แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 12นักษัตร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 12นักษัตร แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คงปฏิเสธไม่ได้เลยทีเดียวว่าช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการเสริมดวง ที่ไหนดี มีอะไรเด่น ก็พากันไปไหว้ขอพระเสริมดวงกันแต่สำหรับวันนี้เรามีมาฝากกันเป็นเกี่ยวกับการไหว้พระธาตุขอพรเสริมดวงปี 2559
ถ้าพูดถึงคำว่าพระธาตุ หลายคนคงสงสัยว่าพระธาตุคืออะไร “พระธาตุ” มีหมายความถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และยังรวมถึงสถานที่หรือพระเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมธาตุด้วย
ซึ่งในแต่ละแห่ง จะมีตำนานหรือประวัติที่เล่าถึงการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งสัมพันธ์กับการเสด็จโปรดสัตว์ ของพระพุทธเจ้าในดินแดนต่างๆ ที่พระองค์เสด็จไปถึง
รวมถึงการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้น ณ ที่นั้นมักจะกลายเป็นเมืองสำคัญในเวลาต่อมา อีกทั้งประวัติพระธาตุ หรือตำนานพระธาตุนั้น ยังอาจหมายถึงตำนาน หรือประวัติความเป็นมาของบ้านเมืองแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย
มาดูกันสิว่าปีนักษัตรไหนต้องไปไหว้สักการะที่ใด
 พระธาตุศรีจอมทอง
ปีชวด พระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่

ปีชวด เป็นปีแรกของปีนักษัตร มีสัญลักษณ์เป็น หนู พระธาตุประจำปีเกิดนี้ จะได้พระธาตุศรีจอมทอง แห่งวัดพระธาตุศรีจอมทอง ตั้งอยู่ ณ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
พระธาตุนี้มีลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่ แม้จะมีขนาดที่ไม่ใหญ่โตนักแต่ก็งดงาม นอกจากนี้ยังมีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตกาลจนปัจจุบัน
บทสวดบูชาพระธาตุศรีจอมทอง
นะมามิ ติโลกะโมลี โลหะกุฏเฐ นะติฏฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ กิตติมันตัง มะโนระหัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา อังคะวะหะเย ปุเรรัมเม โกวิสารัคคะ ปัพพะเต สะหิเหมะคูหาคัพเภ ทักขิณะ โมลีธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะทา
 พระธาตุลำปางหลวง
ปีฉลู พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง
ปีฉลู มีลักษณะทางสัญลักษณ์เป็นรูป วัว พระธาตุประจำปีเกิดปีนี้ คือพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
พระธาตุแห่งนี้เป็นศิลปะสถาปัตยกรรมสกุลช่างลำปาง ปรากฏอิทธิพลไทลื้อ วัดพระธาตุลำปางหลวงเลื่องลือในปาฏิหาริย์ของพระธาตุที่สะท้อนเป็นภาพกลับหัวในพระวิหารและมณฑป
บทสวดบูชาพระธาตุลำปางหลวง
ปายุตาภูตา อะนุรานุภาวา จิรังปติฏฐิโต สัมภะกัปปะปุเร เทเวนะ คุตตา อันตุราภิเทยยา นิมามิ หันตัง วะระชินะธาตุง กุมาระกัสสะปัง นราตะ ธาตุโย เมฆิยะมหาเถระโร กัณณะธาตุฏฐะเปติ มหาฐาเน เจติยัง ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโยฯ
 พระธาตุช่อแฮ
ปีขาล พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่

ปีขาล มีสัญลักษณ์เป็นรูป เสือ พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุช่อแฮ แห่งวัดพระธาตุช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระธาตุสำคัญและเป็นพระธาตุประจำเมือง
มีลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมแบบล้านนาสกุลช่างเมืองแพร่ สกุลช่างนี้หากพิจารณาในรายละเอียด จะพบอิทธิพลศิลปะสุโขทัยแอบแฝงอยู่ ลักษณะทางภายภาพจะมีความชะลูดประกอบกับตำแหน่งที่ตั้งเป็นเนินเขา จะทำให้คนเห็นได้แต่ไกล
บทสวดบูชาพระธาตุช่อแฮ
เสยะยัง ธัชชัคคะปัพพะเต พุทธาธาตุ ปะติฏฐิตัง ปะสัน เนนะ อะหัง วันทามิ ทูระโตฯ

