แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โดนใจ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โดนใจ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

สวัสดีเริ่มวันแรกของปีใหม่ ๒๕๕๙ ปีชวดนี้ ขออวยพรผู้อ่านทุกท่านคะ

恭贺新禧,祝身体健康、事业发达。
[Gōnghè xīnxǐ, zhù shēntǐ jiànkāng, shìyè fādá.]

สวัสดีปีใหม่ ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง งานการเจริญรุ่งเรือง

Allow me to congratulate you on the arrival of the New Year and to extend to you,
All my best wishes for your perfect health and lasting prosperity.


สวัสดีปีชวดจ้า

วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558




ขึ้นปีใหม่แล้ว ขอเริ่มด้วยคำอวยพรในภาษาจีนนะคะ

สวัสดีปีใหม่ภาษาจีน

新年快乐 (Xīn nián kuài lè) แปลว่า สวัสดีปีใหม่

ลองมาแยกดูความหมายของแต่ละคำกัน

 (Xīn) แปลว่า ใหม่

(nián)  แปลว่า ปี

快樂 (kuài lè) แปลว่า ความสุข

กรณีที่จะบอกว่า สุขสันต์วันปีใหม่ 2016 ก็ให้เติมเลข 2016 ไปข้างหน้าประโยคข้างต้น จะได้

2016 新年快乐 (Èr líng yīliù Xīn nián kuài lè)
การอ่านปีในภาษาจีน  จะอ่านเรียงทีละตัว เช่น 2016 年 อ่านว่า 二零一六年

คำอวยพรสวัสดีปีใหม่

新正如意 新年发财 Xīn zhēng rúyì xīnnián fācái คิดหวังสิ่งใดขอให้สมหวังสมปรารถนาในปีใหม่นี้ มีแต่ความสุขมั่งคั่ง โชคดีร่ำรวยตลอดปี (ถ้าเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้)

