แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรค แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรค แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559



โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาคืออะไร?
     โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรงเกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา(Ebola virus) ประกอบด้วย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ไอวอรีโคสต์ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี สายพันธุ์เรสตัน (Reston) และสายพันธุ์ Bundibugyo โดยสายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์ Bundibugyo ทำให้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาและทำให้มีอัตราป่วยตายประมาณร้อยละ60-90ในขณะที่สายพันธ์ไอวอรีโคสต์และสายพันธุ์เรสตัน (Reston) มักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงและยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากสายพันธุ์เรสตัน 
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ติดต่อได้อย่างไร?
     การติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสตรงกับ เลือดที่ติดเชื้อสารคัดหลั่ง เช่น นํ้ามูก นํ้าลาย ปัสสาวะ อุจจาระ อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ นอกจากนี้ การติดเชื้อในโรงพยาบาล ก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังพบการแพร่กระจายเชื้ออีโบลา ในพิธีศพได้บ่อย เนื่องจากผู้มาร่วมพิธีศพอาจมีการสัมผัส โดยตรงกับร่างกายของผู้เสียชีวิต
     สำหรับการติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาสู่คนเกิดจาก การสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของสัตว์ป่าที่ติดเชื้อ หรือเกิดขณะจัดการหรือชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตาย โดยยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทาง ละอองฝอยที่ลอยในอากาศ
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีอาการอย่างไร?
     โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัส โดยมากมักจะแสดงออกเป็นไข้เฉียบพลัน อ่อนเพลียมาก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย ผื่นผิวหนัง ไตและตับทำงานบกพร่อง และในบางรายจะพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอก และเสียชีวิตจะยังอยู่ในระยะติดต่อ คือ ยังสามารถแพร่เชื้อได้ตราบเท่าที่เลือดและสิ่งคัดหลั่งของตนยังมีเชื้อไวรัส ระยะฟักตัวของโรค ซึ่งหมายถึงระยะเวลานับจากการเริ่มติดเชื้อไวรัส จนถึงเมื่อเริ่มแสดงอาการ ได้แก่ 2 ถึง 21 วัน
ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ แต่ เนื่องจากการคมนาคมขนส่งระหว่างทวีปที่สะดวกสบายมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตราการเฝ้าระวังและป้องกันที่เข้มงวด” 
  1. วัคซีนและยารักษา
  2. ​   ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษาจำเพาะ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด ผู้ป่วยมักจะมีอาการขาดนํ้าบ่อยๆ จึงจำเป็นต้องได้สารละลายเกลือแร่เพื่อแก้ไขอาการขาดนํ้าโดยอาจให้ทางปาก หรือทางเส้นเลือด
คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข
• ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังบริเวณด่านชายแดนหรือ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศที่อาจมีผู้เดินทางมาจากประเทศที่เกิดการระบาด และมีอาการสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้แก่ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว
• ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชาชน ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าหลีกเลี่ยงการการรับประทานสัตว์ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่น เลือด จากผู้ป่วยหรือศพ
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
  1. 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรคทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
  2. 2. หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร
  3. 3. หมั่นล้างมือ ด้วยนํ้าและสบู่ให้สะอาด
  4. 4. ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้รู้สถานการณ์ และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
  5.  
คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ
  1. 1. หลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาด 5ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ร่าเลโอน ไนจีเรีย และเซเนกัล
  2. 2. ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุข
  3. 3. หากจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ต้อง
  • • หมั่นล้างมือ ด้วยนํ้าและสบู่ให้สะอาด
  • • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย หรือสัมผัสผู้ป่วยรวมเสื้อผ้า เครื่องใช้ของผู้ป่วย
  • • หากมีอาการป่วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินทาง
  1.  
  2. คำแนะนำสำหรับผู้ที่เดินทางไปประเทศที่มีการระบาด
  1. 1. ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ป่าทุกชนิด
  2. 2. ไม่สัมผัสสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะสัตว์จำพวก ลิง หรือค้างคาว
  3. 3. ไม่ล้วงแคะแกะเกาจมูก และขยี้ตา ด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้างให้สะอาด
  4. 4. ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนหรือคู่รัก
  5. 5. ไม่ซื้อยากินเอง เวลาเจ็บป่วยด้วยอาการไข้

