แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประวัติศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประวัติศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันตรุษจีน 2559 ปีใหม่จีน ประวัติวันตรุษจีน Chinese New Year 2016


วันตรุษจีน ปี 2559
 ในปีนี้นั้นตรงกับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 59 วันขอเงินจากพระจันทร์ ซึ่งมีหลายท่านที่ได้ขอพรจากพระจันทร์ หลายปีติอต่อกันมาและสมปารถนากันมาแล้ว

วันขอเงินพระจันทร์
 นับว่าดีทีเดียวเพราะว่าในปีนี้ตรงกับวันตรุษจีน "ชิวอิก "(初 一)ซึ่งเป็น " วันถือ "
ตรุษจีน 2016 วันไหว้ตรุษจีน 2559 วันจ่าย 6 ก.พ. 59 ส่วนวันไหว้ปีนี้คือวันที่7 วันไหว้เจ้าที่ในตอนเช้า ไหว้บรรพบุรุษตอนสาย ไหว้ผีไม่มีญาติตอนบ่าย ส่วนช่วงกลางดึกของ วัน อาทิตย์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 23.00 น. – 00.59 น.เป็นช่วงเวลาที่นิยมสุด แต่ต้องดูเรื่องของปีเกิดของผู้ร่วมพิธีประกอบด้วย ทำให้ฤกษ์ไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ยหรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ช่วงเวลาที่ดีในการไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภแตกต่างกันบ้าง ฤกษ์ไหว้ตรุษจีน 2559 เป็นช่วงเวลาของคืนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 ต่อเนื่องช่วงเช้า วันที่ 8 โดยปีนี้องค์ไท้ส่วย
ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่ ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นใน

เทศกาลวันปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้วกับการฉลอง วันปีใหม่จีน หรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีน
ตรุษจีน นั้นคล้ายคลึงกับ

วันปีใหม่ใน ประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลอง ตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น
วัน ก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้น มากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้าย ให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง เมื่อถึง วันตรุษจีนประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อคำอวยพรวันปีใหม่กล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน คำอวยพรวันตรุษจีน 2559 ภาษาจีน พร้อมคำแปล ภาษาไทย 2016 โดยส่วนใหญ่คำอวยพรวันปีใหม่จะพูดว่า "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ" ซึ่ง คงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ใน วันตรุษ นี้อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลอง วันตรุษจีน สิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลอง วันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การอวยพร ความสงบและความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน
เสริมดวงปีชง 2558
ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อเหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกันเมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้น ทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดังและไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก


 เมื่อ วันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุกๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน


วันตรุษจีน

อาหารไหว้เจ้า ของไหว้ตรุษจีน ใน วันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆมีความ หมายที่เป็นมงคลในตัวของมัน ของไหว้ตรุษจีน 2559 กับความหมายของไหว้เจ้าวันตรุษจีน


ความหมายของ ของไหว้วันตรุษจีน
เม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย
เกาลัด - มีความหมายถึง เงิน
ถั่วตัด  - หมายถึง แท่งเงิน
สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย
เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข
หน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข
เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่ง เป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์

ของไหว้ตรุษจีน ขนมไหว้วันตรุษจีน ขนมไหว้วันตรุษจีน 59 กินอร่อยแฝงด้วยความหมายมงคล
    1.ขนมเข่ง คือ ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต ขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม หมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์
    2.ขนมเทียน คือ เป็นขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากชาวจีนโพ้นแผ่นดินดัดแปลงมาจากขนมท้องถิ่นของไทย จากขนมใส่ไส้เปลี่ยนจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน มีความหมายหวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลมมีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์
    3.ขนมไข่ คือ ความเจริญเติบโต
    4.ขนมถ้วยฟู คือ ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง เฟื่องฟู
    5.ขนมสาลี่ คือ รุ่งเรือง เฟื่องฟู
    6.ซาลาเปา หรือ หมั่นโถว คือ ไหว้เพื่อให้เปาไช้ แปลว่าห่อโชค
    7.จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ปิ่นโต หมายถึงความหวานที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป
       
อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้
"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้"
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่
วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือ ตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว


วันไหว้ คือ วันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
ตอนเช้ามืดจะไหว้ ไป๊เล่าเอี๊ย เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ห้าชนิด) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง


เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย วิธีไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ แนะนำวิธีไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ที่ถูกต้องเคล็ดลับพิธีกรรมเรื่องราวความเป็นมา ในโอกาสใกล้จะถึงวันตรุษจีน >>>ประวัติไฉ่ซิ้งเอี้ย

ไหว้เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย ความสำคัญของเทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา

ตอนสาย จะไหว้ไป๊เป้บ๊อ คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอน บ่าย จะไหว้ ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเป็นสิริมงคล
วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันที่หนึ่งของเดือนที่หนึ่งของปี (ชิวอิก) วันนี้ ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ ไป๊เจีย คือ การไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กา" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำโชคดีไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น


วันตรุษจีน


ความเชื่อต่างๆใน วันตรุษจีน ที่ห้ามทำและที่นิยมทำกัน
วันตรุษจีน ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัยและคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา วันตรุษจีน ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่ 

วัน ตรุษจีน ถ้าหากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่หรือ วันตรุษจีน คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน การ แต่งกายและความสะอาดใน วันตรุษจีน เราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วง
เทศกาลวันตรุษจีน นี้สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี

วันตรุษจีนกับ ความเชื่ออื่น ๆ สำหรับ คนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล บุคคลแรกที่พบใน
วันตรุษจีน และ คำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี 


การเข้าไปหาใครในห้องนอนใน วันตรุษจีน ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรใน วันตรุษจีน เพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ ยังคง ยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียมและวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็นครอบครัวและเอกลักษณ์ของตน วันตรุษจีน 2559

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559





 3 กุมภาพันธ์ วันทหารผ่านศึก
ขอเชิดชู ทหารกล้า แผ่นดินข้า
แผ่นดินนี้ เอาเลือดเนื้อ เข้าแลกมา
เพื่อลูกหลาน คงมีที่ อยู่สืบไป... 


วันทหารผ่านศึก ตรงกับ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันทหารผ่านศึกเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อสดุดีวีรกรรมทหารผ่านศึกผู้ที่เสียสละรักษาชาติ

          การรบถือเป็นงานหลักของเหล่า "ทหาร" ที่เป็นแนวหน้าคอยปะทะปกป้องประเทศชาติไม่ให้ศัตรูมารุกราน แต่หลังจากสงครามสิ้นสุดลง การสูญเสียมักจะมาเยือนเสมอ ทั้งบาดเจ็บ ล้มตาย รวมถึงพิการ ซึ่งในช่วงแรกทุกคนต่างให้เกียรติในฐานะวีรบุรุษ แต่นานวันเข้าเหล่าวีรบุรุษก็ถูกสังคมลืมเลือน กลายเป็นความทรงจำสีจาง "ทหารผ่านศึก" ถูกมองเป็นแค่เพียงคนพิการกินเงินบำนาญ ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้วพวกเขามีความสามารถและต้องการให้สังคมยอมรับ วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปค้นหาที่มาของ "วันทหารผ่านศึก" ที่มีความหมายลึกซึ้งเกินกว่าที่หลาย ๆ คนคิดไว้


ความเป็นมาของ "วันทหารผ่านศึก"          หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาสิ้นสุดลง มีทหารไทยจำนวนมากที่ถูกปลดปล่อยจากการเป็นทหาร จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่กลับจากปฏิบัติการรบ และช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบ แต่ก็ยังเป็นหน่วยงานที่ไม่เป็นทางการ

          ต่อมากระทรวงกลาโหมได้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกขึ้น โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 จึงได้ยึดเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น "วันทหารผ่านศึก" โดยมี พลโท ชมะบูรณ์ ไพรีระย่อเดช เป็นผู้อำนวยการคนแรก ในปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึกได้ปรับเปลี่ยนฐานะมาเป็นองค์การเพื่อการกุศลของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว 