新年快樂 Xīnnián kuàilè ขอให้มีความสุขในวันปีใหม่

恭贺新年 Gōnghè xīnnián สุขสันต์วันปีใหม่


恭贺新禧 Gōnghè xīnxǐ สุขสันต์วันปีใหม่

คำอวยพร ภาษาจีน

祝你  [Zhù nǐ]  ของอวยพรให้…

财源广进 [cáiyuán guǎngjìn] เงินทองไหลมาเทมา

财源滚滚 [cáiyuán gǔngǔn] เงินทองไหลมาเทมา

春节愉快 [chūnjié yúkuài]  มีความสุขในวันตรุษจีน

大吉大利 [dàjí dàlì] ขอให้มีมหามงคล ผลกำไรเพิ่มพูล

福禄双全 [fúlù shuāngquán]  มีทั้งโชคและเงินทอง

工作顺利 [gōngzuò shùnlì] การงานราบรื่น

恭贺新禧 [gōnghè xīnxǐ] ขอให้มีแต่เรื่องน่ายินดีปรีดา

恭喜发财 [gōngxǐ fācái] ขอให้ร่ำรวย

好运年年 [hǎoyùn niánnián] โชคดีทุกปี

家好运气 [Jiā hǎo yùnqì] โชคดีเข้าบ้าน

吉祥如意 [jíxiáng rúyì] สมปรารถนา

皆大欢喜 [jiēdà huānxi] ดีอกดีใจกันทุกคน

金玉满堂 [jīnyù mǎntáng] ร่ำรวยเงินทอง/เงินทองเต็มคลัง/ทองหยกเต็มบ้าน

联欢晚会 [liánhuānwǎnhuì] งานเลี้ยงฉลองตอนเย็น

联欢会 [liánhuānhuì] งานเลี้ยงฉลอง

龙马精神 [lóngmǎ jīngshén] สุขภาพแข็งแรง

年年如意 [niánniánrúyì] สมหวังตลอดไป

年年有余 [niánnián yǒuyú] มีกินมีใช้ในทุกๆปี

年年发财 [niánnián fācái] รำรายตลอดไป

年年大赚钱 [Nián nián dà zhuànqián] ปีนี้ร่ำรวยมหาศาล

普天同庆 [pǔtiān tóngqìng] ทั่วแดนร่วมฉลอง

身体健康 [shēntǐ jiànkāng] สุขภาพแข็งแรง

事事顺利 [shìshì shùnlì] ทุกเรื่องราบรื่น

四季平安 [sìjì píng’ān] ปลอดภัยตลอดปี

岁岁平安 [suìsuìpíngān] ปลอดภัยทุกปี

天天快乐,年年好运。[tiāntiānkuàilè, niánnián hǎoyùn] มีความสุขทุกวัน โชคดีทุกปี

万事如意 [wànshìrúyì]  สมความปรารถนา

万事大吉 [wànshìdàjí] เป็นศิริมงคลทุกอย่าง

万古长青 [wàngǔ chángqīng] รุ่งเรืองชั่วนิรันดร

五福临门 [wǔfú línmén] ขอให้ความสุขมาเยือนถึงที่

喜气临门 [xǐqì línmén] พบแต่ความยินดีปรีดา

希望你玩得高兴 [xīwàng nǐwándegāoxìng] หวังว่าเที่ยวอย่างสนุกสนาน

新正如意, 新年发财。 [xīnzhèngrúyì, xīnniánfācái] สมปรารถนา ปีใหม่ร่ำรวย

新春大吉 [xīnchūn dàjí] ขอให้ประสบพบมหามงคลในปีใหม่นี้

新春万福 [xīnchūn wànfú] มหามงคลปีใหม่

新年快乐 [xīnnián kuàilè] สุขสันต์วันขึ้นปีใหม่

新年朝气 [xīnnián zhāoqì] ปีใหม่สดใสมีชีวิตชีวา

新年联欢会 [xīnnián liánhuānhuì] งานเลี้ยงฉลองปีใหม่

新年快乐 [xīnnián kuàilè] สุขสันต์วันปีใหม่

新年进步 [xīnnián jìnbù] ขอให้ก้าวหน้าในปีใหม่นี้

欣欣向荣 [xīnxīn xiàngróng] เจริญเฟื่องฟู

心想事成 [xīnxiǎng shìchéng] คิดสิ่งใดได้สิ่งนั้น/สมดังใจปรารถนา

一切顺利 [yīqiè shùnlì] ราบรื่นทุกเรื่อง

一元复始  [yīyuán fùshǐ] เริ่มต้นศักราชใหม่

一帆风顺 [yīfānfēngshùn] ทุกอย่างราบรื่น

一本万利 [yīběnwànlì] ลงทุนสิ่งใด ขอให้ได้กำไรมหาศาล

招财进宝  [zhāocái jìnbǎo] เงินทองไหลมาเทมา

祝贺新年 [zhùhè xīnnián] ขออวยพรวันปีใหม่

祝大家幸福 [zhùdàjiā xìngfú] ขอให้ทุกคนมีความสุข

祝您步步高升 [zhùnín bùbùgāoshēng] เจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

祝你好运 [zhùnǐhǎoyùn] ขอให้โชคดี

祝你幸福 [zhùnǐxìngfú] ขอให้มีความสุข

祝你成功 [zhùnǐchénggōng] ขอให้ประสบความสำเร็จ

祝你身心愉快 [zhùnǐshēnxīnyúkuài] ขอให้สุขกายสบายใจ

祝你万事如意 [zhùnǐwànshìrúyì] ขอให้สมปรารถนาทุกประการ

祝你全家幸福 [zhùnǐquánjiāxìngfú] ขอให้ครอบครัวของคุณมีความสุขมากๆ

祝你工作顺利 [zhùnǐgōngzuòshùnlì] ขอให้การงานราบรื่น

祝你身心健康 [zhùnǐshēnxīnjiànkāng] ขอให้ร่างกายแข็งแรง

祝你生活幸福 [zhùnǐshēnghuóxìngfú] ขอให้มีความสุขในชีวิต

祝你学习进步 [zhùnǐxuéxíjìnbù] ขอให้ก้าวหน้าในการเรียน

祝你福如东海,寿比南山。 [zhùnǐfúrúdōnghǎishòubǐnánshān] ขอให้มีโชคลาภวาสนามากๆ อายุยืนยาวคำอวยพร



วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ รักษาอย่างไร



ไฮโปไทรอยด์ คือ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) หรือบางคนเรียกว่า ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน คือภาวะที่เกิดจากร่างกายพร่องหรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง หรือไม่สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนได้ ซึ่งเมื่อเกิดจากตัวโรคของตัวต่อมไทรอยด์เองเรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ (Primary hypothyroidism) และเมื่อเกิดจากโรคของต่อมใต้สมอง หรือโรคของสมองไฮโปธาลามัสแล้วส่งผลกระทบมายังการทำงานของต่อมไทรอยด์  (Thyroid-stimulating hormone -TSH) เรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ (Secondary hypothyroidism) หรืออาจเกิดจากสมองส่วนไฮโปทาลามัสซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมใต้สมองอีกชั้นหนึ่งหลั่งฮอร์โมนกระตุ้น ( thyrotropin-releasing hormone-TRH) ไม่พอ ซึ่งเรียกไฮโปไทรอยด์ชนิดนี้ว่าเป็น Tertiary hypothyroidism
ในกรณีที่ต่อมใต้สมองต้องผลิตฮอร์โมนกระตุ้น ( TSH) มากกว่าผิดปกติแต่ยังจะพอทำให้ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มีจำนวนปกติอยู่ได้ เรียกภาวะนี้ว่าเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ที่ยังไม่มีอาการ (Subclinical hypothyroidism)
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อ ตั้งอยู่ด้านหน้าของลำคอ ในส่วนหน้าต่อลูกกระเดือก หรือกระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid cartilage) มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประกอบด้วย 2 กลีบใหญ่ คือ กลีบด้านซ้าย และกลีบด้านขวา ซึ่งทั้งสองกลีบเชื่อมต่อถึงกันด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus) ซึ่งต่อมไทรอยด์ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถคลำพบได้
ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือ ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyroxine, T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) และ แคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญน้อยกว่า ฮอร์โมน ที4 และ ที3 เป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง ไทรอยด์ฮอร์โมน จึงมักหมายความถึงเฉพาะฮอร์โมน ที4 และ ที3 เท่านั้น ฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 มีหน้าที่สำคัญมาก คือ ควบคุมดูแลการใช้พลังงานทั้งจากอาหาร และจากออกซิเจน หรือ ที่เรียกว่า เมตาโบลิซึม (Metabolism) ของเซลล์ต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต เพื่อการทำงาน และเพื่อการซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บสึกหรอ และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วย ส่วนฮอร์โมนแคลซิโทนิน มีหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่ทำงานโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) และของสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus เป็นสมองส่วนหนึ่งของสมองใหญ่/Cerebrumโดยอยู่ในส่วนลึกกลางสมองใหญ่) ซึ่งทั้งต่อมใต้สมอง และสมองไฮโปธาลามัส ยังควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆด้วย เช่น ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ และยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ และจิตใจ ดังนั้น การทำงานของต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรค หรือ ภาวะผิดปกติต่างๆของต่อมไทรอยด์ จึงสัมพันธ์กับการทำงาน และโรคต่างๆของอวัยวะเหล่านั้น รวมถึงความสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นภาวะพบได้บ่อยภาวะหนึ่ง พบได้ประมาณ 2-5% ของประชากรทั่วไป โดยพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิด (พบได้ประมาณ 1 คนในเด็กเกิดใหม่ทุก 3,000-4,000 คน) ไปจนถึงผู้สูงอายุ (ประมาณ 15% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป) พบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าในผู้ชายถึงประมาณ 2-8 เท่า

สาเหตุการเกิดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
สาเหตุของ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ มีได้หลากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย คือ

  • โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิต้านตนเองของต่อมไทรอยด์
  • โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ ฮาชิโมโต (Hashimoto’s thyroiditis)
  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์
  • การกินแร่ น้ำแร่รังสีไอโอดีนในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือการรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • การฉายรังสีรักษาในการรักษาโรคมะเร็งในบริเวณลำคอซึ่งจะโดนต่อมไทรอยด์ไปด้วย
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ส่งผลกดการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ เช่น ยา/สีที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำในการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ยาบางชนิดในการรักษาโรคทางด้านจิตเวช โรคลมชัก โรคเบาหวาน และโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (เช่น โปแตสเซียมเปอร์คลอเรท/Potassium perchlorate ที่เป็นยาลดการจับกินธาตุไอโอดีนของเซลล์ต่อมไทรอยด์)
  • ไม่มีเซลล์ต่อมไทรอยด์แต่กำเนิด หรือเซลล์ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้น้อยแต่กำเนิด (Congenital hypothyroid)
  • โรคบางชนิดที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroder ma)

สาเหตุของ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ ซึ่งมีได้หลากหลายสาเหตุเช่นกัน ที่พบบ่อย คือ

  • โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • การผ่าตัดต่อมใต้สมอง เช่น ในการรักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • การฉายรังสีรักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • มีเลือดออกในต่อมใต้สมองจากต่อมใต้สมองได้รับอุบัติเหตุ (อุบัติเหตุในส่วนของศีรษะ)
  • โรค หรืออุบัติเหตุต่างๆของสมองที่ส่งผลถึงการทำงานของสมองส่วนไฮโปธาลามัส เช่น โรคเนื้องอกและมะเร็งสมอง

อาการของภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
อาการจากภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ค่อยๆเกิดอาการ ไม่ใช่อาการที่เกิดเฉียบพลัน นอกจากนั้นยังมีได้หลายๆอาการร่วมกัน ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการขึ้นกับว่าขาดฮอร์โมนในปริมาณเล็กน้อย หรือในปริมาณมาก ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ
อ้วน ฉุ บวม ที่ใบหน้า รอบดวงตา ลำตัว แขน มือ ขาและเท้า
หัวใจเต้นช้า เหนื่อยง่าย
ช้า เซื่องซึม
ง่วงนอนตลอดเวลา
เมื่อเกิดในเด็ก เด็กจะเจริญเติบโตช้า เตี้ยกว่าเกณฑ์มาก
ท้องผูก
เหงื่อออกน้อย
ทนหนาวไม่ได้ ตัวเย็นกว่าคนทั่วไป
ผมร่วง ผิวหนังหยาบ แห้ง คัน
เล็บด้าน เปราะ ฉีก แตก ง่าย
ขนคิ้วบางโดยเฉพาะในส่วนปลายๆของคิ้ว
กล้ามเนื้อเป็นตะคริวบ่อย กล้ามเนื้อลีบ
ปวดข้อต่างๆ
พูดเสียงแหบ
มีภาวะซีด
ไม่มีสมาธิ เมื่อเกิดในเด็ก สติปัญญาจะต่ำกว่าเกณฑ์
มีไขมันในเลือดสูง (โรคไขมันในเลือดสูง)
ในผู้หญิง ประจำเดือนจะผิดปกติ เช่น มาแต่ละครั้งในปริมาณมากและนาน ในผู้ชายอาจมีนมตั้งเต้า (Gynecomastia)
ความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นหมัน ซึมเศร้า
บางคนอาจมีลิ้นใหญ่ และ/หรือหูได้ยินเสียงลดลง
อาจมีต่อมไทรอยด์โต หรือโรคคอพอก (โรคของต่อมไทรอยด์)