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

  1.       “โรคตาแดง” ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากๆ เชื่อได้ว่าเกือบทุกคนอาจจะต้องเคยผ่านประสบการณ์การเป็นโรคตาแดงกันมาบ้าง และที่จะมีการพูดถึงเป็นประจำสมัยตอนเป็นเด็กก็คือ เมื่อเพื่อนเป็นโรคตาแดงแล้วห้ามมองตากัน จะทำให้เกิดอาการติดต่อ รวมไปถึงให้แลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงแล้วจะได้ไม่เป็นตาแดงกับเขา
     เรียกได้ว่าเป็นคำพูดที่ชวนให้เข้าใจผิดกันไปไกล ทั้งที่ “โรคตาแดง” นั้น เกิดจากการที่ดวงตามีการสัมผัสกับเชื้อโรค ซึ่งอาจเกิดจากการเอามือไปสัมผัสกับเชื้อโรคตามโต๊ะ เก้าอี้ หรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกันกับคนเป็นตาแดงที่ใช้มือสัมผัสตาแดงของตนแล้วยังไม่ได้ล้างมือ แล้วมาสัมผัสตาตัวเองต่อ ไม่ได้เกิดจากการจ้องมองตากันแล้วเชื้อโรคกระโดดก็ใส่ดวงตาแต่อย่างใดและไม่จำเป็นต้องไปแลบลิ้นใส่คนที่เป็นตาแดงด้วย
  • โรคตาแดงเกิดได้จากสาเหตุ  เช่น
  •  
  • โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส (ViralConjunctivitis)
  •      เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากการติดเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มอาดิโนไวรัส  (Adenovirus) ที่แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้มากกว่า 50 กลุ่ม และประมาณ  ใน 3 สามารถทำให้เกิดโรคตาแดงได้ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักพบในช่วงฤดูฝน หรือน้ำท่วม หลังจากได้รับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 1-2 วัน  อาการมักจะไม่ค่อยมีขี้ตา แต่มีน้ำตาไหล เคืองตามาก อาจมีต่อมน้ำเลืองที่หน้าหูโต มักเริ่มเป็นที่ตาใดตาหนึ่งก่อน และลามไปเป็นทั้งสองตาอย่างรวดเร็ว มีประวัติติดต่อกันในคนหมู่มากหรือจากที่ทำงาน โรงเรียน หรือในครอบครัว มักจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้การติดเชื้อไวรัสตาแดงมีทั้งหมด 3 ชนิด คือ
  •    1.ชนิดคออักเสบร่วมด้วย
  •    2.ชนิดตาอักเสบไม่มาก
  •    3.ชนิดตาอักเสบรุนแรง ซึ่งชนิดสุดท้ายเป็นชนิดที่มีความรุนแรงมากกว่าทุกชนิด
  •  
  • โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย
  •      เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการติดเชื้อ S.epidermidis, S.aureus ซึ่งก็ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาเช่นเดียวกับเชื้อไวรัส จะมีขี้ตาเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง อาจเป็นตาเดียวหรือสองตาก็ได้ ติดต่อกันได้เช่นกัน แต่จะระบาดน้อยกว่าตาแดงจากเชื้อไวรัส
  •  
  •  โรคตาแดงจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis) 
  •      เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการแพ้ เช่น แพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่น ยา ควันบุหรี่ เป็นต้น มักจะเป็น ๆ หาย ๆ และเป็นร่วมกับโรคภูมิแพ้ของอวัยวะอื่น จะมีอาการคันตามาก น้ำตาไหล อาจมีขี้ตาขาวหรือเหนียว หนังตาบวม มักมีประวัติเป็นๆ หายๆ อาจมีสาเหตุของการแพ้ชัดเจนหรือมีอาการแพ้ของร่างกายส่วนอื่น เช่น หอบหืดร่วมด้วย หากเป็นติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้เป็นต้อลมและต้อเนื้อได้ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้แพ้
  •  
  • โรคตาแดงติดต่อกันอย่างไร?
  •     สามารถติดต่อได้ง่าย ๆ โดย