ภารกิจหลักขององค์การทหารผ่านศึก


          ภารกิจหลักขององค์การทหารผ่านศึก ได้แก่ การให้การสงเคราะห์แก่ทหารที่ผ่านการปฏิบัติการรบ และครอบครัวของทหารที่ปฏิบัติการรบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ ...          1. การสงเคราะห์ทางด้านสวัสดิการ เป็นการให้การสงเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป ที่อยู่อาศัย การศึกษา ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านอวัยวะเทียม          2. การสงเคราะห์ทางด้านอาชีพ โดยการฝึกอบรมและการฝึกอาชีพ ให้ความช่วยเหลือทางด้านการทำงาน จัดหางานให้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ          3. การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม จัดสรรที่ทำกินในด้านเกษตรกรรมให้ และให้ความช่วยเหลือทางด้านเครื่องมือและวิชาการ          4. การสงเคราะห์ด้านกองทุน โดยการจัดหาเงินทุนให้สมาชิกขององค์การทหารผ่านศึกได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพ          5. การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลให้แก่สมาชิก โดยไม่คิดมูลค่า          6. ให้มีการส่งเสริมสิทธิของทหารผ่านศึก โดยการขอสิทธิพิเศษในด้านต่าง ๆ ให้แก่ทหารผ่านศึก เช่น การขอลดค่าโดยสาร เป็นต้น

"ดอกป๊อปปี้" สัญลักษณ์ของ "วันทหารผ่านศึก"          ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี ทั่วโลกจะได้จัดงานเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารผู้เสียสละแม้กระทั่งชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยและอธิปไตยของชาติ รวมถึงจำหน่าย "ดอกป๊อปปี้สีแดง" ให้เป็นสัญลักษณ์แทน "ทหารผ่านศึก" ซึ่งสีแดงของดอกป๊อปปี้ คือ เลือดของทหารหาญที่ได้หลั่งชโลมแผ่นดินไว้ด้วยความกล้าหาญ เสียสละอันสูงสุด           สำหรับประเทศไทยนั้น การจัดทำ ดอกป๊อปปี้ เพื่อจำหน่ายใน วันทหารผ่านศึก เกิดจากดำริของท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร ประธานสโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก หรือมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในปัจจุบัน ที่ต้องการจะดำเนินการหาทุนมาช่วยเหลือทหาร และครอบครัวทหารผ่านศึก ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ จึงได้เลือกเอา ดอกป๊อปปี้สีแดง 

          แล้วสงสัยไหมว่า ทำไมถึงเป็น "ดอกป๊อปปี้" ที่มาของ ดอกป๊อปปี้ นั้น มาจากในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทหารพันธมิตรได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากสมรภูมินี้มากที่สุด จอมพล เอิร์ล ออฟ เฮก ผู้บัญชาการรบ ได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าพิศวงเกิดขึ้น ในบริเวณหลุมฝังศพทหาร โดยมีดอกป๊อปปี้ป่าขึ้นอยู่ดารดาษทั่วไป ทำให้เกิดเป็นลานสีแดงฉานสวยงาม ตั้งแต่นั้นมา ดอกป๊อปปี้ จึงกลายเป็นดอกไม้อนุสรณ์แห่งวีรกรรมของ ทหารผ่านศึก เตือนใจให้ระลึกถึงเลือดสีแดงของทหารที่ได้เสียสละเพื่อประเทศชาติ



การจัดกิจกรรมในวันทหารผ่านศึก

          
ในวันทหารผ่านศึกของทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจะจัดพิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 นี้ก็เช่นกัน จะมีการประกอบพิธีวางพวงมาลา บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และพิธีเทิดไท้องค์ราชันย์ การเดินแถวของทหารผ่านศึก การเชิญหมู่ธงไตรรงค์ และหมู่ธง 6 กรณีสงคราม เพื่อเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึกดีเด่น   

          นอกจากนั้นแล้ว ตามสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ จะได้ร่วมกันจัดงานในวันทหารผ่านศึกนี้ด้วย เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมและคุณงามความดีของเหล่าทหารกล้าที่พลีชีพเพื่อชาติ และเชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก รวมทั้งการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ดวงวิญญาณของบรรดาทหารผ่านศึกผู้ล่วงลับไปแล้ว 

