึ่งเป็นเป้าหมายของการรักษา
ผู้ได้รับยาควรติดตามอาการหัวใจเต้นเร็ว ตาพร่า ใจสั่น ประสาทเสีย ตื่นตกใจง่าย เหนื่อย ปวดหัว นอนไม่หลับ มือสั่น อาการเจ็บหน้าอกถ้าเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว และอาจทำให้เกิดไฮเปอร์ไทรอยด์แบบไม่มีอาการ ( Subclinical hyperthyroidism) ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกพรุน
ในกรณีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Subclinical hypothyroidism (คือ TSH สูง แต่ T3-4 ปกติ) จะให้การรักษาเฉพาะเมื่อคาดหมายว่าจะเกิดไฮโปไทรอยด์รุนแรงเท่านั้น โดยดูจากการมี
( 1 ) TSH สูงกว่า 10 mIU/L หรือ
( 2 ) มีภูมิคุ้มกัน ( antibody) ที่ไปจับทำลายเอ็นไซม์ thyroid peroxidase ( P Ab )
( 3 ) มีอาการแบบไฮโปไทรอยด์

การป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
เมื่อดูจากสาเหตุแล้ว การป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นเรื่องยาก เพราะมักเกิดจากการรักษาโรคต่างๆ และสาเหตุแต่กำเนิด ดังนั้นที่ดีที่สุด คือ การสังเกตอาการตนเองเสมอ เมื่อพบมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ อีกประการดังกล่าวแล้วว่าสาเหตุของภาวะนี้ อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดได้ ดังนั้นในการใช้ยาต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อซื้อยาใช้เอง จึงควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ รวมทั้งอ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจ และควรรู้ว่ายาชนิดนั้นๆ อาจมีผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง

อาหารควรทานหรือหลีกเลี่ยง

แหล่งข้อมูล : ไฮโปไทรอยด์ ( Hypothyroidism)
- นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- นพ.ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ทำงานให้ตาย เงินเดือนไม่ขึ้น แต่อย่างอื่นขึ้นหมด!!
credit pic : @เรียนเจ้านายที่เคารพ


อยากทำงานสบาย ทำไงดี????


Tel:  086-803-3889
mail : mbkrattanakorn@gmail.com
Id line : num091230moo

Comment

เรื่องเล่าโพสเมื่อ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Contact Us

ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
Mail : mbkrattanakorn@gmail.com