พระธาตุแช่แห้ง

ปีเถาะ พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน
ปีเถาะ มีสัญลักษณ์เป็นรูป กระต่าย พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุแช่แห้ง แห่งวัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอเมือง จังหวัดน่านสกุลช่างเมืองน่านจะปรากฏอิทธิพลล้านนาจากเมืองเชียงรายและอิทธิพลไทลื้อ สำหรับพระธาตุแช่แห้งนี้ โดยรวมเป็นลักษณะช่างล้านนา แต่หากลงลึกในรายละเอียด จะพบฝีมือช้างพื้นเมืองไทลื้อผสมกันอย่างลงตัว พระธาตุแช่แห้งมีทรงค่อนข้างสูง แต่มีความละไมจากเส้นรูปแตกต่างไปจากเมืองแพร่
บทสวดบูชาพระธาตุแช่แห้ง
ปายาตุภูตา อตุรานุ ภาวะจิรัง ปะติฏฐิตา นันทกัปปัฏฐานะปุระ เทเวนะคุตตา วะระพุทธาตุงจิรัง อะหัง วันทามิ ตัง ชินะธาตุง เสตะฐาเน อะหัง วันทามิ ทูระโตฯ
 พระธาตุพระสิงห์

ปีมะโรง พระธาตุพระสิงห์ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

ปีมะโรง มีสัญลักษณ์เป็น งูใหญ่ อันหมายถึงพญานาคหรือมังกร พระธาตุประจำปีเกิดนี้จะได้แก่ พระธาตุพระสิงห์ แห่งวัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัดพระสิงห์เป็นวัดใหญ่และสำคัญมากที่อยู่กลางเมือง สถาปัตยกรรมภายในวันนี้จัดว่างดงามมาก ด้วยเป็นฝีมือช่างหลวงของนครเชียงใหม่ พระธาตุจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก และตั้งหลบอยู่ภายใน มีการตกแต่งน้อย ถือว่าเป็นความงามที่เรียบง่าย
บทสวดบูชาพระธาตุวัดพระสิงห์และพระพุทธสิหิงค์
นะมามิ สิหิงคะพิมพัง สุวัณณะภิรัมมัง ลังกาละ ชาตัง โสภาภิโสภัง สะลาภิกันตัง นะมามิหังฯ
 
พระมหาเจดีย์พระพุทธคยา


ปีมะเส็ง พระมหาเจดีย์พระพุทธคยา วัดอนาลโย จ.พะเยา
ปีมะเส็ง มีสัญลักษณ์เป็น งูเล็ก สำหรับพระธาตุประจำปีเกิดนั้นอยู่ไกลนัก นั่นคือพระมหาเจดีย์พระพุทธคยา ประเทศอินเดีย อันเป็นปูชนียสถานที่ประดิษฐานอยู่ไกล
คนโบราณจึงใช้เจดีย์เจ็ดยอดเมืองเชียงใหม่แทน และภายหลังมีการจำลองพระมหาเจดีย์ฯ มาสร้างขึ้นที่วัดอนาลโย จังหวัดพะเยา ซึ่งทำให้คนที่มีศรัทธาจะไปนมัสการทำได้ง่ายขึ้น
บทสวดบูชาพระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์
ปะฐะมัง โพธิปัลลังกัง ทุติยังอนิมิสสะกัง ตะติยัง จังกะมะเสฏฐัง จะตุตะถัง ระตะนะฆะรัง ปัญจะมัง อะชะปาลานิโครธัง ฉัฏฐังราชา ยะตะนัง สัตตะมัง มุจจะรินทัง อะหัง วันทามิ ทูระโตฯ
 พระธาตุชเวดากอง
ปีมะเมีย พระธาตุชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า

ปีมะเมีย มีสัญลักษณ์เป็นรูป ม้า พระธาตุนี้จะได้แก่พระธาตุชเวดากอง แห่งเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ (พม่า) เจดีย์นี้มีการต่อเติมมากมายหลายหลัง ทำให้รูปแบบพัฒนาไปเรื่อยๆ
ลักษณะสุดท้ายได้มีลักษณะเป็นศิลปะพม่าอย่างเต็มที่ และมีอายุร่วมสมัยทางศิลปะกับรัตนโกสินทร์ตอนต้น จากเดิมที่เป็นงานศิลปะมอญร่วมสมัยอยุธยาของเรา
บทสวดบูชาพระเจดีย์ชเวดากอง
ธัมภูทีเป วะระฐาเน สิงคุตตะเร มะโนรัมเม สัตตะระนะ ปะฐะมัง กะกุสันธัง สุวัณณะฑัณธัง ธาตุโย ฐัสสะติ ทุติยัง โคนาคะมะนัง ธัมมะกะระณัง ธาตุโย ฐัสสะติ ตะติง กัตสัปปัง พุทธะจีวะรัง ธาตุโย ฐัสสะต จะตุตะถัง โคตะมะ อัฏฐเกสะ ธาตุโย ฐัสสะติ ปัญจะมัง อริยะเมตเตยโย อนาคะโต อุตตะมังธาตุโยฯ
 พระธาตุดอยสุเทพ

