ตัวเลขไทย
ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลขอารบิก เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก
ศูนย์ถึงสิบ
เลขไทย | เลขอารบิก | ค่าของตัวเลข และค่าแสดงลำดับปัจจุบัน | ค่าแสดงลำดับในอดีต |
---|---|---|---|
๐ | 0 | ศูนย์ | |
๑ | 1 | หนึ่ง | อ้าย |
๒ | 2 | สอง | ยี่ |
๓ | 3 | สาม | สาม |
๔ | 4 | สี่ | ไส |
๕ | 5 | ห้า | งั่ว |
๖ | 6 | หก | ลก |
๗ | 7 | เจ็ด | เจ็ด |
๘ | 8 | แปด | แปด |
๙ | 9 | เก้า | เจา |
๑๐ | 10 | สิบ | จ๋ง |
เลขไทย | เลขอารบิก | ค่าของตัวเลข |
---|---|---|
๑๐ | 10 | สิบ |
๑๑ | 11 | สิบเอ็ด |
๒๐ | 20 | ยี่สิบ |
๑๐๐ | 100 | (หนึ่ง)ร้อย |
๑,๐๐๐ | 1,000 | (หนึ่ง)พัน |
๑๐,๐๐๐ | 10,000 | (หนึ่ง)หมื่น |
๑๐๐,๐๐๐ | 100,000 | (หนึ่ง)แสน |
๑,๐๐๐,๐๐๐ | 1,000,000 | (หนึ่ง)ล้าน |
ในภาษาพูดทั่วไป คำว่า หนึ่ง มีออกเสียงเพี้ยนเป็น นึง ซึ่งทำให้ความหมายของ 100 (ร้อยนึง) กับ 101 (ร้อยหนึ่ง : ตามหลักภาษา อ่านว่า หนึ่งร้อยเอ็ด) แตกต่างกัน
สูงกว่าหนึ่งล้าน
ตัวเลขที่สูงกว่าหนึ่งล้าน สามารถใช้คำว่า ล้าน เป็นตัวคูณ เช่น 10,000,000 อ่านว่า สิบล้าน มาจากเอา "สิบ" คูณ "ล้าน"
คุณค่าของการใช้ตัวเลขไทย เช่น
๑ ความภูมิใจในมรดกของชาติ คนไทยมีตัวเลขไทยและอักษรเป็นของตนเองมาไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ กว่าปีมาแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความภูมิใจ เพราะประเทศมหาอำนาจบางชาติยังไม่มีตัวเลขของตนเองใช้ต้องยืมเลขอารบิกหรือตัวเลขอาหรับมาใช้จนทุกวันนี้
๒ ความงามของตัวเลขไทย ลักษณะของตัวเลขไทยมีลักษณะโค้งมน พลิ้วไหว สวยงามบอกถึงคุณค่าแห่งศิลปะไทย
๓ การนำตัวเลขไทยไปใช้ ปัจจุบันหน่วยงานรัฐบาลได้มีคำสั่งให้ใช้ตัวเลขไทย ในหนังสือราชการขณะนี้มีการนำตัวเลขไทยไปใช้ในคอมพิวเตอร์ และสื่ออินเทอร์เนทกันบ้างแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นคุณค่าสาคัญที่เราควรฝึกเด็กให้เขียนเลขไทยได้สวยงามและรวดเร็วเหมือนรักษาเอกลักษณ์ของชาติไว้
๔ มีคุณค่าเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย ทางด้านอักษรและภาษาไทยซึ่งควรแก่การอนุรักษ์ส่งเสริมการนาไปใช้ให้แพร่หลาย