         1.การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการติดต่อ โรคตาแดง จากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง
  •     2.ใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
        3.ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา
  •     4.แมงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา
  •     5.ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า
  •  
  • เมื่อเป็นโรคตาแดงควรปฏิบัติตัวอย่างไร?
  •  ควรหยุดเรียนหรือหยุดงานอย่างน้อย 3 วัน หรือจนกว่าอาการตาแดงจะหายเป็นปกติ และไม่ควรไปอยู่ในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือลงเล่นน้ำในสระ เพราะอาจนำโรคไปแพร่ติดต่อสู่ผู้อื่นได้
  • >» เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำหรือพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา
  • >» ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถูกตาและหมั่นล้างมือบ่อยๆ เพราะการล้างมือจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ดีที่สุด
  • >» ควรพักสายตา ไม่ใช้สายตามากนัก และพยายามรักษาสุขภาพ พักผ่อนมาก ๆ ไม่ควรทำงานดึกควรนอนให้เพียงพอ
  • >» ไม่จำเป็นต้องต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้น มีกระจกตาอักเสบ จึงปิดตาเป็นครั้งคราว
  • >» แยกของใช้ส่วนตัว อย่าให้ผู้อื่นใช้ร่วมด้วย
  • >» ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อลดการระคายเคือง
  • >» งดใส่คอนแทกเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ
  • >» หากใช้กระดาษนุ่มซับน้ำตาหรือขี้ตาแล้ว ควรทิ้งในถังขยะที่มิดชิด
  •  
  • วิธีใช้ยาหยอดตา
  • ในการหยอดตาที่ถูกต้องนั้น สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำก็คือ
  •      1. ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง
  •      2. ดึงหนังตาล่างลง 
  •      3. ตาเหลือกมองเพดาน 
  •      4. หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง
  •      5. ปิดตาและกรอกตาไปมา เพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา 
  •      6. เช็ดยาที่ล้นออกมา 
  •      7. ล้างมือหลังหยอดยาเสร็จ
  •  
  •      ทั้งนี้ สิ่งที่ควรระวังก็คือ ยาหยอดตาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงทั้งต่อดวงตาหรือต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นควรใช้ต่อเมื่อจักษุแพทย์สั่ง และต้องอ่านฉลากกำกับให้ละเอียด หากมีข้อสงสัยหรือพบความผิดปกติใด ๆ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  •  
  • วิธีป้องกันไม่ให้ติดโรคตาแดง
  •      โรคนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่
  • >» หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่อยู่เสมอ  ไม่ใช้มือที่ไม่ได้ล้างให้สะอาดขยี้ตา
  • >» เมื่อฝุ่นละอองหรือผงเข้าตา  ไม่ควรขยี้ตา  ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว
  • >» ในสถานที่ที่คนอยู่รวมกันอย่างแออัด ควรจัดหาน้ำสะอาดให้เพียงพอ สำหรับการล้างมือ ล้างหน้า และใช้อาบ
  • >» ไม่ใช้สิ่งของ เช่น เครื่องสำอางค์ แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดมือ ถ้วยล้างตา หรือยาหยอดตา ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีโรคตาแดงระบาดต้องระวังให้มากยิ่งขึ้น
  • >» หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาดอยู่เสมอ

