แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Zika แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Zika แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


สวัสดีค่ะ ในช่วงนี้มีข่าวที่พูดถึงเกี่ยวกับโรคไข้ซิกา ซึ่งเกิดจากไวรัสซิกา ทำให้หลายคนกังวลใจและอยากทราบถึงที่มา, สาเหตุ, อาการ รวมทั้งแนวทางการป้องกันโรคนี้ 

ไวรัสซิก้า คืออะไร?
ไข้ซิกา (Zika Fever) เกิดจาการติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus-ZIKV) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ได้รับเชื้อจะมีอาการ ไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง และปวดข้อ และปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะ
ไวรัสซิกาเป็นไวรัสที่มาสารพันธุกรรมชนิด อาร์เอ็นเอสายเดี่ยว อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสตไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบ

Zika Fever ที่มา : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ.ชลบุรี

โรคไข้ซิกาคืออะไร ?
โรคไข้ซิกา (Zika Fever) คือ โรคร้ายชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันยังไร้วัคซีนป้องกัน เกิดจากไวรัสที่มียุงเป็นพาหะนำ โดยมีการค้นพบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2494 – 2535 ในประเทศแถบแอฟริกา เช่น ยูกันดา แทนซาเนีย อียิปต์ แอฟริกันกลาง สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน และกาบอง  
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศบราซิล ซึ่งล่าสุดได้มีการแพร่กระจายไวรัสชนิดนี้ไปยังทางตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนครริโอ เดอ จาเนโร และเซาเปาโล
ในส่วนของทวีปเอเชียมีการรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อในแถบประเทศอินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย หมูเกาะแยป (Yap) ทางตะวันตก ของมหาสมุทรแปซิฟิกประเทศไมโครนีเซีย
ซึ่ง โรคไข้ซิกา กลับมาอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2550 ตรวจพบในบราซิลเมื่อช่วงเดือนเมษา และมีการงานการแพร่ระบาดของไข้ซิกา และแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปอย่างรวดเร็วทั่ว 18 รัฐในประเทศ

ที่มาของไวรัสซิกา
ไวรัสซิกาถูกแยกเชื้อเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2490 จากน้ำเหลืองของลิง rhesus ที่ใช้ในการศึกษาไข้เหลืองในป่าที่ชื่อว่า ซิกา ประเทศยูกันดา และแยกเชื้อได้จากคนในปี พ.ศ. 2511 ที่ประเทศไนจีเรีย


รู้จักกับกับอาการ โรคไข้ซิกา
โรคไข้ซิกา มีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก  มีระยะฟักตัว 4-7 วัน ผู้ติดเชื้อนั้นจะมีอาการดังนี้
เป็นไข้สูง 2-3 วัน
ปวดศรีษะรุนแรง, วิงเวียน
มีผื่นแบบ maculopapular : MP Rash หรือไข้ผื่นออก ขึ้นบริเวณลำตัว แขนขา
เริ่มหน้ามืดเวียนศรีษะบ่อยขึ้น
เยื่อบุตาอักเสบ,ตาแดง
ปวดตามข้อ
ท้องร่วง
อาจจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโตและอุจจาระร่วง (ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน)
และโรคไข้ซิลกา มีผลร้ายแรงกับหญิงจะตั้งครรภ์ เพราะสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ทันที! หากผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์อยู่ เด็กในครรภ์มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติทางสมอง สมองเล็ก ลีบแบน พัฒนาการช้า ตัวเล็ก แคระแกร็น หรืออาจจะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้

พาหะนำโรค

ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) คือ ตัวการสำคัญที่นำพาเชื้อไวรัสดังกล่าว และแพร่กระจายไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ซึ่งยุงลายบ้านนั้น นอกจากจะเป็นพาหะนำโรคไข้ซิกาแล้ว ยังนำพาโรคต่างๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ไข้เหลือง ไข้เลือดออก และไวรัสชิคุนกุน
ความรุนแรงของไวรัสซิกาเป็นเชื้อโรคที่อันตรายและร้ายแรงมาก เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาตัวไหนที่สามารถตอบโจทย์ในการรักษาเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ ทำได้เพียงแค่ควบคุม และลดปริมาณในการขยายตัวของยุงลาย โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เท่านั้น

การตรวจเพื่อหาเชื้อไข้ซิกา
ทางห้องปฏิบัติการสามารถตรวจหาการติดเชื้อได้ 2 วิธีคือ
การตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธีพีซีอาร์ โดยเป็นการเก็บตัวอย่างน้ำเหลืองอย่างเร็วที่สุดหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเจ็บป่วย (ไม่เกิน 9 วันหลังมีอาการ)
การตรวจหาแอนตี้บอดี้ชนิดเอ็มที่จำเพาะต่อไวรัสซิกาด้วยวิธีอิไลซ่า โดยเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเก็บในวันที่เริ่มมีอาการ และครั้งที่สองนั้นจะห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์

วิธีการรักษาโรคไข้ซิกา
แม้ว่าจะไม่มียารักษาโรคที่แน่นอน ไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะ การรักษาจะทำการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย แต่ในทางการแพทย์ก็แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs) เพราะมียาบางชนิดที่เป็นอันตรายสำหรับการเป็นโรคนี้ อาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น

วิธีป้องกัน
หากอยากห่างไกลเจ้าโรคไข้ซิกา เราก็ควรระวังสถานที่ที่มียุงชุกชุม นอกจากนี้ป้องกันไม่ให้ยุงกันโดยการสวมเสื้อผ้ามิดชิด หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียุงแล้ว การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เพื่อลดความเสี่ยงและการแพร่กระจายของโรค และเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้เช่นกัน




ที่มา : zcooby, daily.rabbit

Comment

เรื่องเล่าโพสเมื่อ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Contact Us

ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
Mail : mbkrattanakorn@gmail.com