ปีมะแม พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
ปีมะแม มีสัญลักษณ์เป็นรูป แพะ พระธาตุประจำปีเกิดปีนี้คือ พระธาตุดอยสุเทพ แห่งวัดพระธาตุดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พระธาตุนี้เป็นพระธาตุสำคัญของเมืองเชียงใหม่
และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนล้านนา ลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมจะเป็นแบบล้านนา-เชียงใหม่ ตั้งอยู่บนภูเขา ทำให้เจดีย์ดูงดงามและเด่นชัด
บทสวดบูชาพระธาตุดอยสุเทพ
สุวัณณะเจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคัง อรัญญะธาตุ สุเทเว สัพพะ ปูชิง ตัง นะวะเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโยฯ
 พระธาตุพนม
ปีวอก พระธาตุพนม จ.นครพนม

ปีวอก มีสัญลักษณ์เป็นรูป ลิง พระธาตุประจำวันเกิดนี้เป็นพระธาตุที่แตกต่างไปจากพระธาตุอื่นๆ ที่กล่าวมา นั่นคือพระธาตุพนม แห่งวัดพระธาตุพนม อำเภอนครพนม จังหวัดนครพนม
พระธาตุนี้เป็นพระธาตุที่มีลักษณะพื้นเมืองของอาณาจักรโคตรบูรณ์โบราณ ได้มีการปรับปรุงมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยอยุธยา ในปีพุทธศักราช 2517 ได้ล้มลง ยังความเศร้าโศกแก่ประชาชนชาวไทย-ลาวเป็นอย่างมาก ต่อมาได้บูรณปฏิสังขรณ์ตามลักษณะเดิมแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2519
บทสวดบูชาพระธาตุพนม
กะปะณะ คิริสมิง ปัพพะเต มหากัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรัง คะธาตุง สิริสา นะมามิฯ
 พระธาตุหริภุญชัย




ปีระกา พระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน
ปีระกา มีสัญลักษณ์เป็นรูป ไก่ พระธาตุประจำปีเกิดจะเป็นพระธาตุหริภุญชัย แห่งวัดพระธาตุหริภุญชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ศิลปกรรมล้านนาสกุลช่างเมืองลำพูนนี้มีทั้งที่เป็นแบบนี้ปรากฏอิทธิพลลพบุรี(ละโว้) และที่มีอิทธิพลเมืองใหม่ ซึ่งวัดพระธาตุหริภุญชัย จะมีลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมในแบบหลัง ซึ่งจะมีลักษณะที่งดงามและลงตัว
บทสวดบูชาพระธาตุหริภุญชัย
สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฏฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฏฐเสฎฐัง สะหะอังคุลิฏฐัง กัจจายะเนนา นิตะปัตตัปปะรัง สีเสนะ มัยหัง ปะณะมามิ ธาตุง อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ
 พระธาตุจุฬามณี
ปีจอ พระธาตุจุฬามณี จ.เชียงใหม่

ปีจอ มีสัญลักษณ์เป็นรูป สุนัข พระธาตุประจำปีนี้เดิมเป็นพระธาตุจุฬามณี ซึ่งเชื่อกันว่าจะประดิษฐานอยู่บนสวรรค์
มาภายหลังได้มีการสร้างพระธาตุเกตุแก้วจุฬามณีที่วัดเกตุการาม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จึงใช้พระธาตุนี้แทน ศิลปะสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านนารุ่นหลัง
บทสวดบูชาพระธาตุเจดีย์เกตุแก้ว
จัตตาฬีสะสะมา ทันตา เกส โลมรา นขาปิจะเทวา หะรันติ เอเกกัง จักกะวาฬาปะรัมปะรา ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโยฯ
พระธาตุดอยตุง 
 ปีกุน พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย
ปีกุน มีสัญลักษณ์เป็นรูป สุกร แต่สำหรับคนล้านนาจะใช้ ช้าง พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุดอยตุงแห่งวัดดอยตุง อำเภอดอยตุง จังหวัดเชียงราย
เมืองเชียงรายเป็นเมืองเก่าแก่ร่วมสมัยกับสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่ มีสัญลักษณ์ล้านนา ผสานอิทธิพลพื้นเมืองปูชนียสถานในเมืองเชียงราย จะมีขนาดไม่ใหญ่ และมักให้ความรู้สึกสงบและสันโดษ ขอขอบคุณข้อมูลจาก
บทสวดบูชาพระธาตุดอยตุง
พิมพา ธะชัคคะ ปัพพะเต นะจุฬาชาตุ จิรัง มะหาคะมา นะมามิหัง อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ
ใครเกิดปีไหนก็สามารถไปกราบไหว้ขอพรตามพระธาตุประจำปีเกิดกันได้เลยจ้า
ที่มา : sanook