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


สวัสดีค่ะ ในช่วงนี้มีข่าวที่พูดถึงเกี่ยวกับโรคไข้ซิกา ซึ่งเกิดจากไวรัสซิกา ทำให้หลายคนกังวลใจและอยากทราบถึงที่มา, สาเหตุ, อาการ รวมทั้งแนวทางการป้องกันโรคนี้ 

ไวรัสซิก้า คืออะไร?
ไข้ซิกา (Zika Fever) เกิดจาการติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus-ZIKV) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ได้รับเชื้อจะมีอาการ ไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง และปวดข้อ และปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะ
ไวรัสซิกาเป็นไวรัสที่มาสารพันธุกรรมชนิด อาร์เอ็นเอสายเดี่ยว อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสตไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบ

Zika Fever ที่มา : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ.ชลบุรี

โรคไข้ซิกาคืออะไร ?
โรคไข้ซิกา (Zika Fever) คือ โรคร้ายชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันยังไร้วัคซีนป้องกัน เกิดจากไวรัสที่มียุงเป็นพาหะนำ โดยมีการค้นพบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2494 – 2535 ในประเทศแถบแอฟริกา เช่น ยูกันดา แทนซาเนีย อียิปต์ แอฟริกันกลาง สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน และกาบอง  
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล ซึ่งล่าสุดได้มีการแพร่กระจายไวรัสชนิดนี้ไปยังทางตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนครริโอ เดอ จาเนโร และเซาเปาโล
ในส่วนของทวีปเอเชียมีการรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อในแถบประเทศอินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย หมูเกาะแยป (Yap) ทางตะวันตก ของมหาสมุทรแปซิฟิกประเทศไมโครนีเซีย
ซึ่ง โรคไข้ซิกา กลับมาอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2550 ตรวจพบในบราซิลเมื่อช่วงเดือนเมษา และมีการงานการแพร่ระบาดของไข้ซิกา และแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปอย่างรวดเร็วทั่ว 18 รัฐในประเทศ

ที่มาของไวรัสซิกา
ไวรัสซิกาถูกแยกเชื้อเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2490 จากน้ำเหลืองของลิง rhesus ที่ใช้ในการศึกษาไข้เหลืองในป่าที่ชื่อว่า ซิกา ประเทศยูกันดา และแยกเชื้อได้จากคนในปี พ.ศ. 2511 ที่ประเทศไนจีเรีย


รู้จักกับกับอาการ โรคไข้ซิกา
โรคไข้ซิกา มีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก  มีระยะฟักตัว 4-7 วัน ผู้ติดเชื้อนั้นจะมีอาการดังนี้
เป็นไข้สูง 2-3 วัน
ปวดศรีษะรุนแรง, วิงเวียน
มีผื่นแบบ maculopapular : MP Rash หรือไข้ผื่นออก ขึ้นบริเวณลำตัว แขนขา
เริ่มหน้ามืดเวียนศรีษะบ่อยขึ้น
เยื่อบุตาอักเสบ,ตาแดง
ปวดตามข้อ
ท้องร่วง
อาจจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตและอุจจาระร่วง (ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน)
และโรคไข้ซิลกา มีผลร้ายแรงกับหญิงจะตั้งครรภ์ เพราะสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ทันที! หากผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์อยู่ เด็กในครรภ์มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติทางสมอง สมองเล็ก ลีบแบน พัฒนาการช้า ตัวเล็ก แคระแกร็น หรืออาจจะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้

พาหะนำโรค

ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) คือ ตัวการสำคัญที่นำพาเชื้อไวรัสดังกล่าว และแพร่กระจายไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ซึ่งยุงลายบ้านนั้น นอกจากจะเป็นพาหะนำโรคไข้ซิกาแล้ว ยังนำพาโรคต่างๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ไข้เหลือง ไข้เลือดออก และไวรัสชิคุนกุน
ความรุนแรงของไวรัสซิกาเป็นเชื้อโรคที่อันตรายและร้ายแรงมาก เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาตัวไหนที่สามารถตอบโจทย์ในการรักษาเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ ทำได้เพียงแค่ควบคุม และลดปริมาณในการขยายตัวของยุงลาย โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เท่านั้น

การตรวจเพื่อหาเชื้อไข้ซิกา
ทางห้องปฏิบัติการสามารถตรวจหาการติดเชื้อได้ 2 วิธีคือ
การตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธีพีซีอาร์ โดยเป็นการเก็บตัวอย่างน้ำเหลืองอย่างเร็วที่สุดหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเจ็บป่วย (ไม่เกิน 9 วันหลังมีอาการ)
การตรวจหาแอนตี้บอดี้ชนิดเอ็มที่จำเพาะต่อไวรัสซิกาด้วยวิธีอิไลซ่า โดยเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเก็บในวันที่เริ่มมีอาการ และครั้งที่สองนั้นจะห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์