การรักษา
ไฮโปไทรอยด์รักษาได้ผลดีด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน โดย T4 ทดแทนด้วย levothyroxine -LT4 (Synthroid) ยานี้ไม่ควรกินพร้อมกับวิตามิน ที่มีเหล็กและแคลเซียม ขนาดที่ให้คือกิน 1.6 mcg/kg ต่อวัน ในคนสูงอายุหรือเป็นโรคหัวใจควรเริ่มขนาด ¼ ของปกติแล้วค่อยๆเพิ่มทุก 4-6 สปด. จนได้ขนาด maintenance คือ 50-200 mcg ต่อวัน ในกรณีใช้รักษา myxedema coma ให้ครั้งเดียว 200-250 mcg ฉีดเข้า IV
เนื่องจากผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีปัญหาในการเปลี่ยน T4 เป็น T3 วิธีป้องกันปัญหานี้จึงอาจเลี่ยงไปใช้ยา Armour thyroid ซึ่งมีทั้ง T3 และ T4 แทน โดยใช้ขนาด 90 มก. แบ่งให้ครึ่งเม็ดหลังอาหารเช้า อีกครึ่งเม็ดหลังอาหารเย็น เพราะ T3 มี half life สั้น หากให้วันละครั้งจะไม่พอรักษาระดับฮอร์โมนในเลือด
อีกวิธีหนึ่งคือให้ triiodothyroxin หรือ T3 (Cytomel) ควบกับ T4 ซึ่งในกรณีนี้ T3 ต้องแบ่งให้วันละ 2 ครั้งเช่นกัน
ระบบความคุมการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ( hypothalamic-pituitary axis) ต้องปรับตัวนานหลายเดือนกว่าจะเห็นว่าฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ( TSH) ลดลงมาสู่ระดับปกติ คือ 0.40-4.2 mIU/L ซึ่งเป็นเป้าหมายของการรักษา
ผู้ได้รับยาควรติดตามอาการหัวใจเต้นเร็ว ตาพร่า ใจสั่น ประสาทเสีย ตื่นตกใจง่าย เหนื่อย ปวดหัว นอนไม่หลับ มือสั่น อาการเจ็บหน้าอกถ้าเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว และอาจทำให้เกิดไฮเปอร์ไทรอยด์แบบไม่มีอาการ ( Subclinical hyperthyroidism) ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกพรุน
ในกรณีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Subclinical hypothyroidism (คือ TSH สูง แต่ T3-4 ปกติ) จะให้การรักษาเฉพาะเมื่อคาดหมายว่าจะเกิดไฮโปไทรอยด์รุนแรงเท่านั้น โดยดูจากการมี
( 1 ) TSH สูงกว่า 10 mIU/L หรือ
( 2 ) มีภูมิคุ้มกัน ( antibody) ที่ไปจับทำลายเอ็นไซม์ thyroid peroxidase ( P Ab )
( 3 ) มีอาการแบบไฮโปไทรอยด์

การป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
เมื่อดูจากสาเหตุแล้ว การป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นเรื่องยาก เพราะมักเกิดจากการรักษาโรคต่างๆ และสาเหตุแต่กำเนิด ดังนั้นที่ดีที่สุด คือ การสังเกตอาการตนเองเสมอ เมื่อพบมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ อีกประการดังกล่าวแล้วว่าสาเหตุของภาวะนี้ อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดได้ ดังนั้นในการใช้ยาต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อซื้อยาใช้เอง จึงควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ รวมทั้งอ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจ และควรรู้ว่ายาชนิดนั้นๆ อาจมีผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง

อาหารควรทานหรือหลีกเลี่ยง

แหล่งข้อมูล : ไฮโปไทรอยด์ ( Hypothyroidism)
- นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- นพ.ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557





ในโลกนี้ไม่มีใครที่ไหนหรอก ที่จะรบชนะตลอด

คนที่ไม่ถอดใจเท่านั้น ถึงจะแข็งแกร่งขึ้น
และได้พบกับชัยชนะที่แท้จริง!! 
วาทะจากโจโฉ 

Comment

เรื่องเล่าโพสเมื่อ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Contact Us

ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
Mail : mbkrattanakorn@gmail.com