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สวัสดีค่ะ

     ช่วงนี้ใกล้ปีใหม่แล้ว ใครรู้บ้างว่าปีหน้านักษัตรอะไร

   


        ปีนักษัตร หรือ นักขัต เป็นปีตามปฏิทินสุริยคติไทยและชาติอื่นในเอเชีย เป็นต้นว่า จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น แบ่งเป็นรอบปี รอบละสิบสองปี แต่ละปีกำหนดสัตว์เรียกเป็นชื่อเรียงกันไปดังนี้
        ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ และ กุน

ปีนักษัตรจะมีสัตว์ประจำปี (อันเป็นความหมายของชื่อปีนั้น ๆ นั่นเอง) สัตว์ประจำปีนักษัตรที่นิยมใช้ในหมู่ชาวไทย มีดังนี้


สำหรับปีกุนนั้น บางชาติใช้ช้างแทนสุกร เช่น ภาคเหนือของไทย
สำหรับปีเถาะนั้น บางชาติใช้แมวแทนกระต่าย เช่น เวียดนาม
สำหรับปีฉลูนั้น บางชาติใช้กระบือแทนวัว เช่น เวียดนาม
สำหรับปีมะโรง บางชาติใช้มังกรหรือพญานาคแทนงูใหญ่ เช่น ไทย
สำหรับปีมะแมนั้น บางชาติใช้แกะแทนแพะ เช่น ญี่ปุ่น

ปีนักษัตรในภาษาต่าง ๆ


ที่มา : Wikipedia
สีสันนำโชคตาม 12 ปีนักษัตร
ปีเกิดทั้ง 12 ปีนักษัตร มีพื้นฐานดวงชะตาที่ต่างกัน ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยเสริมดวงชะตาก็ย่อมต่างกันออกไปด้วย โดยเฉพาะสีสัน ถือเป็นสิ่งที่สามารถหยิบจับมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนำสีสันมาใช้ในเรื่องของการแต่งกาย เลือกเลือกเสื้อผ้า สีรถ ของใช้ส่วนตัวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และนอกจากนี้ผู้ชาย ผู้หญิง ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปอีก




ปีชวด :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีฟ้า
หญิง สีนำโชค สีเขียวและสีม่วง
ปีฉลู :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีขาว
หญิง สีนำโชค สีชมพูและสีแดง
ปีขาล :
ชาย สีนำโชค สีขาวและสีเหลือง
หญิง สีนำโชค สีม่วงและสีน้ำตาล
ปีเถาะ :
ชาย สีนำโชค สีเขียวอ่อนและสีฟ้าอ่อน
หญิง สีนำโชค สีเหลืองและสีม่วง
ปีมะโรง :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีเทา
หญิง สีนำโชค สีส้มและสีแดง
ปีมะเส็ง :
ชาย สีนำโชค สีขาวและสีครีม
หญิง สีนำโชค สีเทาและสีฟ้า
ปีมะเมีย :
ชาย สีนำโชค สีขาวและสีครีม
หญิง สีนำโชค สีเขียวและสีฟ้า
ปีมะแม :
ชาย สีนำโชค สีฟ้าและสีเขียวอ่อน
หญิง สีนำโชค สีเหลืองและสีส้ม
ปีวอก :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีเหลืองอ่อน
หญิง สีนำโชค สีแดงและสีชมพู
ปีระกา :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีขาว
หญิง สีนำโชค สีเหลืองและสีน้ำตาล
ปีจอ :
ชาย สีนำโชค สีเหลืองอ่อนและสีเทา
หญิง สีนำโชค สีน้ำตาลกับสีส้ม
ปีกุน :
ชาย สีนำโชค สีครีมและสีเหลืองอ่อน
หญิง สีนำโชค สีชมพูกับสีส้ม

Comment

เรื่องเล่าโพสเมื่อ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Contact Us

ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
Mail : mbkrattanakorn@gmail.com