วิธีการรักษาโรคไข้ซิกา
แม้ว่าจะไม่มียารักษาโรคที่แน่นอน ไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะ การรักษาจะทำการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย แต่ในทางการแพทย์ก็แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) เพราะมียาบางชนิดที่เป็นอันตรายสำหรับการเป็นโรคนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น

วิธีป้องกัน
หากอยากห่างไกลเจ้าโรคไข้ซิกา เราก็ควรระวังสถานที่ที่มียุงชุกชุม นอกจากนี้ป้องกันไม่ให้ยุงกันโดยการสวมเสื้อผ้ามิดชิด หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียุงแล้ว การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เพื่อลดความเสี่ยงและการแพร่กระจายของโรค และเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้เช่นกัน




ที่มา : zcooby, daily.rabbit

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558


คติเตือนใจวันนี้


在生之时不敬重,死后空劳拜孤坟。

(Zài shēng zhī shí bù jìngzhòng, sǐ hòu kōng láo bài gū fén.)

เมื่อพ่อมียังมีชีวิตอยู่ ไม่รักเคารพพวกท่าน
เมื่อพวกท่านตาย ไหว้สุสานก็เปล่าประโยชน์



วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557


ใช้ถุงยางเถอะ!!
ที่มาของรูป จาก คุณหมอเกาลัด

โรคหนองในคืออะไร 
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชอบอยู่ในที่อุ่นและชื้นของร่างกายเช่นช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และช่องคอ
มี 2 แบบ คือ
โรคนี้ติดต่ออย่างไร

การร่วมรักไม่ว่าจะทางช่องคลอด ทางทวาร หรือทางปาก โดยไมใส่ใส่ถุงยางอนามัยล้วนแต่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งนั้น การใช้เซ็กส์ทอยหรือของเล่นต่างๆร่วมกันโดยไม่ล้างให้สะอาดหรือไม่ใส่ถุงยางอนามัยไว้ก็เกิดความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน

อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร

ผู้ชาย
ผู้หญิง
- มีหนองสีขาว เขียว หรือเหลืองออกจากอวัยวะเพศ สังเกตุได้ว่าจะทำให้กางเกงในคุณเปื้อน
- แสบเวลาปัสสาวะ
- ติดเชื้ออักเสบในทวารหนักหรือตา
- ติดเชื้ออักเสบในช่องคอ
- ปวดบริเวณอัณฑะ
- การอักเสบของหนังหุ้มอวัยวะเพศ
- มีหนองสีขาว เขียว หรือเหลืองออกจากอวัยวะเพศ
- แสบเวลาปัสสาวะ
- ติดเชื้ออักเสบในทวารหนักหรือตา
- ติดเชื้ออักเสบในช่องคอ
- ปวดท้องช่วงล่าง
- เลือดออกผิดปกติขณะมีประจำเดือน

การวินิจฉัย
เราสามารถรู้ว่าเป็นโรคหนองในแท้หรือไม่โดยการตรวจ
  • นำหนองหรือปัสสาวะมาตรวจ PCR
  • นำหนองมาย้อมหาเชื้อ
  • นำหนองไปเพาะเชื้อ
  • ข้อสำคัญคือท่านอาจจะต้องตรวจหาโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นร่วมด้วย

การรักษา
เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคหนองในแท้มักจะมีหนองในเทียมร่วมด้วยเสมอดังนั้นจึงต้องรักษาพร้อมกันทั้งสองโรค
  • ยาในกลุ่ม Cephalosporin ได้แก่ Cefixime 400 มิลิกรัมรับประทานครั้งเดียว หรือ Ceftriaxone 250 มิลิกรัมฉีดครั้งเดียว
  • ยาในกลุ่ม Quinolone ได้แก่ยา Ciprofloxacin 500 mg รับประทานครั้งเดียว หรือ Ofloxacin 400 mg รับประทานครั้งเดียว หรือ Levofloxacin รับประทานครั้งเดียว