         สำหรับประชาชนทั่วไป ก็ขอเชิญร่วมรำลึกถึงคุณงามความดีของเหล่าทหารกล้า ด้วยการซื้อดอกป๊อปปี้ ซึ่งรายได้ทั้งหมดจะได้นำไปช่วยเหลือครอบครัวทหาร ตำรวจ พลเรือนและอาสาสมัคร ที่ได้อุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ปกป้องประเทศชาติ ให้มีความสงบร่มเย็นมาจวบจนปัจจุบันค่ะ

ที่มา : kapook

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ตัวเลขไทย

     ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอม และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลขอารบิก เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก




ศูนย์ถึงสิบ
เลขไทยเลขอารบิกค่าของตัวเลข และค่าแสดงลำดับปัจจุบันค่าแสดงลำดับในอดีต
0ศูนย์
1หนึ่งอ้าย
2สองยี่
3สามสาม
4สี่ไส
5ห้างั่ว
6หกลก
7เจ็ดเจ็ด
8แปดแปด
9เก้าเจา
๑๐10สิบจ๋ง
สิบถึงหนึ่งล้าน

เลขไทยเลขอารบิกค่าของตัวเลข
๑๐10สิบ
๑๑11สิบเอ็ด
๒๐20ยี่สิบ
๑๐๐100(หนึ่ง)ร้อย
๑,๐๐๐1,000(หนึ่ง)พัน
๑๐,๐๐๐10,000(หนึ่ง)หมื่น
๑๐๐,๐๐๐100,000(หนึ่ง)แสน
๑,๐๐๐,๐๐๐1,000,000(หนึ่ง)ล้าน
เลข ๑๓๒ อ่านว่า หนึ่งร้อยสามสิบสอง คำว่า ร้อย, พัน ฯลฯ ซึ่งเป็นค่าประจำหลัก จะต้องอ่านออกเสียงหลังเลขในหลักนั้นๆ และในหลักภาษา จะต้องอ่านออกเสียง ๑๐๐ ว่า หนึ่งร้อย ไม่ใช่ ร้อย[ต้องการอ้างอิง]

ในภาษาพูดทั่วไป คำว่า หนึ่ง มีออกเสียงเพี้ยนเป็น นึง ซึ่งทำให้ความหมายของ 100 (ร้อยนึง) กับ 101 (ร้อยหนึ่ง : ตามหลักภาษา อ่านว่า หนึ่งร้อยเอ็ด) แตกต่างกัน

สูงกว่าหนึ่งล้าน
ตัวเลขที่สูงกว่าหนึ่งล้าน สามารถใช้คำว่า ล้าน เป็นตัวคูณ เช่น 10,000,000 อ่านว่า สิบล้าน มาจากเอา "สิบ" คูณ "ล้าน"


คุณค่าของการใช้ตัวเลขไทย เช่น
๑ ความภูมิใจในมรดกของชาติ คนไทยมีตัวเลขไทยและอักษรเป็นของตนเองมาไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ กว่าปีมาแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความภูมิใจ เพราะประเทศมหาอำนาจบางชาติยังไม่มีตัวเลขของตนเองใช้ต้องยืมเลขอารบิกหรือตัวเลขอาหรับมาใช้จนทุกวันนี้
๒ ความงามของตัวเลขไทย ลักษณะของตัวเลขไทยมีลักษณะโค้งมน พลิ้วไหว สวยงามบอกถึงคุณค่าแห่งศิลปะไทย
๓ การนำตัวเลขไทยไปใช้ ปัจจุบันหน่วยงานรัฐบาลได้มีคำสั่งให้ใช้ตัวเลขไทย ในหนังสือราชการขณะนี้มีการนำตัวเลขไทยไปใช้ในคอมพิวเตอร์ และสื่ออินเทอร์เนทกันบ้างแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นคุณค่าสาคัญที่เราควรฝึกเด็กให้เขียนเลขไทยได้สวยงามและรวดเร็วเหมือนรักษาเอกลักษณ์ของชาติไว้
๔ มีคุณค่าเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย ทางด้านอักษรและภาษาไทยซึ่งควรแก่การอนุรักษ์ส่งเสริมการนาไปใช้ให้แพร่หลาย


Comment

เรื่องเล่าโพสเมื่อ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Contact Us

ถ้าข้อความใดไม่ถูกต้องแจ้งได้ที่
Mail : mbkrattanakorn@gmail.com