หากแพ้ยาดังกล่าวอาจจะให้ spectinomycin
การรักษาหนองในแท้มักจะรักษาหนองในเทียมร่วมด้วยโดยการให้ doxycycline 1 เม็ดเช้าเย็นเป็นเวลา 7 วัน
คนท้องต้องปรึกษาแพทย์
เนื่องจากเชื้อมีการดื้อยามากขึ้นท่านต้องรับประทานยาให้ครบ และตรวจซ้ำตามที่แพทย์แนะนำและต้องพาคู่ของท่านไปตรวจรักษาด้วย

การป้องกันติดโรคนี้
  • การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การงดมีเพศสัมพันธ์
  • มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
  • สวมถุงยางอนามัยหากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แน่ใจว่าจะมีโรคติดต่อหรือไม่
แหล่งข้อมูล : โรคหนองในแท้ Gonorrheaโรคหนองในเทียม Non Gonococcal Urethritis (NSU),

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ รักษาอย่างไร



ไฮโปไทรอยด์ คือ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) หรือบางคนเรียกว่า ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน คือภาวะที่เกิดจากร่างกายพร่องหรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง หรือไม่สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนได้ ซึ่งเมื่อเกิดจากตัวโรคของตัวต่อมไทรอยด์เองเรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ (Primary hypothyroidism) และเมื่อเกิดจากโรคของต่อมใต้สมอง หรือโรคของสมองไฮโปธาลามัสแล้วส่งผลกระทบมายังการทำงานของต่อมไทรอยด์  (Thyroid-stimulating hormone -TSH) เรียกว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ (Secondary hypothyroidism) หรืออาจเกิดจากสมองส่วนไฮโปทาลามัสซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมใต้สมองอีกชั้นหนึ่งหลั่งฮอร์โมนกระตุ้น ( thyrotropin-releasing hormone-TRH) ไม่พอ ซึ่งเรียกไฮโปไทรอยด์ชนิดนี้ว่าเป็น Tertiary hypothyroidism
ในกรณีที่ต่อมใต้สมองต้องผลิตฮอร์โมนกระตุ้น ( TSH) มากกว่าผิดปกติแต่ยังจะพอทำให้ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มีจำนวนปกติอยู่ได้ เรียกภาวะนี้ว่าเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ที่ยังไม่มีอาการ (Subclinical hypothyroidism)
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อ ตั้งอยู่ด้านหน้าของลำคอ ในส่วนหน้าต่อลูกกระเดือก หรือกระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid cartilage) มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประกอบด้วย 2 กลีบใหญ่ คือ กลีบด้านซ้าย และกลีบด้านขวา ซึ่งทั้งสองกลีบเชื่อมต่อถึงกันด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus) ซึ่งต่อมไทรอยด์ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถคลำพบได้
ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือ ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyroxine, T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) และ แคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญน้อยกว่า ฮอร์โมน ที4 และ ที3 เป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง ไทรอยด์ฮอร์โมน จึงมักหมายความถึงเฉพาะฮอร์โมน ที4 และ ที3 เท่านั้น ฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 มีหน้าที่สำคัญมาก คือ ควบคุมดูแลการใช้พลังงานทั้งจากอาหาร และจากออกซิเจน หรือ ที่เรียกว่า เมตาโบลิซึม (Metabolism) ของเซลล์ต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต เพื่อการทำงาน และเพื่อการซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บสึกหรอ และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วย ส่วนฮอร์โมนแคลซิโทนิน มีหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่ทำงานโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) และของสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus เป็นสมองส่วนหนึ่งของสมองใหญ่/Cerebrumโดยอยู่ในส่วนลึกกลางสมองใหญ่) ซึ่งทั้งต่อมใต้สมอง และสมองไฮโปธาลามัส ยังควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆด้วย เช่น ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ และยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ และจิตใจ ดังนั้น การทำงานของต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรค หรือ ภาวะผิดปกติต่างๆของต่อมไทรอยด์ จึงสัมพันธ์กับการทำงาน และโรคต่างๆของอวัยวะเหล่านั้น รวมถึงความสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นภาวะพบได้บ่อยภาวะหนึ่ง พบได้ประมาณ 2-5% ของประชากรทั่วไป โดยพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิด (พบได้ประมาณ 1 คนในเด็กเกิดใหม่ทุก 3,000-4,000 คน) ไปจนถึงผู้สูงอายุ (ประมาณ 15% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป) พบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าในผู้ชายถึงประมาณ 2-8 เท่า

สาเหตุการเกิดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
สาเหตุของ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ มีได้หลากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย คือ

  • โรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิต้านตนเองของต่อมไทรอยด์
  • โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ ฮาชิโมโต (Hashimoto’s thyroiditis)
  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์
  • การกินแร่ น้ำแร่รังสีไอโอดีนในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือการรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • การฉายรังสีรักษาในการรักษาโรคมะเร็งในบริเวณลำคอซึ่งจะโดนต่อมไทรอยด์ไปด้วย
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ส่งผลกดการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ เช่น ยา/สีที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำในการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ยาบางชนิดในการรักษาโรคทางด้านจิตเวช โรคลมชัก โรคเบาหวาน และโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (เช่น โปแตสเซียมเปอร์คลอเรท/Potassium perchlorate ที่เป็นยาลดการจับกินธาตุไอโอดีนของเซลล์ต่อมไทรอยด์)
  • ไม่มีเซลล์ต่อมไทรอยด์แต่กำเนิด หรือเซลล์ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้น้อยแต่กำเนิด (Congenital hypothyroid)
  • โรคบางชนิดที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroder ma)

สาเหตุของ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ ซึ่งมีได้หลากหลายสาเหตุเช่นกัน ที่พบบ่อย คือ

  • โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • การผ่าตัดต่อมใต้สมอง เช่น ในการรักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • การฉายรังสีรักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง
  • มีเลือดออกในต่อมใต้สมองจากต่อมใต้สมองได้รับอุบัติเหตุ (อุบัติเหตุในส่วนของศีรษะ)
  • โรค หรืออุบัติเหตุต่างๆของสมองที่ส่งผลถึงการทำงานของสมองส่วนไฮโปธาลามัส เช่น โรคเนื้องอกและมะเร็งสมอง

อาการของภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
อาการจากภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ค่อยๆเกิดอาการ ไม่ใช่อาการที่เกิดเฉียบพลัน นอกจากนั้นยังมีได้หลายๆอาการร่วมกัน ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการขึ้นกับว่าขาดฮอร์โมนในปริมาณเล็กน้อย หรือในปริมาณมาก ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ
อ้วน ฉุ บวม ที่ใบหน้า รอบดวงตา ลำตัว แขน มือ ขาและเท้า
หัวใจเต้นช้า เหนื่อยง่าย
ช้า เซื่องซึม
ง่วงนอนตลอดเวลา
เมื่อเกิดในเด็ก เด็กจะเจริญเติบโตช้า เตี้ยกว่าเกณฑ์มาก
ท้องผูก
เหงื่อออกน้อย
ทนหนาวไม่ได้ ตัวเย็นกว่าคนทั่วไป
ผมร่วง ผิวหนังหยาบ แห้ง คัน
เล็บด้าน เปราะ ฉีก แตก ง่าย
ขนคิ้วบางโดยเฉพาะในส่วนปลายๆของคิ้ว
กล้ามเนื้อเป็นตะคริวบ่อย กล้ามเนื้อลีบ
ปวดข้อต่างๆ
พูดเสียงแหบ
มีภาวะซีด
ไม่มีสมาธิ เมื่อเกิดในเด็ก สติปัญญาจะต่ำกว่าเกณฑ์
มีไขมันในเลือดสูง (โรคไขมันในเลือดสูง)
ในผู้หญิง ประจำเดือนจะผิดปกติ เช่น มาแต่ละครั้งในปริมาณมากและนาน ในผู้ชายอาจมีนมตั้งเต้า (Gynecomastia)
ความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นหมัน ซึมเศร้า
บางคนอาจมีลิ้นใหญ่ และ/หรือหูได้ยินเสียงลดลง
อาจมีต่อมไทรอยด์โต หรือโรคคอพอก (โรคของต่อมไทรอยด์)

การรักษา
ไฮโปไทรอยด์รักษาได้ผลดีด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน โดย T4 ทดแทนด้วย levothyroxine -LT4 (Synthroid) ยานี้ไม่ควรกินพร้อมกับวิตามิน ที่มีเหล็กและแคลเซียม ขนาดที่ให้คือกิน 1.6 mcg/kg ต่อวัน ในคนสูงอายุหรือเป็นโรคหัวใจควรเริ่มขนาด ¼ ของปกติแล้วค่อยๆเพิ่มทุก 4-6 สปด. จนได้ขนาด maintenance คือ 50-200 mcg ต่อวัน ในกรณีใช้รักษา myxedema coma ให้ครั้งเดียว 200-250 mcg ฉีดเข้า IV
เนื่องจากผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีปัญหาในการเปลี่ยน T4 เป็น T3 วิธีป้องกันปัญหานี้จึงอาจเลี่ยงไปใช้ยา Armour thyroid ซึ่งมีทั้ง T3 และ T4 แทน โดยใช้ขนาด 90 มก. แบ่งให้ครึ่งเม็ดหลังอาหารเช้า อีกครึ่งเม็ดหลังอาหารเย็น เพราะ T3 มี half life สั้น หากให้วันละครั้งจะไม่พอรักษาระดับฮอร์โมนในเลือด
อีกวิธีหนึ่งคือให้ triiodothyroxin หรือ T3 (Cytomel) ควบกับ T4 ซึ่งในกรณีนี้ T3 ต้องแบ่งให้วันละ 2 ครั้งเช่นกัน
ระบบความคุมการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ( hypothalamic-pituitary axis) ต้องปรับตัวนานหลายเดือนกว่าจะเห็นว่าฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ( TSH) ลดลงมาสู่ระดับปกติ คือ 0.40-4.2 mIU/L ซึ่งเป็นเป้าหมายของการรักษา
ผู้ได้รับยาควรติดตามอาการหัวใจเต้นเร็ว ตาพร่า ใจสั่น ประสาทเสีย ตื่นตกใจง่าย เหนื่อย ปวดหัว นอนไม่หลับ มือสั่น อาการเจ็บหน้าอกถ้าเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว และอาจทำให้เกิดไฮเปอร์ไทรอยด์แบบไม่มีอาการ ( Subclinical hyperthyroidism) ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระดูกพรุน
ในกรณีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Subclinical hypothyroidism (คือ TSH สูง แต่ T3-4 ปกติ) จะให้การรักษาเฉพาะเมื่อคาดหมายว่าจะเกิดไฮโปไทรอยด์รุนแรงเท่านั้น โดยดูจากการมี
( 1 ) TSH สูงกว่า 10 mIU/L หรือ
( 2 ) มีภูมิคุ้มกัน ( antibody) ที่ไปจับทำลายเอ็นไซม์ thyroid peroxidase ( P Ab )
( 3 ) มีอาการแบบไฮโปไทรอยด์

การป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
เมื่อดูจากสาเหตุแล้ว การป้องกันภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นเรื่องยาก เพราะมักเกิดจากการรักษาโรคต่างๆ และสาเหตุแต่กำเนิด ดังนั้นที่ดีที่สุด คือ การสังเกตอาการตนเองเสมอ เมื่อพบมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ อีกประการดังกล่าวแล้วว่าสาเหตุของภาวะนี้ อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดได้ ดังนั้นในการใช้ยาต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อซื้อยาใช้เอง จึงควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ รวมทั้งอ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจ และควรรู้ว่ายาชนิดนั้นๆ อาจมีผลข้างเคียงอะไรได้บ้าง

อาหารควรทานหรือหลีกเลี่ยง

แหล่งข้อมูล : ไฮโปไทรอยด์ ( Hypothyroidism)
- นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- นพ.ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

Comment

เรื่องเล่าโพสเมื่อ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Contact Us

ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
Mail : mbkrattanakorn@gmail.com